มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 1,844

[16.4258401, 99.2157273, มะจ้ำก้อง]

มะจ้ำก้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia sanguinolenta Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ardisia colorata Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

สมุนไพรมะจ้ำก้อง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะจำก้อง (เชียงใหม่), ตาปลา (ตราด), กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา (จันทบุรี), กาลังกาสาตัวผู้ (นครราชสีมา), พิลังกาสา เหมือด (เลย), จีผาแตก (ลพบุรี), ตาเป็ดตาไก่ (นครศรีธรรมราช), อ้ายรามใบใหญ่ (ตรัง), ทุรังกะสา (สตูล)

ลักษณะของมะจ้ำก้อง

  • ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050
  • ใบมะจ้ำก้อง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.8-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นมัน ผิวใบเรียบเป็นสีเขียว ใบอ่อนเป็นสีแดง
  • ดอกมะจ้ำก้อง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปพีระมิด โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามส่วนยอด ช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายซี่ร่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวแกมชมพูจาง ๆ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีจุดสีดำหรือมีขนสั้นเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง ก้านช่อดอกเป็นสีม่วงแดง ออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงเดือนตุลาคมจะออกมากเป็นพิเศษ
  • ผลมะจ้ำก้อง ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดเท่ากับเม็ดนุ่น ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อสุกหรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ ส่วนเมล็ดมีลักษณะกลม

สรรพคุณของมะจ้ำก้อง

  1. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ซาง (ผล)
  2. ต้นใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น)
  3. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ (ผล)
  4. ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
  5. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ใบ, ผล)
  6. รากใช้เป็นยาแก้กามโรคและหนองใน (ราก)
  7. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ต้น)
  8. ตำรายาไทยจะใช้ใบเป็นยาแก้โรคตับพิการ (ใบ)
  9. ผลและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมพิษ (ผล, เมล็ด)
  10. ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน (ลำต้น)
  11. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  12. ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้ใบมะจ้ำก้องนำมาต้มรักษาอาการติดเชื้อไวรัส (ใบ)
  13. รากนำมาตำผสมกับเหล้าเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากเอามาพอกปิดแผลเป็นยาถอนพิษงู (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะจ้ำก้อง

  • สารสกัดของผลสุกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย (Salmonella spp. และ Shigella spp.)
  • สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองในในหลอดทดลอง
  • นอกจากนี้ยังพบเม็ดสี (pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อนโดยให้ยาติดต่อกัน 6-12 เดือน พบว่าสามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้

ประโยชน์ของมะจ้ำก้อง

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป มีทรงพุ่มใบและช่อดอกสวยเด่น แต่ไม่มีกลิ่นหอม

 

คำสำคัญ : มะจ้ำก้อง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะจ้ำก้อง. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1713&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1713&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชันเป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร เปลือกหนา สีน้ำตาลเทา กระเทาะล่อน เป็นแผ่นขนาดเล็ก เปลือกในสีเหลือง ยอดและใบอ่อนออกสีแดง เกลี้ยงหรือมีขนเพียงเบาบาง ใบชิงชันเป็นช่อ มีใบประกอบย่อย 11-17 ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอกชิงชันสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 2,941

ไทรย้อย

ไทรย้อย

ต้นไทรย้อย มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย อินเดีย และภูมิภาคมาเลเซีย จัดเป็นไม้ยืนต้นหรือพุ่มไม้ผลัดใบขนาดกลาง ที่มีความสูงได้ประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกเป็นพุ่มหนาทึบและแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยย้อยลง เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีลำต้นที่สูงใหญ่ ตามลำต้นจะมีรากอากาศแตกย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมากดูสวยงาม รากอากาศเป็นรากขนาดเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล ลักษณะรากกลมยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ด้วย มีรสจืดและฝาด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,196

กระเทียม

กระเทียม

กระเทียมเป็นพืชล้มลุกประเภทกินหัว ลำต้นสูง 1-2 ฟุต มีหัวลักษณะกลมแป้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว ภายนอกของหัวกระเทียมมีเปลือกบางๆหุ้มอยู่หลายชั้น ภายในหัวประกอบแกนแข็งตรงกลาง ด้านนอกเป็นกลีบเล็กๆ จำนวน 10-20 กลีบ เนื้อกระเทียมในกลีบมีสีเหลืองอ่อนและใส  มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง มีกลิ่นฉุนจัด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 7,212

ฝรั่ง

ฝรั่ง

ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,846

มะกอก

มะกอก

ต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 18,503

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,844

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 11,642

กรวยป่า

กรวยป่า

ต้นกรวยป่าเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 เมตร ใบกรวยป่าใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม โคนมนกว้าง มักเว้าเล็กน้อยที่รอยต่อก้านใบ ขอบจักถี่ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อยที่เส้นกลางใบ ด้านล่างมีขนนุ่มทั่วไป ดอกกรวยป่ามีจำนวนมาก ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวหรือเหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงเล็ก ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 8-10 อัน ผลกรวยป่ามีเนื้อ รูปไข่ ผิวเรียบ ผนังหนา สุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีแสด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,552

เผือก

เผือก

เผือกมีสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทเอดโด (eddoe) ได้แก่ Colocasia esculenta var. antiquorum หรือ Colocasia esculenta var. globulifera ประเภทนี้จะเป็นเผือกที่มีหัวขนาดไม่ใหญ่ และมีหัวเล็กกว่าล้อมรอบอยู่หลายหัว ทุกหัวใช้รับประทานและใช้ทำพันธุ์ได้ ส่วนอีกประเภทคือ ประเภทแดชีน (dasheen) ได้แก่ Colocasia esculenta var. esculenta ประเภทนี้เป็นเผือกที่มีหัวขนาดใหญ่ และมีหัวขนาดเล็กล้อมรอบ ใช้รับประทานได้ เผือกประเภทนี้ได้แก่ เผือกหอม ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 10,480

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,658