มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 6,648

[16.4258401, 99.2157273, มะเขือขื่น]

มะเขือขื่น ชื่อสามัญ Cock roach berry[3], Dutch eggplant, Indian Nightshade

มะเขือขื่น ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum aculeatissimum Jacq. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum cavaleriei H. Lév. & Vaniot, Solanum khasianum C.B. Clarke) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

สมุนไพรมะเขือขื่น มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะเขือแจ้ดิน มะเขือเปราะ มะเขือเสวย (เชียงใหม่), มังคิเก่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เขือเพา (นครศรีธรรมราช), มะเขือขันคำ มะเขือคำ มะเขือคางกบ มะเขือแจ้ มะเขือเหลือง (ภาคเหนือ), เขือหิน (ภาคใต้) เป็นต้น

ลักษณะของมะเขือขื่น

  • ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย มักพบขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ป่าเปิด ป่าละเมิด ทุ่งหญ้า ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 600-2,300 เมตร
  • ใบมะเขือขื่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของแผ่นใบมีหลายรูปร่าง แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบเป็นรูปหัวใจ ฐานใบทั้งสองด้านจะเยื้องกันเล็กน้อย ส่วนขอบใบหยักเว้าเป็นพูตื้น ๆ ประมาณ 5-7 พู มีขนาดกว้างประมาณ 4-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4.5-18 เซนติเมตร หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน มีหนามแหลมตามเส้นกลางใบ ก้านใบอ้วนสั้น ยาวได้ประมาณ 3-7 เซนติเมตร และอาจพบหนามตามก้านใบ
  • ดอกมะเขือขื่น ออกดอกเป็นช่อสั้นแบบช่อกระจะ มีดอกย่อยประมาณ 4-6 ดอก หรือออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านช่อยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร มีขนห่างยาว ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเป็นสีม่วง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยสั้น ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปหอก ขนาดประมาณ 4x14 มิลลิเมตร มีขนนุ่มเหมือนวงกลีบเลี้ยง ส่วนกลีบเลี้ยงเป็นสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก ติดอยู่จนติดผล แต่ละแฉกเป็นรูปหอกแกมรูปขอบขนาน ขนาดประมาณ 5x15 มิลลิเมตร มีขนนุ่ม วงกลีบเลี้ยงมีลักษณะเป็นรูประฆังขนาดประมาณ 5.5 เซนติเมตร ดอกมีเกสรสีเหลือง 5 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร อับเรณูเป็นรูปหอก เรียวแหลม ขนาดประมาณ 6-7 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียยาวได้ประมาณ 6-7 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม 
  • ผลมะเขือขื่น ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเป็นมัน เปลือกเหนียว ผลอ่อนผิวจะเรียบลื่นเป็นสีเขียวเข้ม มีลายขาวแทรก เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีเหลืองสด ชั้นเนื้อผลบางมีสีเขียวอ่อนอมสีเหลืองใส มะเขือขื่นจะมีกลิ่นเฉพาะ โดยจะมีรสขื่น ภายในผลจะมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบนขนาดเล็กสีน้ำตาลอ่อน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.8 มิลลิเมตร โดยจะติดผลช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

