สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้ชม 2,076

[16.5212962, 97.4942877, สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"]

         สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะทรงเสด็จออกนำหน้าทัพเมื่อทำศึกสงคราม ซึ่งในขณะนั้นมีการใช้ปืนกันอย่างแพร่หลายแล้ว จึงเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
         สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว
         ความล้มเหลวจากการตีเมืองพิษณุโลกทำให้สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงเปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ โดยเลือกตีเมืองที่อ่อนแอที่สุดก่อน นั่นก็คือเมืองพิมายและนครราชสีมา ขณะนั้นพิมายเป็นหัวเมืองใหญ่กว่านครราชสีมา มีอิทธิพลครอบคลุมไปจรดดินแดนลาวล้านช้างและกัมพูชา จัดว่ามีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก
         เมื่อทรงหายประชวรจากการบาดแผลที่ต้องกระสุนปืนดีแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงจัดทัพเพื่อบุกตีพิมายในทันที
         เจ้าเมืองพิมายในขณะนั้นคือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่หนีทัพพม่ามาตั้งตนเป็นใหญ่ที่นี่ พงศาวดารบันทึกไว้ว่า เป็นเจ้านายที่มีพระปรีชาสามารถมากไม่แพ้พระเจ้าอุทุมพร เพียงแต่เกิดจากนางสนม จึงไม่มีโอกาสขึ้นครองราชย์
         แต่อย่างไรก็ตาม กรมหมื่นเทพพิพิธก็มิอาจสู้สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ หลังจากเมืองพิมายแตก สมเด็จพระเจ้าตากสินก็มีพระเมตตาหมายจะชุบเลี้ยงไว้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มาเข้าเฝ้า แต่กรมหมื่นเทพพิพิธกลับแสดงกิริยาก้าวร้าว ยโสโอหังต่อหน้าพระที่นั่ง จึงถูกนำไปประหารชีวิต
         หลังจากยึดพิมายและนครราชสีมาได้ พระองค์ทรงทัพต่อไปที่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่า นครศรีธรรมราชแข็งแกร่งกว่าที่คิด สองแม่ทัพบก คือ พระยาเพชรบุรีและพระยาศรีพิพัฒน์ ได้เสียชีวิตขณะเข้าตีเมือง กองทัพเรือของสมเด็จพระเจ้าตากสินตัดสินใจ เปลี่ยนมาบุกนครศรีธรรมราชทางน้ำแบบสายฟ้าแลบ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชคิดไม่ถึงว่ากองทัพกรุงธนบุรีจะมาทางเรือ จึงไม่ได้วางแผนคอยสกัดไว้ กว่าจะรู้ตัวก็ถูกเข้าประชิดปากน้ำเมืองนครแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงนำหน้ายกพลขึ้นบกตีกองทหารที่รักษาเมืองจนแตก เมื่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเห็นว่าจวนตัวสู้ไม่ได้แน่ จึงหนีไปอาศัยอยู่กับสุลต่านแห่งเมืองปัตตานี
         สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาเพียง 1 ปี (พ.ศ.2312) เท่านั้น หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ทรงสามารถรวบรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ทั้งหมดเข้าไว้ในราชอาณาจักรธนบุรีได้สำเร็จ
         หลังจากที่รวบรวมภาคใต้ได้ ปีต่อมา (พ.ศ.2313) สมเด็จพระเจ้าตากสินก็ทรงจัดทัพขึ้นตีพิษณุโลกเป็นครั้งที่สอง ด้วยบทเรียนความล้มเหลวจากครั้งก่อน ทำให้มีการวางแผนการรบอย่างรอบคอบ เมืองพิษณุโลกถูกตีแตกอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นก็มีรับสั่งให้กองทัพ เดินทางขึ้นเหนือต่อไปเพื่อยึดเมืองสวางคบุรี
         เมื่อยึดเมืองสวางคบุรีและพิษณุโลกได้สมบูรณ์แล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง ซึ่งต่อมาคือ ร.1) ขุนศึกที่มีบทบาทสำคัญในการกู้ชาติเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ เลื่อนตำแหน่งเป็น “พระยายมราช” ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
         .....แล้วศึกที่สำคัญที่สุดก็มาถึง นั่นคือการยึดเมือง “เชียงใหม่” ที่ฝ่ายพม่าครอบครองอยู่ เป็นการเปิดศึกกับพม่าโดยตรง ผลปรากฏว่า แม้พระเจ้าตาก + เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระอนุชา ร.1) + พระยายมราช (ต่อมาคือ ร.1) ร่วมกันต่อสู้สุดกำลัง ก็ยังไม่อาจเอาชนะได้ สูญเสียไพร่พลไปมากมาย จนต้องถอยทัพกลับธนบุรีแบบหมดกระบวนท่า
        หลังจากกลับจากศึกเชียงใหม่ครั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนตำแหน่งให้พระยายมราชเป็น “เจ้าพระยาจักรี”
        กลับมาตั้งหลักที่กรุงธนบุรีได้สามปี ก็เตรียมการตีเชียงใหม่เป็นครั้งที่สอง ทรงโปรดให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ สองพี่น้องเข้าเฝ้าฯ แล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพหน้ายกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ คราวนี้ไม่พลาด เจ้าพระยาจักรีนำทัพเข้าตีประตูสวนดอกทางด้านตะวันตกและประตูเมืองเชียงใหม่ทางด้านใต้แตก ส่วนเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ นำทัพเข้าตีทางด้านตะวันออกจนประตูท่าแพแตกกระจุย เจ้าเมืองเชียงใหม่อาศัยประตูทางด้านเหนือที่เหลืออยู่ หนีหัวซุกหัวซุนกลับประเทศไป
        ครานี้สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปีติโสมนัสมากกว่าการชนะศึกทุกครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ข้าหลวงเข้ามาทูลว่า เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ตีเชียงใหม่แตกแล้ว พระองค์ทรงยกพระหัตถ์ตบพระเพลาทั้งสองข้าง ทรงพระสรวลและตรัสว่า “ศึกครั้งนี้เก่งทั้งพี่ทั้งน้อง นี่จะว่าพี่หรือน้องดีกว่ากันไฉน” การตีเชียงใหม่ครั้งนี้ยึดอาวุธและพาหนะได้เป็นจำนวนมาก เช่น ปืนใหญ่เป็นจำนวนถึง 2,110 กระบอก ม้า 200 ตัว
        >>> หลังจากรวมชาติทุกภาคได้สำเร็จ ยังมิทันได้พักผ่อนพระวรกาย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ต้องพบกับศึกเอาคืนครั้งใหญ่ที่สุดจากพม่า นำโดยแม่ทัพนามระบือโลก ผู้สร้างความเข็ดขยาดให้กับกองทัพจีนและอินเดียมาแล้ว ที่ชื่อว่า “อะแซหวุ่นกี้”

