ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 714

[16.8784698, 98.8779052, ตรอกบ้านจีน]

สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นทางผ่านก่อนไปตำบลหัวเดียดนั้น ที่ไม่ว่าจะหลังหรือก่อนการไปหาอะไรกินในจังหวัดตากยังมีสถานที่อีกเยอะแยะมากมายที่รอให้ทุกคนได้ไปแวะเที่ยว แวะชมและแวะไปเก็บภาพสวย ๆ งั้นเรามาเริ่มดูกันเลยดีกว่า เช่น ชุมชน “ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว บางคนมีลูกหลานก็ส่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ทำให้ชุมชนนี้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าในชุมชนตรอกบ้านจีนจะยังคงเงียบสงบอยู่ แต่ก็กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองตากที่นักท่องเที่ยวสามารถแวะมาเดินเล่นชมบ้านเก่า ๆ ได้

คำสำคัญ : บ้านคนจีน

ที่มา : https://xn--l3ca5bst0b4a5f.xn--ตรอกบ้านจีน

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ตรอกบ้านจีน. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2052&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2052&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

ประวัติอำเภอเมืองตาก

ประวัติอำเภอเมืองตาก

เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมี หลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุขัยเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการ อพยพ ของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีเกียงตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำดง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้าน อำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า “เมืองตาก”

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,919

ฤ

ฤ " ระแหง " จะเพียงนามย่านตัวเมือง

หลายตำนานการเรียกขานเมืองตากว่า ระแหง มีปรากฏมาจากตำนานจามเทวีวงศ์ เรียกย่านฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงว่า บ้านระแหง ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้นที่เก่าแก่มากที่สุด ก่อนสุโขทัย ในลักษณะตำนานที่เล่าขานเป็นมุขปาฐะ (เรื่องเล่า) ในช่วงอยุธยา เรียกบ้านเราย่านป่ามะม่วงว่าเมืองตาก ในช่วงธนบุรี ตลอดจนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 นั้น คำว่าระแหงมีปรากฏถึงชุมชนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 724

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

ตลาดลาวปากน้ำโพ กับนายฮ้อยเรือเมืองตาก

คนตากที่พูดสำเนียงไทยวน เรียกตนเองว่าลาว เมืองตากตั้งอยู่บนลำน้ำปิง กลุ่มชาวลาวเก่งในด้านการค้าทางเรือ ค้าขายร่ำรวย กลายเป็นคหบดีค้าเรือ เรียกนายฮ้อยเรือ ร่องรอยการค้าเรือยังมีให้เห็นผ่านตระกูลสำคัญในชุมชนหัวเดียด ส่วนชุมชนลาวเชียงทองเก่งด้านค้ากองคาราวานม้าต่างติดต่อชายแดนแม่สอด การค้าทางเรือพ่อค้าแม่ค้าจะขนสินค้าการเกษตรล่องจากท่าเรือในชุมชนตนเอง ในย่านตัวเมืองเดิมมีท่าเรือใหญ่อยู่บริเวณท่าเรือ นำสินค้า ข้าวสาร ของป่า และไม้สักจนขึ้นเกวียนเดินเท้าเข้ามา และขนถ่ายลงเรือชะล่า ล่องลงตามลำน้ำปิงไปถึงเมืองปากน้ำโพ ชาวปากน้ำโพเรียกตลาดที่ชาวเหนือขนสินค้าลงมาขายว่า “ตลาดลาว”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 950

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 807

จีนกี้

จีนกี้

จีนกี้ หรือคุณหลวงโสภณเพชรรัตน์ (จีนกี้ โสภโณดร) กลุ่มลูกหลานคหบดีชาวจีนที่มีต้นทุนการสร้างฐานะมาจากรุ่นพ่อที่ตรอกบ้านจีน สืบต่อธุรกิจค้าไม้จากรุ่นพ่อ นำไปสู่การสร้างธุรกิจโรงสี เดินเรือสมุทร และยังเป็นกรรมการธนาคารสยามกัมมาจลในรุ่นแรกได้รับความนับถือ เป็นหัวหน้าจีนที่สำคัญ ได้สนองพระราชนิยมด้วยการสร้างสะพานข้ามคลองสามเสน กรุงเทพฯ เป็นประจักษ์พยานผ่านกาลเวลาจวบจนปัจจุบัน ผู้คนต่างกล่าวขานนามสะพานว่าโสภณ ตามนามผู้อุทิศเป็นหมุดหมายกาลเวลาให้กล่าวขานถึงค่านิยมคนรุ่นก่อนที่สนองคุณด้วยการสร้างสาธารณูปโภคแก่แผ่นดิน

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 663

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

ปุนเถ่ากง หมุดยึดจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก

เมืองตากตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าลำน้ำปิง ด้านตะวันตกติดกับชายแดนพม่าส่งผลให้กลายเป็นชุมทางหนึ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะภายหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริงแล้วการค้าในสยามขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับการเข้ามาของจีนแผนดินใหญ่ในระหว่างนี้เองจีนกลุ่มต่าง ๆ จึงได้เลือกที่ลงหลักปักฐานบนย่านที่ทำการค้าได้ดี เมืองตากเป็นเมืองหนึ่งที่ชาวจีนนิยมเลือกมาทำการค้าตั้งเป็นชุมชนการค้า พร้อมทั้งน่าจะมีการสร้างศาลเจ้าจีนไว้เป็นที่เคารพของคนในย่านนั้น ศาลเจ้าปุนเถ่ากง จึงเสมือนหมุดยึดโยงความเชื่อความรักในแผ่นดินระหว่างจีนเก่า-จีนใหม่ในเมืองตาก เป็นอนุสรณ์ของชาวจีนที่เมืองตากที่ยังคงมีลมหายใจของคนในพื้นที่

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,048

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 505

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ศาลากลางเมืองตาก ความทรงจำสีจางๆ ของอาคารเก่าที่เราคิดถึง

ภาพศาลากลางจังหวัดตากปี พ.ศ.2479 ภายหลังมีการย้ายศูนย์ราชการไปพร้อมกับการตัดถนนพหลโยธิน ส่งผลให้ศาลากลางหลังเดิม ถูกเปลี่ยนเป็นเทศบาลเมืองตาก ภายหลัง อาคารหลังนี้ถูกรื้อไปแล้วน่าเสียดายอาคารมาก เนื่องจากเป็นอาคารไม้สัก ทั้งอาคารหลังนี้เคยรับเสด็จรัชกาลที่ 6 ด้วย สมัยดำรงพระอิสริยศเป็นมงกุฎราชกุมารในสมัยรัชกาลที่ 5 และน่าจะเคยรับเสด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพด้วย เพราะยังพบหลักฐานนาฬิกาโบราณที่มีชื่อพระนามสลักติดไว้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เมืองตากจวนผู้ว่าเก่า น่าเสียดายที่กระแสการอนุรักษ์อาคารโบราณเพิ่งจะได้รับความสนใจเมื่อไม่นานมานี้เอง มิเช่นนั้นคงจะมีท่างออกที่ดีในด้านการอนุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,006

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 406

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,084