พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้ชม 4,658
[16.425332, 98.9544425, พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร]
บทนำ
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยทราวดี ชื่อเดิมคือชื่อ “เมืองชากังราว” ซึ่งเป็นเมืองที่สมเด็จประเจ้าตามสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาวชิรปราการ” โดยเป็นเมืองหน้าด่านรับสงครามของของสุโขทัย ดังจะพบโบราณสถานที่หลงเหลือในปัจจุบัน ได้แก่ คูเมือง วัด และป้อมปราการ เป็นต้น ตามปะวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงคือ “ เมืองชากังราว ” ซึ่งยุคสมัยสมัยอยุธยา ล่วงเลยมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ.2458 มีการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” “เมืองกำแพงเพชร” จึงถูกเปลี่ยนมาเป็น” จังหวัดกำแพงเพชร”ตั้งแต่นั้นมา (ธนากร โกเมศ, วสวัตติ์ บำรุงสุข และ อิทธิพัทร เกิดศรี, 2561)
จากประวัติศาสตร์พบว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองสำคัญทางศึกสงคราม จึงมีคำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชร ว่า “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” จะเห็นได้ว่า พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร จึงเป็นโบราณวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอันจะสื่อได้ถึงเครื่องรางของขลังที่เป็นขวัญและกำลังใจในการรบและป้องกันเมือง สอดคล้องตามประวัติศาสตร์ที่เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของสุโขทัย ปัจจุบันจึงพบเจอพระเครื่องของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีความหลากหลายทั้งพิมพ์ เนื้อและรูปแบบ/ รูปทรง อยู่มาก ตามวัดต่าง ๆ บ้างก็ขุดพบตามสถานที่ที่เคยเป็นจุดสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักพอเจอได้ยาก เช่น พระสกุลช่างกำแพงเพชร พระซุ้มกอ พระกำแพงขาโต๊ะ และพระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นต้น เนื่องจากผ่านยุคสมัยอันยาวนาน ทำให้พระที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นแบบองค์จำลองที่ตั้งบูชาและพกติดตัวได้ เพื่อความเป็นศิริมงคล และดำรงไว้ซึ่งพุทธศิลป์ที่งดงามสืบต่อไป ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบพระและข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกําแพงเพชร แต่อาจไม่ได้มีทุกแบบ ทุกพิมพ์ ให้ศึกษาได้ครบตามประวัติการขุดพบเจอ ยังคงมีพระอีกหลายหลายพุทธศิลป์ที่กระจัดกระจายอยู่กับประชาชน กลุ่มคนที่ศรัทธาและต้องการแลกเปลี่ยนเพื่อการศึกษามีมากมาย โดยบทความนี้จะรวบรวมเฉพาะ พระกำแพงสามขา ที่มีประวัติในการขุดพบที่วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีพุทธศิลป์แบบพระสกุลช่างกำแพงเพชร แต่ไม่ได้มีประดิษฐานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกําแพงเพชร ในปัจจุบัน
พระสกุลช่างกำแพงเพชร
พระสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร จะเป็นพระที่มีรูปลักษณ์คล้ายพระสุโขทัย แต่จะมีพระพักตร์หน้าที่แตกต่างกัน คือ หน้าผากจะกว้างและคางเสี้ยม (เรียวแหลม) ลงมา แต่พระพักตร์ของพระสุโขทัยใบหน้าจะเป็นรูปทรงไข่ พระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชร แบ่งออกเป็น 4 หมวด (สันติ อภัยราช, 2561) ได้แก่
1. หมวดหน้านางคางหงิก
2. หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะคล้ายพระสุโขทัย แต่พิเศษอีก 1 ลักษณะ นิ้วพระหัตถ์จะเรียงยาวเสมอเท่ากันหมด
3. หมวดวัดตะกวน จะมีรูปร่างอ้วน พระพักตร์กลม และเศียรใหญ่
4. หมวดสกุลช่างกำแพงเพชร หน้าผากจะกว้างและคางเสี้ยม
พระสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรที่มีจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
พบจากการขุดแต่งโบราณสถานในจังหวัดกำแพงเพชร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่ง เป็นสันพระโอษฐ์ค่อนข้างหนา มุมพระโอษฐ์จีบขึ้นเล็กน้อย พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาบนพระเศียรมีขนาดเล็กมาก พระอุษณีษะนูนใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง มีวงแหวนคั่นระหว่างพระอุษณีษะกับพระรัศมี อันเป็นลักษณะเป็นของพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร พระอังสาผาย บั้นพระองค์คอดเล็ก ส่วนองค์พระพุทธรูปมีรอยชำรุดแตกร้าว พระพุทธรูปครองจีวรแบบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิพาดอยู่บนพระอังสาซ้ายยาวตกลงมาจรดพระนาภี ปลายชายสังฆาฏิเป็นลายแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นดินเพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยาน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐาน (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร, 2561)
พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร
พระพุทธเจ้าหลวงฯ รัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2449 ประทับแรมเมืองกำแพงเพชร อยู่ถึง วันที่ 27 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 10 วัน เพื่อทรงรับทราบถึงความเป็นไปของบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร และทอดพระเนตรโบราณสถานในเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร และ ทรงบันทึกว่า
"วันนี้ ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4 โมงเช้าจึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง…ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ คลองสวนหมากนี้ ตามลัทธิเก่าถือว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปเสียข้างฝั่งตะวันออก เพียงแต่แลดูก็จับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำลงมา แต่ห้วยในป่าไม้แต่เงินไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้ แซงพอกะเหรี่ยงซึ่งเรียกว่า พญาตะก่า พี่พะโป้มาทำป่าไม้ราษฎรที่อยู่ฟากตะวันออกก็พลอยข้ามไปหากินมีบ้านเรือนคนมากขึ้น ความกลัวเกรงก็เสื่อมไป
กินข้าวแล้วล่องลงมาขึ้นที่วัดพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่องค์หนึ่ง ย่อมสององค์ พญาตะก่าสร้างรวมสามองค์ เป็นองค์เดียว แปลงรูปเป็นพระเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพระยาตะก่าตาย พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาแต่เมืองมะระแหม่งพึ่งแล้ว แต่ฐานชุกชียังถือปูนไม่รอบ พระเจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี
มีราษฎรมาหาเป็นอันมาก ขากลับลงเรือชะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่ เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลาที่เมืองใหม่นี้มีถนนสองสาย ยาวขึ้นมาตามลำน้ำ เคียงกันขึ้นมา มาแต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ 20 เส้นวันนี้ถ่ายรูปได้มากแต่สนุก ได้ตัดผมตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟลงเรือมา แต่นครสวรรค์ เพราะหาเวลาตัดผมไม่ได้" (ตลาดย้อนยุค นครชุม, 2561)
ตามประวัติการเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เป็นหลักฐานยืนยันว่ามีวัดเสด็จอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีประวัติการก่อสร้างวัดที่ไม่มีการบันทึกถึง พ.ศ. ที่สร้างได้แน่ชัด จากการสัมภาษณ์พระครูสุทธิวชิรศาสน์ (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2561) ได้ทราบว่าเกิดจากการสันนิษฐานว่า แต่ ณ ขณะที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นได้มีประชาชนมารอรับเสด็จบริเวณหน้าวัดเป็นจำนวนมากขณะที่เสด็จผ่าน จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อวัดว่า “วัดเสด็จ” บางแหล่งก็ให้ข้อมูลว่า (สันติ อภัยราช, 2561) เคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดนี้ (เจดีย์องค์ที่ ปรักหักพังแล้วได้สร้างมณฑปทับได้ ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการสร้างมณฑปอีกครั้งหนึ่ง) ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จ ด้วยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ” หรือ สมเด็จพุฒาจารย์โต หรือหลวงพ่อโต เสด็จมาเยี่ยมญาติที่กําแพงเพชร หลายเพลา ได้ประทับพักแรม ที่วัดเสด็จ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อวัดเสด็จก็เป็นได้
ปัจจุบันวัดเสด็จตั้งอยู่บริเวณ ถนนเทศา และถนนราชดําเนิน เลขที่ 207 ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร มีโบราณสถานที่สำคัญภายในวัดได้แก่ มณฑป และมณฑปประดิษฐานพระประธานมีเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ วิหาร และพระประธานในอุโบสถ
วัดเสด็จได้พบจารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ หลักที่ 52 แผ่นรูปรอยพระพุทธบาท (ชำรุด) เป็นวัตถุโลหะ ขนาดกว้าง 105.5 เซนติเมตร ยาว 154 เซนติเมตร อักษรขอมสุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานผู้พบ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งวัดได้ทีมีรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปวับเสด็จ
