โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 1,089

[16.8784698, 98.8779052, โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา]

     เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือโรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง จัดกิจการเรียนการสอนสร้างบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและจังหวัด หลายท่าน ได้แก่ ร.ศ.สุนีย์ สินธุเดชะ, คุณหญิงทิพาภรณ์ สีตปรีชา(ไชยนันทน์) (อดีตรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเป็นผู้ได้มอบหมายให้รับผิดชอบจัดพระโอสถถวาย พระราชวงศ์ชั้นสูง และสมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลา 20 ปี (พ.ศ.2521-2540) พญ.พันทิวา สินรัชตานันท์(เจ้าของบทเพลงเทพธิดาดอย) และยังมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
      ต่อมากิจการการศึกษาในประเทศขยายตัวมากขึ้นจึงได้ย้ายโรงเรียนสตรีไปตั้งอยู่ใกล้กับถนนพหลโยธินจนถึงปัจจุบัน และผลิตนักเรียนที่มีคุณภาพให้กับสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน ดอกทองกวาวออกดอกคราใดเป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนผ่านการก้าวสู่โลกกว้างของเด็ก ๆ ที่ต้องจบออกไปศึกษาหรือทำงานในสังคมแต่เมือหันหลังกับมาที่ต้นทองกวาวต้นเดิมก็ยังคงออกดอกสวยงามสร้างสีสันให้กับเมืองต่อไป(เอกสารเก่า หนังสืออนุสรณ์งานศพ ขุนวัชรพุุกก์ ศึกษากรและ หนังสือการเสด็จตรวจวัด ของสมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส และวิทยานิพนธ์แนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้ตรอกบ้านจีน บัณฑิตวิทยาลัย คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

(สัมภาษณ์คุณหญิงทิพาภรณ์ สิตปรีชา หนังสือ สายสัมพันธ์บ้านจีน อาจารย์สำราญ แดงประเสริฐ ภาพจากพิพิธภัณฑ์เมืองตากได้รับอนุเคราะห์จากคุณชลศักดิ์ สินรัชตานันท์)

คำสำคัญ : โรงเรียน

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/800580936698782

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2063&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2063&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,798

ตรอกบ้านจีน

ตรอกบ้านจีน

“ตรอกบ้านจีน” ชุมชนเล็ก ๆ ที่เคยคึกคักเป็นอย่างมากเมื่อสมัยร้อยกว่าปีก่อน แม้ปัจจุบันนี้กลายเป็นชุมชนที่สงบเงียบ แต่ร่องรอยความรุ่งเรืองในอดีตก็ยังมีให้เห็นสืบทอดต่อกันมา ตรอกบ้านจีนเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดนผลกระทบจากการทิ้งระเบิด การค้าขายชะงักงัน ชาวบ้านในตรอกต้องอพยพไปอยู่ถิ่นอื่น พอหลังสงครามสงบ ก็มีการขยายตลาดขึ้นไปทางทิศเหนือ ชาวบ้านในตรอกที่อพยพไปอยู่ที่อื่น บ้างก็ไม่ได้กลับมาอยู่ที่ตรอกนี้แล้ว จึงทำให้ตรอกบ้านจีนเงียบเหงาลงไปอย่างมาก จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีก่อน ชาวชุมชนตรอกบ้านจีนก็ได้รวมตัวกันเพื่อดูแลรักษา ฟื้นฟู และซ่อมแซมบ้านเก่าที่ยังมีอยู่ในตรอกให้มีชีวิตชีวามากขึ้น 

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 714

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,821

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

จีนแคะ หัวใจศิลปิน

กลุ่มจีนแคะ เป็นจีนกลุ่มๆที่เดินทางเข้ามา จีนกลุ่มแรกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญคือ จีนแต้จิ๋ว กลุ่มจีนแคะเดินทางเข้ามาระลอกใหญ่ หลังจากการเปิดเส้นทางรถไฟสถานีปากน้ำโพและสถานีเมืองพิษณุโลก ภายหลังอพยพต่อมายังเมืองใกล้เคียง เช่น แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และที่เมืองตากก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่จีนแคะเลือกมาทำการค้า โดยหอบเอาความรู้ด้านเชิงช่างงาน ฝีมือติดตัวมาด้วย เลือกลงหลักปักฐานในย่านถนนตากสิน ซึ่งเป็นถนนการค้าริมน้ำที่สำคัญมาแต่ช่วงหลังสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นต้นมา 

