ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าเมี่ยน หรือ เย้า ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เมี่ยนได้ย้ายถิ่นมาพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร เพราะการกระทำของมนุษย์ การแทรกแซงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติซ้อนทับพื้นที่ของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเมี่ยน จึงถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ป่ามายังพื้นที่ราบทำให้ไม่มีที่ดินทำการเกษตร จึงต้องปรับตัวด้วยการนำอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย งานสร้างสรรค์นี้คือ มีการปักผ้าลายเจ้าสาวทั้งที่เป็นกางเกงแบบสั้นและแบบยาว อีกทั้งมีลายผ้าประยุกต์ เพื่อนำชิ้นผ้าไปสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาถือว่ามีความจำเป็นต่อวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย การปักผ้าของชาวเมี่ยนนี้ นอกจากจะช่วยสร้างรายได้แล้ว ยังมีการปักผ้าส่งศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้หญิงรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

16.2851021, 98.9325563

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 1,355


ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกากะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุดกะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน

16.2851021, 98.9325563

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 9,197


เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

16.2851021, 98.9325563

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,501


กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ

กลุ่มชาติพันธุ์ สังคมและวัฒนธรรมของไทยทรงดำ

ไทดำหรือไตดำ (Black tai) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น โซ่ง ซ่ง ไทยโซ่ง ไทยซ่ง ลาวโซ่ง ลาวซ่ง ลาวทรงดำ และลาวพุงดำ โดยสันนิษฐานว่าไทดำเป็นชื่อเรียกแต่แรกเริ่ม ส่วนชื่อที่เรียก “ลาวโซ่ง” และ “ไทยทรงดำ” เป็นคำเรียกคนไทดำที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ด้วยเป็นชนกลุ่มที่อพยพผ่านประเทศลาวเข้ามายังประเทศไทย ประกอบกับภาษาพูดที่ใช้มีความคล้ายคลึงกับภาษาพูดของคนลาว (กลุ่มนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน, 2547) ซึ่งคำว่า “โซ่ง” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะชาวไทดำนิยมนุ่งกางเกงและสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ (สันติ, 2557) หากแต่ในการอพยพเข้าประเทศไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า “ไทย” นำหน้าชื่อกลุ่มชนหรือกลุ่มภาษา เพื่อการเน้นถึงความเป็นชาติและความเป็นไทย คนไทดำที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจึงมักเรียกชนกลุ่มของตนเองว่า “ไทยทรงดำ” ตั้งแต่นั้นมา (จุรีวรรณ, 2554)

16.2844429, 98.9325522

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 6,905


กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนและสังคม : หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนและสังคม : หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและประเทศไทย มีภาษาพูดเรียกว่า ภาษากะเหรี่ยง อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ อนึ่ง คำว่า “กะเหรี่ยง” นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก

16.2366497, 99.0549048

เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 815


กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

16.2844429, 99.93256

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,688


บ้านกระเหรี่ยงน้ำตกกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตกกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

บ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หมู่ที่ 18 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านสวนส้ม หมู่ที่ 2 ตำบลคลองลานพัฒนา ตามประวัติเดิมมีชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงอยู่มาก่อนคาดว่าอาจเป็นร้อยปี ต่อมาจึงเริ่มมีคนไทยพื้นราบเข้ามาอยู่รวมกับคนไทยภูเขา ที่อยู่คู่กับคลองลานมาตั้งแต่สมัยยังเป็นป่าอยู่ ปัจจุบันบ้านกระเหรี่ยงน้ำตก กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สิ่งที่ยังบ่งบอกความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มคือ ภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญๆ 

16.1037868, 99.1714114

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 4,390


 

Google search

Mic

โรงแรมพีรีสอร์ท ริมน้ำ

โรงแรมพีรีสอร์ท ริมน้ำ

รีสอร์ทริมน้ำ  เป็นรีสอร์ทบรรยากาศไทยๆ ออกแบบตกแต่งเรียบง่าย สะอาด สงบ ราคาเป็นกันเอง ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร อยู่ใกล้มหาวิทยาล

ประวัติอำเภอคลองขลุง

ประวัติอำเภอคลองขลุง

ดินแดนหลวงพ่อปลอดภัย  ผลไม้รสดี  มีชื่อไม้ดอกไม้ประดับ อำเภอคลองขลุง เป็นอำเภอที่อุดมสมบูรณ์มาก เพราะมีคลองขลุงไหลผ่าน บรรจบกับแม่น้

คลองขลุง

คลองขลุง

“คลองขลุง” สาเหตุที่เรียกว่า “คลองขลุง” สืบเนื่องมาจาก 3 สาเหตุ คือ สาเหตุแรก ในสมัยก่อนน้ำจากคลองวังไทรไหลมาบรรจบกับแม่น้ำ

กระดังงา

กระดังงา

กระดังงานั้นเป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มโปร่ง มีดอกออกตลอดทั้งปี เป็นดอกแบบช่อกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่งประมาณ 4-6 ดอก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น กลีบดอกสีเหลืองหร