สรรพคุณของมะเขือขื่น

  1. ผลมีรสเปรี้ยวขื่นเย็น ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล)
  2. รากและผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้สันนิบาต (ราก, ผล)
  3. ตำรายาไทยจะใช้รากเป็นยาแก้ไข้ที่มีพิษร้อน ช่วยกระทุ้งพิษไข้ (ราก)
  4. ผลและรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ (ราก, ผล)
  5. รากมีรสขื่นเอียน เปรี้ยวเล็กน้อย มีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะและน้ำลาย โดยจะช่วยล้างเสมหะในลำคอ และทำให้น้ำลายน้อยลง ทำให้น้ำลายแห้ง (ราก)
  6. ผลมีสรรพคุณเป็นยากัดเสมหะ (ผล)
  7. ช่วยแก้น้ำลายเหนียว (ราก, ผล)
  8. ใช้แก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้ราก 15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำอมในปาก (ราก)
  9. รากใช้ฝนเป็นกระสายยาแก้เด็กเป็นโรคซาง ชัก (ราก)
  10. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  11. รากใช้ปรุงร่วมกับยาอื่น เป็นยาแก้กามตายด้านและบำรุงความกำหนัดได้ผลดีในระดับหนึ่ง (ราก)
  12. ใช้เป็นยาแก้อัณฑะอักเสบ ด้วยการใช้ 15 กรัม, หญ้าแซ่ม้า 15 กรัม และต้นทิ้งถ่อน นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  13. ใบสดใช้ภายนอกนำมาตำพอกแก้พิษ แก้ฝีหนอง (ใบสด)
  14. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยารักษามะเร็งเพลิง (เมล็ด)
  15. ช่วยแก้อาการปวดบวม ปวดหลัง ฟกช้ำดำเขียว และใช้เป็นยาขับน้ำชื้น (ไม่ระบุแน่ชัดว่าใช้ส่วนใด)
  16. ใช้เป็นยาช่วยขับลมชื้น แก้อาการปวดข้อเนื่องจากลมชื้นติดเกาะ แก้ไขข้ออักเสบ มือเท้าชา ด้วยการใช้ผลสดประมาณ 70-100 กรัม นำมาตุ๋นกับไตหมูรับประทาน (ผล)
  17. เนื้อมะเขือขื่นสีเขียวนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้หยอดตา แก้พยาธิในตา (เนื้อผล)
  18. สารสำคัญในมะเขือขื่น คือสารอัลคาลอยด์ต่าง ๆ ในทางเภสัชกรรมล้านนา จะใช้สารดังกล่าวเป็นส่วนประกอบในตำรับยาหลายชนิด เช่น ยาบำรุงกำลัง, ยาเสลด (ยาแก้เสมหะและรักษาตาต้อ), ยายางเหลืองมักเป็นขางเขี้ยนขาว (ยารักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน), ยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้อาเจียน รักษาแผลเป็นหนองและหืด เป็นต้น
  19. ในชนบททางภาคกลางของบ้านเรา จะใช้ใบปรุงเป็นยาร่วมกับใบสมุนไพรชนิดอื่น ๆ และยังเชื่อว่า ในท้องถิ่นและภาคอื่น ๆ ของไทย คงนำมะเขือขื่นไปใช้เป็นยารักษาโรคอีกมากมาย แต่ในปัจจุบันยังขาดการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเป็นเอกสารเผยแพร่ ประกอบกับมียาแผนปัจจุบันเข้ามาแทน จึงทำให้มีการนำมะเขือขื่นมาใช้เป็นยาลดน้อยลง (ใบ)

ประโยชน์ของมะเขือขื่น

  • คนไทยนิยมนำผลมะเขือขื่นที่แก่แล้วมาใช้ปรุงเป็นอาหาร โดยจะใช้เฉพาะส่วนเปลือกและเนื้อเท่านั้น (แยกเมล็ดทิ้ง) โดยอาจนำมาใช้กินเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกหรือปลาร้า มีบางครั้งจะใช้เนื้อผลในการปรุงเครื่องจิ้ม เช่น เยื่อเคยทรงเครื่อง ฯลฯ ปรุงอาหารกับส้มผัก เช่น ส้มผักบั่ว ส้มผักกาด หรือจะนำมาใช้ปรุงรสอาหารบางชนิด ฝานเปลือกใส่ในส้มตำอีสาน ส้มตำลาว โดยรสขื่นจะช่วยลดความเค็มของปลาร้าได้ ทำให้ส้มตำมีรสกลมกล่อม หรือนำมาใช้ยำกับสาหร่าย ใช้ตำกับผลตะโกและมะขามที่เรียกว่าเมี่ยง ส่วนในภาคกลางจะใช้เนื้อนำมาทำแกง เช่น แกงส้มมะเขือขื่น แกงป่าต่างๆ เป็นต้น ส่วนชาวล้านนาจะใช้ผลอ่อนนำมารับประทานทั้งผล ใช้เป็นผักจิ้มและผักแกง นำมายำ (ส้าบ่าเขือแจ้) ใช้ใส่ในน้ำพริก (น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกบ่าเขือแจ้) บ้างนำผลแก่ไปเผาให้สุกตำจนละเอียดแล้วผสมลงในเนื้อสับที่จะทำลาบเนื้อหมูหรือลาบเนื้อ โดยจะช่วยทำให้ลาบนั้นนุ่มเหนียวยิ่งขึ้น อาจมีคนสงสัยว่ามะเขือขื่นที่ทั้งเหนียวและขื่นจะมีรสชาติอร่อยได้อย่างไร เพราะต่างจากมะเขือทั่วไปที่มีความกรอบและความหวาน แต่ด้วยภูมิปัญญาบวกกับฝีมือคนไทย จึงทำให้ความขื่นและความเหนียวกลายเป็นอาหารที่อร่อยมีเอกลักษณ์ไปได้ เช่นเดียวกับชะอมที่ยังคงเป็นเสน่ห์สำหรับคนไทยนั่นเอง
  • มะเขือขื่นอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือขื่น ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย วิตามินซี 63 มิลลิกรัม, แคลเซียม 55 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม ฯลฯ