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 767

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 369

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 491

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ตรอกบ้านจีน ชุมชนเก่าน่าเที่ยวแห่งเมืองตาก

ถนนสายเล็ก ๆ ที่ชาวเมืองตากเรียกกันว่า “ตรอกบ้านจีน” ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองตาก บนถนนตากสิน ไม่ไกลจากสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เป็นชุมชนการค้าขายที่รุ่งเรืองมากในอดีต แม้วันนี้บรรยากาศความคึกคักของชุมชนค้าขายอาจไม่หลงเหลืออยู่ แต่ยังคงมีร่องรอยของความรุ่งเรืองในอดีตปรากฏให้เห็น ผ่านบ้านเรือนเก่าที่ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้ค่อนข้างสมบูรณ์ ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมท่ามกลางวิถีชีวิตอันเรียบง่าย กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,007

"เกียเฮงหลี" อาคารพาณิชย์ปูนหลังแรกในย่านตัวเมืองตาก

การขยายตัวของตลาดใน นำไปสู่การตัดถนนเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นเหมาะในการคมนาคม ขนข่ายผู้คนจากชุมชนโดยรอเข้ามาจับจ่ายใช้สอย และเปลี่ยนสินค้า เราเรียกกันต่อมาว่า ถนนตากสินนั้นเอง การขยายตัวส่งผลให้เกิดร้านค้าตั้งขึ้นตลอดแนวถนน หนึ่งในนั้น คืออาคารพาณิชย์ที่สร้างด้วยปูนแห่งแรกของตัวเมืองตาก นั้นคือร้านเกียเฮงหลี โด่ดเด่นในย่านถนนตากสิน ขายสินค้าจำพวกอุปกรณ์ก่อสร้าง ในปัจจุบันหากใครขับผ่านย่านถนนตากสินตรงข้ามกับธนาคารกสิกรไทย สาขาตาก ยังคงพอาคารที่สวยงามผ่านกาลเวลาของเมือง ให้เห็นเป็นร่องรอยอาคารพาณิชย์รุ่นแรกของเมือง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 563

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

ปี่พาทย์รามัญ ลมหายใจรามัญแห่งลุ่มแม่น้ำปิงที่เมืองตาก

เมืองตากมีความใกล้ชิดกับเมืองพม่าอันเป็นเมืองท่าของมอญส่งผลให้เกิดการอพยพโยกย้ายเข้ามาของมอญ เมื่อมอญอพยพเข้ามาจึงมาอพยพโยกย้ายเข้ามาของกลุ่มนักดนตรีมอญด้วย หรือวงปีพาทย์รามัญ หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนต่าง ๆ ในเมืองตาก ยังมีปรากฏจากจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ที่แสดงให้เห็นร่องรอยของผู้คนในเมืองตากที่สัมพันธ์กัน ในปัจจุบันยังคงพบวงดนตรีปีพาทย์มอญที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลงเหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานการตั้งถิ่นฐานย่านชุมชนมอญที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 869

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

มังรายศาสตร์ ฉบับวัดไม้งามหลวง มรดกวัฒนธรรมเมืองชายขอบแห่งล้านนา

กฎหมายมังรายศาสตร์เป็นการกล่าวถึงวิธีพิจารณาความและตัดสินความในแง่มุมต่าง ๆ ของคนในล้านนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการสั่งสม ถ่ายทอด และเกิดเป็นวัฒนธรรมที่มีรูปแบบอันเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง และกระจายแนวคิดดังกล่าวไปยังเมืองโดยรอบที่รับวัฒนธรรมล้านนา จึงส่งผลให้เมืองตากมีความเป็นเมืองลูกผสมระหว่างวัฒนธรรมลุ่มน้ำปิงตอนบนและวัฒนธรรมปิงตอนล่างที่รับวัฒนธรรมขั้นใหญ่มาจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมเมืองชายตะเข็บแห่งล้านนาที่เห็นได้ง่ายคือ การตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนลาว วัฒนธรรมอาหาร วัฒนธรรมการพูด(ปากลาว) ประเพณีที่เป็นแบบไทย ๆ ลาว ๆ และการถ่ายทอดด้านภาษาเขียนหรือตัวธรรมล้านนา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 808