มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 2,043

[16.4258401, 99.2157273, มะจ้ำก้อง]

มะจ้ำก้อง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ardisia sanguinolenta Blume (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ardisia colorata Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์ PRIMULACEAE (MYRSINACEAE)

สมุนไพรมะจ้ำก้อง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะจำก้อง (เชียงใหม่), ตาปลา (ตราด), กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา (จันทบุรี), กาลังกาสาตัวผู้ (นครราชสีมา), พิลังกาสา เหมือด (เลย), จีผาแตก (ลพบุรี), ตาเป็ดตาไก่ (นครศรีธรรมราช), อ้ายรามใบใหญ่ (ตรัง), ทุรังกะสา (สตูล)

ลักษณะของมะจ้ำก้อง

  • ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050
  • ใบมะจ้ำก้อง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกกลับหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.8-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แผ่นใบหนาแข็งเป็นมัน ผิวใบเรียบเป็นสีเขียว ใบอ่อนเป็นสีแดง
  • ดอกมะจ้ำก้อง ออกดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปพีระมิด โดยจะออกที่ปลายกิ่งหรือตามส่วนยอด ช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกลักษณะคล้ายซี่ร่ม กลีบดอกมี 5 กลีบ เป็นสีขาวแกมชมพูจาง ๆ รูปรีแกมรูปขอบขนาน โคนกลีบเชื่อมติดกัน ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมมีจุดสีดำหรือมีขนสั้นเกสรเพศผู้เป็นสีเหลือง ก้านช่อดอกเป็นสีม่วงแดง ออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงเดือนตุลาคมจะออกมากเป็นพิเศษ
  • ผลมะจ้ำก้อง ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดี่ยว มีลักษณะกลม ขนาดเท่ากับเม็ดนุ่น ผลอ่อนเป็นสีแดง เมื่อสุกหรือแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงดำหรือสีดำ ส่วนเมล็ดมีลักษณะกลม

สรรพคุณของมะจ้ำก้อง

  1. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ซาง (ผล)
  2. ต้นใช้เป็นยาแก้กระษัย (ต้น)
  3. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ (ผล)
  4. ช่วยแก้อาการไอ (ใบ)
  5. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย (ใบ, ผล)
  6. รากใช้เป็นยาแก้กามโรคและหนองใน (ราก)
  7. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาฟอกขับปัสสาวะให้บริสุทธิ์ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ต้น)
  8. ตำรายาไทยจะใช้ใบเป็นยาแก้โรคตับพิการ (ใบ)
  9. ผลและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมพิษ (ผล, เมล็ด)
  10. ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคเรื้อน (ลำต้น)
  11. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาฆ่าเชื้อโรค (ดอก)
  12. ในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย จะใช้ใบมะจ้ำก้องนำมาต้มรักษาอาการติดเชื้อไวรัส (ใบ)
  13. รากนำมาตำผสมกับเหล้าเอาน้ำรับประทาน ส่วนกากเอามาพอกปิดแผลเป็นยาถอนพิษงู (ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะจ้ำก้อง

  • สารสกัดของผลสุกสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย (Salmonella spp. และ Shigella spp.)
  • สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อหนองในในหลอดทดลอง
  • นอกจากนี้ยังพบเม็ดสี (pigment) สีส้มทองชื่อ Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อนโดยให้ยาติดต่อกัน 6-12 เดือน พบว่าสามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้

ประโยชน์ของมะจ้ำก้อง

  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป มีทรงพุ่มใบและช่อดอกสวยเด่น แต่ไม่มีกลิ่นหอม

 

คำสำคัญ : มะจ้ำก้อง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะจ้ำก้อง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1713

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1713&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา เป้นต้นไม้เลื้อยอายุยืนหลายปี ระบบรากแก้ว ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง และเหนียวสีเขียวอ่อน ลำต้นทอดเลื้อยขึ้นครอบคลุมต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ หรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ออกจากลำต้นแบบตรงข้าม ใบและก้านใบมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อไซม์โมส (cymose) ออกตรงบริเวณซอกใบอ่อนปลายยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกหลอมรวมกัน เป็นหลอดปลายกลีบ ดอกแยกเป็น 5 กลีบ มีสีม่วงอมเทาหรือม่วงอมชมพู  ผลรูปไข่เปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล  พบขึ้นในบริเวณบ้าน ริมรั้ว ตามที่รกร้างและริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,894