หมายเหตุ : เชื่อกันว่า หากรับประทานมะเขือขื่นเข้าไปมาก ๆ จะทำให้มีความรู้สึกทางเพศสูง ส่วนในหญิงตั้งครรภ์นั้นหากรับประทานมะเขือขื่น เชื่อว่าครรภ์จะโตมาก ทำให้คลอดบุตรได้ยาก

 

คำสำคัญ : มะเขือขื่น

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือขื่น. สืบค้น 30 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1698&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1698&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

งาขี้ม้อน

งาขี้ม้อน

ต้นงาขี้ม้อน จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ออกดอกเป็นช่อกระจะตามง่ามใบและที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ริ้วประดับดอกย่อยลักษณะเป็นรูปไข่ 

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 9,009

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาท

ขันทองพยาบาทเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 7-13 เมตร กิ่งก้านกลม มีสีเทา เปลือกมีสีน้ำตาลแก่ ผิวบางและเรียบ เนื้อไม้ข้างในมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-22 ซม. เนื้อใบหนาทึบ หลังใบลื่นเป็นมัน ท้องใบสีอ่อนกว่า ฐานใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบเป็นติ่งยาว ขอบใบฟัน เส้นใบมีประมาณ 14-16 คู่ และมีก้านใบยาวประมาณ 9-16 มม. ดอกออกเป็นช่อกระจายตรงซอกใบ ช่อละ 5-10 ดอก ยาวประมาณ 16-18 ซม.

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,697

ขิง

ขิง

ขิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดินสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนเนื้อในจะเป็นสีนวลๆ มีกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของขิง ขึ้นโดยการแทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นมาบนดิน ส่วนใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบเรียงสลับกันเป็นรูปขอบขนาน แผ่นใบสีเขียวเข้ม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อสีเหลืองอมเขียว แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ส่วนผลจะมีลักษณะกลมและแห้ง ข้างในมีเมล็ดมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,315

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,420

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,499

แห้ม

แห้ม

ต้นแห้ม หรือ ต้นแฮ่ม จัดเป็นพืชวงศ์เดียวกับบอระเพ็ด ลำต้นที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร จะมีลักษณะเป็นชิ้นหรือแท่งตรงทรงกระบอก เรียกว่า "Coscinium" อาจพบในขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เซนติเมตร ผิวภายนอกเป็นสีน้ำตาลเหลือง ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลือง ไม่มีกลิ่นแต่มีรสขม โดยพืชชนิดนี้ถูกบรรจุอยู่ใน The British Phamaceutical Codex 1991 ภายใต้หัวข้อ Coscinium[1] ยังไม่มีการปลูกในประเทศไทย และต้องนำเข้ามาจากประเทศลาวเท่านั้น สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสมุนไพร โดยจะมีทั้งแบบที่เป็นผงสีเหลือง (คล้ายขมิ้น) และแบบที่หั่นเป็นชิ้นเฉียงๆ หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร เนื้อไม้มีรูพรุนและเป็นสีเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,479

ขมิ้น

ขมิ้น

  ขมิ้นชัน หรือขมิ้น, ขมิ้นแกง (Turmeric, Curcuma, Yellow Root) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ทางภาคใต้หรืออีสานเรียกขี้มิ้น ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกขมิ้นทอง, ขมิ้นป่า, ขมิ้นหัว, ขมิ้นแดง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นไข, ขมิ้นดี, พญาว่าน, ตายอ เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2017 ผู้เช้าชม 3,528

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,465

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดงไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้เช้าชม 1,840

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 22,046