เห็ด

เห็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้ชม 14,164

[16.4258401, 99.2157273, เห็ด]

        หากเอ่ยถึงเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ แน่นอนว่าเมนูเห็ดย่อมเป็นหนึ่งในอาหารที่หลายๆ คนคิดถึงกันเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่เห็ดนั้นเป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก ที่ปราศจากไขมัน แคลอรีต่ำ แถมยังมีปริมาณโซเดียมหรือเกลือน้อยมากๆ อีกด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือกำลังลดน้ำหนักกันอยู่ และสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานกันได้หลากหลายเมนูมากๆ จึงทำให้หลายๆคนต่างติดใจในเมนูเห็ดกันอย่างมากมาย
        เห็ด (Mushroom) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีมาช้านานและยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเห็ดสดหรือเห็ดตากแห้ง รวมทั้งชนิดบรรจุกระป๋องด้วย และเห็ดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์เลยทีเดียว แต่หลักๆแล้วจะมีการจำแนกกลุ่มของเห็ดออกเป็น 3 กลุ่มคือ    
        1. เห็ดชนิดที่รับประทานได้นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพกัน อาทิ เห็ดนางฟ้า, เห็ดฟาง, เห็ดหูหนู, เห็ดนางรม, เห็ดโคน, เห็ดเข็มทอง ฯลฯ
        2. เห็ดที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีสรรพคุณทางยา อาทิ เห็ดหอม หรือเห็ดหลินจือ ฯลฯ
        3. เห็ดพิษที่ไม่สามารถรับประทานได้และอาจถึงแก่ชีวิตได้ อาทิ เห็ดระโงกหิน, เห็ดจิก, เห็ดจวักงู, เห็ดสน, เห็ดหมึก, เห็ดหิ่งห้อย ฯลฯ

เห็ดคืออะไร?
         สำหรับนักจุลชีววิทยานั้นจะถือว่าเห็ดนั้นจัดเป็นเชื้อราชั้นสูงชนิดหนึ่ง แต่สำหรับนักเกษตรแล้วกลับมองว่าเห็ดเป็นพืชชั้นต่ำ เพราะไม่สามารถสร้างอาหารขึ้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งเห็ดนั้นจะมีการเพาะพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มใยราจนกระทั่งเจริญเติบโตขึ้นเป็นดอกเห็ด ซึ่งมีสีสันและรูปร่างของดอกเห็ดตามแต่ละชนิดของสายพันธุ์เห็ดต่างๆ

เห็ดมีส่วนประกอบหรือโครงสร้างดังนี้     
       1. หมวกเห็ด คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของเห็ด ซึ่งมีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกไป
       2. ก้านเห็ด คือ บริเวณที่ติดเป็นเนื้อเดียวกับดอกเห็ด ซึ่งคอยรองรับดอกเห็ดให้ชูขึ้นด้านบน
       3. ครีบเห็ด คือ บริเวณที่ทำให้เกิดสปอร์ มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ อยู่ตรงใต้หมวกเห็ด
       4. วงแหวน คือ บริเวณที่เกิดจากเนื้อเยื่อบางๆ ที่ยึดระหว่างก้านดอกกับขอบหมวกเห็ดขาดออกจากหมวกเห็ดเมื่อบาน
       5. เยื่อหุ้มดอกเห็ดหรือเปลือก คือ บริเวณส่วนที่อยู่ด้านนอกสุดที่ทำหน้าที่หุ้มหมวกเห็ดและก้านไว้ เมื่อยังเป็นดอกอ่อนอยู่ และจะเริ่มปริหรือแตกออกเมื่อดอกเห็ดเริ่มขยายหรือบานออก แต่ยังคงมีเยื่อหุ้มอยู่
บริเวณโคนของเห็ด เพราะเป็นส่วนที่ไม่ได้มีการขยายตัวออก
       6. เนื้อเห็ด คือ ส่วนที่อยู่ภายในของหมวกเห็ด ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใย เปราะ เหนียว และนุ่ม

สรรพคุณและประโยชน์ของเห็ด
       เห็ดนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท ประโยชน์และสรรพคุณของเห็ด หรือคุณค่าทางอาหารจึงมีแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ของเห็ด แต่โดยรวมแล้วเห็ดมีประโยชน์มากมาย เป็นได้ทั้งอาหารและสมุนไพรรักษาโรค บำรุงร่างกาย ดังนี้
       1. ช่วยต่อต้าน ป้องกัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกายของเราที่จะก่อเกิดโรคมะเร็งต่างๆขึ้นได้
       2. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือดได้ดี
       3. ช่วยให้การทำงานของระบบตับ, ไต และหัวใจ ทำงานได้เป็นปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
       4. มีสารอนุมูลอิสระที่ช่วยให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายขึ้น ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอหรือเจ็บป่วยง่าย
       5. ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และปรับสภาพความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
       6. มีไฟเบอร์และกากใยอาหารสูง ทำให้ระบบขับถ่ายสามารถทำงานได้ดี และไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร, โรคกระเพาะ หรือมะเร็งลำไส้
       7. ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือโรคโลหิตจาง
       8. ช่วยสมานแผล และลดอาการอักเสบของเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ
       9. ช่วยให้ระบบสมองและประสาททำงานได้ดี
       10. ช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดลมในร่างกายดี
       11. ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน และโรคภูมิแพ้
       12. ช่วยให้ร่างกายไม่อิดโรย มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า
       13. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรังได้
       14. ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใส ไม่หมองคล้ำ และดูมีน้ำมีนวล
       15. ช่วยขับสารพิษหรือสารเคมีต่าง ๆ ในตับออกจากร่างกาย
       16. เป็นยาอายุวัฒนะ