คำสำคัญ : สงคราม, พระเจ้าตากสินมหาราช

ที่มา : https://www.facebook.com/doctorsom

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ". สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2135&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,821

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 4) “สร้างบ้าน แปงเมือง”

หลังจากที่พระเจ้ามังระสวรรคต ทางพม่าก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันภายในอยู่หลายปี ทำให้กรุงธนบุรีมีโอกาสได้หายใจหายคอ ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกทัพไปตีลาวและกัมพูชาเพิ่มเติม จนสร้างเขตแดนของอาณาจักรกรุงธนบุรี จรดเวียดนาม ส่วนพระองค์เร่งวางรากฐานให้กรุงธนบุรี

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,178

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 808

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 3) “ศึกอะแซหวุ่นกี้”

หลังจากเมืองเชียงใหม่แตก พระเจ้ามังระ ทรงเดือดดาลเป็นอย่างยิ่ง แผนการรวบแผ่นดินไทยให้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าต้องพังทลายลง ทรงบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ แม่ทัพมือหนึ่ง ยกทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมา เมืองตาก แต่การบุกจากด้านเหนือจะต้องผ่านหัวเมืองสำคัญหลายเมือง และเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อทัพพม่ามากที่สุด ก็คือพิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,020

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (ตอน 2) "สงครามรวมชาติ"

สงครามรวมชาติครั้งแรกของสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ เริ่มต้นด้วยการเลือกตีเมืองที่แข็งแกร่งที่สุด คือพิษณุโลกก่อน ด้วยมีพระราชดำริว่า ถ้าทำสำเร็จ การรวมหัวเมืองอื่นๆ ต่อจากนั้นก็น่าจะเป็นการง่ายขึ้น แต่เจ้าพระยาพิษณุโลกมีความสามารถทางการรบสูง ส่งทัพมาดักรอโจมตี บริเวณปากน้ำโพนครสวรรค์ และเกิดการปะทะกันขึ้น สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จออกนำหน้า และทรงถูกกระสุนปืนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ต้องถอนทัพกลับกรุงธนบุรีโดยด่วน การชิงเมืองครั้งแรกล้มเหลว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 2,076

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,024

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,090

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

พระบารมี ปกเกล้าชาวตาก

ชาวตากนับว่ามีโอกาสดีเคยรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครา แต่คราที่อยู่ในความทรงจำคือ ในคราวปีพ.ศ.2501 มีการจัดแต่งซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติบริเวณเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินบนถนนตากสิน ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จมาทอดพระเนตรกิจในการสร้างเขื่อนภูมิพล และทรงเสด็จมาประทับที่จวนผู้ว่าราชการจังหวัดตากในย่านตัวเมืองตากเดิม (ย่านตรอกบ้านจีน) เหตุการณ์ในครั้งนั้นสร้างความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวตากอย่างหาที่สุดมิได้

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 374

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 714

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,006