การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 463

[16.8784698, 98.8779052, การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์]

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม้น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำ

ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนมากขึ้น ส่งผลให้เส้นทางถนนเริ่มได้รับความนิยมส่งผลให้เกิดตลาดการค้าริมถนน พร้อมกับการค่อย ๆ อพยพเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก จากเมืองพิษณุโลก นำไปสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย ในสมัยเด็กผู้เขียนนับว่าโชคดีที่ได้สัมผัสวิถีชุมชนคนจีนในรุ่นเก่าที่ยังคงมีชีวิตอยู่มาก ในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์บริเวณหลังอาคารพาณิชย์ มักเห็นการตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์กันอย่างคึกคัก มีการประดับด้วยต้นอ้อย และโคมไฟจีนกันอย่างสวยงาม ปัจจุบันภาพเหล่านั้นกำลังจะเลือนไปสิ้นจากสังคมจีนก็เป็นได้พร้อมกับการล้มหายตายสิ้นของจีนรุ่นเก่า ๆ

คำสำคัญ : ไหว้พระจันทร์

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2039

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2039&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 366

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นเครื่องหอมพิเศษของเมืองตาก สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมของชาวล้านนาซึ่งมีความใกล้ชิดด้านที่ตั้งและผู้คน โดยชาวบ้านจะนำฝักส้มป่อยและผลมะกรูดไปปิ้งไฟให้เกิดกลิ่นหอม และนำฝักส้มป่อยมาหักเป็นท่อนๆใส่รวมลงไปในน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบไทย ซึ่งจะต่างจากหัวเมืองทางเหนือที่นิยมใช้น้ำขมิ้นส้มปล่อย ลอยด้วยดอกสารภี ไม่มีวัฒนธรรมการเผาผลมะกรูดเป็นเครื่องหอมในวัฒนธรรมจากข้อสันนิษฐานนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพิเศษของเมืองตากอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,182

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

พิษธาน เพลงพื้นบ้าน ความทรงจำจางๆ ชุมชนพื้นถิ่นที่เมืองตาก

"พิษฐานเอย มือหนึ่งถือพาน พานเจ้าดอก(พุด)" เสียงเอื้อนเอย จากคุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย ลูกหลาน บ้านเสาสูงที่เมืองตาก หนึ่งในศิลปินพื้นบ้านเมืองตากที่รับสืบทอดเพลงพื้นบ้านมาจากคณะหุ่นกระปอกแห่งเมืองตาก ส่งเสียงร้องด้วยทำนองพื้นบ้าน ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความรู้สึกถึงความเป็นศิลปินในตัวของท่าน นอกจากเสียงสำเนียงหวาน ๆ แล้วคุณป้ายังเล่าขานตำนานเพลงพื้นบ้านให้ฟังว่า เพลงพื้นบ้านที่เรียกว่าพิษฐานนี้ เป็นการละเล่นเพื่อร้องขอพรแด่องค์พระปฎิมาภายในอุโบสถ วิหารที่คนในสมัยก่อนของตาก นิยมร้องเล่นกันในช่วงปีใหม่ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งย่านชุมชนไทยพื้นถิ่นแถบวัดใหม่มะเขือแจ้ เป็นการแสดงพื้นบ้านที่ในปัจจุบันน้อยคนที่จะรู้จักและได้ยินการขับขานบทเพลงดังกล่าว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 516

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 463

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,235

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,170

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 770

กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 2,668

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง

"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 9,419

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,932