วัดเสด็จได้มีพระกำแพงสามขา หรือ พระกำแพงขาโต๊ะ เป็นชื่อเรียกที่ทางวัดและคนในชุมชนนิยมเรียก ซึ่งเป็นพระที่มีความเก่าแก่ แต่เนื่องด้วยตามประวัติแล้วไม่สามารถยืนยันได้ถึงปีที่สร้างพระกำแพงสามขา เพราะไม่สามารถระบุที่แน่ชัดในการสร้างวัด ผู้สร้างวัด และผู้สร้างพระได้ มีเพียงข้อสันนิษฐานที่มาขอชื่อวัด จากการสัมภาษณ์พระครูสุทธิวชิรศาสน์ (สัมภาษณ์, 10 มีนาคม 2561) ได้สันนิษฐานว่า อาจมีการสร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย เนื่องจากศิลปะของฐานพระที่มีสามขา และบางวัด บางจังหวัดอาจมี 4-5 ขา มีลักษณะคล้ายพระสกุลช่างที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระกำแพงสามขา
พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มรการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ พระสกุลช่าง กำแพงเพชร ซึ่งมีรูปลักษณ์แบบพระกำแพงสามขา วัดเสด็จ กำแพงเพชร ยังได้ขุดพบเจอที่วัดอื่นอีก เช่น วัดอาวาสน้อย และอาจพบเจอในวัดอื่นๆในจังหวัดกำแพงเพชรอีกแต่ไม่ได้มีการบันทึก หรือพูดปากต่อปากของคนในชุมชน เนื่องจากมีการซื้อขายวัตถุมงคลโบราณในตลาดนักสะสมพระกรุ และหากสืบทราบว่าใคร หรือวัดใด มีวัตถุมงคล จะมักเกิดเหตุการณ์ลักขโมย เพื่อนำไปขายให้กับกลุ่มนักสะสมในราคาที่สูงได้ แม้หากชาวบ้านในชุมชนขุดพบ ก็มักจะไม่เปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป อาจสะสมไว้กราบไว้บูชาเองหรือนำไปขายเพื่อให้ได้ราคาสูง เป็นต้น
บทสรุป
จากการศึกษาข้อมูล ผู้เขียนบทความสรุปได้ว่า พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร มีพุทธศิลป์คล้าย พระสกุลช่าง กำแพงเพชร เกือบทุกประการ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย เนื้อสัมฤทธิ์ ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น พบเจอก่อนสมัยรัชการที่ 5 เสด็จประพาสต้น นั่นหมายถึงวัดได้มีการสร้างมาแล้วอย่างยาวนาน แม้ไม่มีการบันทึกปี และชื่อผู้สร้าง จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดอาจมีชื่อเดิมที่ไม่ใช่ชื่อ “วัดเสด็จ” มาก่อน อาจเป็นวัดที่เป็นตำแหน่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้มีพระพุทธรูปที่มีศิลปะคล้ายพระสกุลช่าง บรรจุใต้ฐานเอาไว้ เป็นเวลายาวนาน เมื่อกาลเวลาผ่านไป จึงได้พบโดยบังเอิญและยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร เพียงแห่งเดียวในจังหวัด
คำสำคัญ : พระกำแพงสามขา, วัดพระสกุลช่างกำแพงเพชร, วัดเสด็จ
ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=พระกำแพงสามขา_วัดเสด็จ_จังหวัดกำแพงเพชร
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2122&code_db=610005&code_type=01
Google search
ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,130
ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,577
พระตระกูลพระนางกำแพง จังหวัดกำแพงเพชรนั้น ตามที่ทราบกันว่ามีมากมายหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละพิมพ์ก็ล้วนมีเนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้ง และมีพุทธคุณเท่าเทียมกันทั้งด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ เพราะเป็นหนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรที่ขุดค้นพบในยุคเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพระพิมพ์ที่มีพุทธศิลปะแสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุดอีกด้วย มาดูพระนางกำแพง 3 พิมพ์ ซึ่งความแตกต่างโดยส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสัณฐานพิมพ์ทรงครับผม
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,540
พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 35,132
เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง ๒๐ วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้ เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,243
ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 3,248
ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,656
พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 14,820
พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,415
จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,567