ตะขบฝรั่ง

ตะขบฝรั่ง

ตะขบฝรั่งเป็นพืชผลไม้ตระกูลเบอรี่ของไทยที่อยู่ใกล้ตัว หาได้ง่าย และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ถือเป็นต้นไม้โตเร็วและให้ร่มเงา กิ่งก้านแผ่ออกกว้างส่งผลให้บริเวณใต้ต้นตะขบนั้นจะเป็นที่บังแดดให้ความร่มรื่นในยามแดดจัดได้ดี และยังถือได้อีกว่าเป็นผลไม้ที่มีใยอาหารสูงชนิดหนึ่งโดยใน 100 กรัมหรือประมาณ 25 ผล จะมีใยอาหารมากกว่า 6 กรัม เมื่อเทียบกับปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันอยู่ที่ 25 กรัม ดังนั้นการกินตะขบ 1 ถ้วยจะเท่ากับได้ปริมาณ 1 ใน 4 ของใยอาหารที่แนะนำเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,338

มะนาว

มะนาว

หลายคนสงสัยว่า แล้วคำว่า Lemon ที่ในบ้านเราเข้าใจว่ามันคือมะนาว แล้วตกลงมันคืออะไร จริง ๆ แล้วเลมอน (Lemon) ความหมายที่ถูกต้องของมันก็คือ ผลส้มชนิดหนึ่งที่มีหัวท้ายมนหรือมะนาวที่มีผลเป็นลูกออกสีเหลืองใหญ่ ไม่ใช่ผลกลมๆ สีเขียวลูกเล็กๆ อย่างมะนาวที่เราคุ้นเคย การปลูกมะนาว เดิมแล้วมะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้จีงรู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยนี่เอง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,752

โมกหลวง

โมกหลวง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 2 – 12 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นใบรี หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม หรือมน ใบมี ขนาดกว้างประมาณ 2-5 นิ้วยาวประมาณ 4-10 นิ้วมีพื้นผิวใบบางใต้ท้องใบมีขนเส้นประมาณ 10-20 คู่เห็นได้ชัด  ดอกออกเป็นช่อออกบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก  โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อเล็ก ๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ ในท่อหลอดทีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย  ผลมีลักษณะเป็นฝักลักษณะฝักออกเป็นคู่ฝักตรง ปลายฝักแหลม ส่วนโคนแบน ฝักยาวประมาณ 6-12 นิ้ว กว้างประมาณ 6 – 7 มิลลิเมตร พื้นผิวเปลือกเรียบเกลี้ยง ฝักแก่มีสีดำ แล้วแต่อ้าออกจากกันเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเรียงกันอยู่เป็นแถวหลายเมล็ดเป็นรูปขอบขนานยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,246

ย่านางแดง

ย่านางแดง

ย่านางแดง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้ชนิดอื่น โดยมีความยาวประมาณ 5 เมตร เปลือกเถาเรียบ เถามีขนาดกลาง ๆ และมักแบนมีร่องตรงกลาง เปลือกเถาเป็นสีออกเทาน้ำตาล ส่วนเถาแก่มีลักษณะกลมและเป็นสีน้ำตาลแดง มีมือสำหรับการยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ๆ ปลายม้วนงอ ส่วนรากมีผิวขรุขระสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีรอยบากตามขวางเล็ก ๆ ทั่วไป ลักษณะของเนื้อไม้ภายในรากเป็นสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการแยกหัว ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค โดยสามารถพบต้นย่านางแดงได้ตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าแดง ป่าดิบเขา และตามที่โล่งแจ้ง

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 6,846

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,565

ดองดึง

ดองดึง

ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,420

เห็ด

เห็ด

หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 14,758

เคี่ยม

เคี่ยม

ต้นเคี่ยม จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 20-40 เมตร ลักษณะเรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์แบบต่ำ ๆ ส่วนเปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล เปลือกเรียบ มีรอยด่างสีเทาและสีเหลืองสลับกัน และมีต่อมระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีชันใสตามลำต้นและจะจับกันเป็นก้อนสีเหลืองเมื่อทิ้งไว้นานๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด (โดยเด็ดปีกออกก่อนการนำไปเพาะ) และวิธีการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 5,792

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,349