คุณค่าทางอาหารของเห็ด
       สำหรับเห็ดนั้นเรียกได้ว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางอาหารสูงมากๆ และไม่มีไขมัน หรือคอเลสเตอรอล เรียกว่าเป็นได้ทั้งอาหารและยาในเวลาเดียวกันเลยก็ว่าได้ ซึ่งมีสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นแก่ร่างกายเป็นอย่างมาก อาทิ
       1. มีวิตามินซีสูง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ
       2. ซีลีเนียม เป็นตัวช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และยับยั้งการเกิดขึ้นของเซลล์มะเร็ง เรียกว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ใกล้เคียงกับวิตามินอีเลยทีเดียว
       3. โพแทสเซียม เป็นตัวที่ช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล เพราะจะเข้าไปทำให้กระบวนการในระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน และควบคุมในเรื่องของจังหวะการเต้นของหัวใจด้วย
       4. ไนอะซิน ก็จะเป็นตัวควบคุมการทำงานในระบบการย่อยอาหารในกระเพาะ รวมทั้งระบบประสาทต่างๆ ได้ดีด้วย
       5. ไรโบฟลาวิน สารอาหารนี้ก็จะเป็นตัวช่วยในเรื่องของสายตาการมองเห็ด และบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ไม่อิดโรย
       6. วิตามินบีรวม ซึ่งก็ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายดีขึ้น และผ่อนคลายความตึงเครียดให้แก่ร่างกาย
       ซึ่งนอกจากเห็ดโดยรวมแต่ละชนิดจะมีประโยชน์ในตัวเองอย่างมากมายแล้ว การนำเห็ด 3 อย่างขึ้นไป มาต้มรับประทานพร้อมกัน ก็จะยิ่งทำให้ได้ประโยชน์มากกว่าการรับประทานเห็ดเพียงชนิดเดียว เนื่องจากเมื่อนำเห็ด 3 อย่างมารวมกันจะทำให้เกิดค่าของกรดอะมิโนซึ่งอยู่ในระดับที่สามารถต้านทานหรือต่อสู้กับโรคมะเร็งร้ายได้ รวมทั้งขับสารพิษและสารเคมีต่างๆ ที่ตกค้างอยู่ภายในร่างกายของเราออกมาได้ ซึ่งเห็ด 3 อย่างนี้เราก็สามารถเลือกรับประทานกันได้ตามชอบใจ ขอเพียงให้ได้เป็นเห็ด 3 ชนิดมาประกอบอาหารด้วยกันเท่านั้น

รายชื่อเห็ดที่สามารถนำมารับประทานได้
     - เห็ดนางฟ้า หรือเห็ดนางฟ้าภูฏาน หรือ เห็ดนางรมภูฏาน
     - เห็ดนางรมดอย
     - เห็ดนางรมทอง
     - เห็ดนางรมหลวงหรือ เห็ดเอริงงิ
     - เห็ดนางรมฮังการี
     - เห็ดหูหนู
     - เห็ดฟาง
     - เห็ดหลินจือ
     - เห็ดโคน
     - เห็ดโคนน้อย หรือ เห็ดถั่ว
     - เห็ดโคนหลวง หรือ เห็ดชิเมะจิน้ำตาล
     - เห็ดชิเมะจิขาว
     - เห็ดโคนญี่ปุ่นหรือ เห็ดยะนะงิ
     - เห็ดด่าน
     - เห็ดระโงก
     - เห็ดทรัฟเฟิลขาว
     - เห็ดเข็มเงิน
     - เห็ดเข็มทอง
     - เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก
     - เห็ดหอมหรือ เห็ดชีตะเกะ
     - เห็ดขอน
     - เห็ดขอนขาว
     - เห็ดขอนดำ
     - เห็ดกระดุมหรือ เห็ดแชมปิญอง
     - เห็ดเผาะ
     - เห็ดเป๋าฮื้อ
     - เห็ดปุยฝ้ายหรือ เห็ดหัวลิง
     - เห็ดลม หรือ เห็ดกระด้าง หรือ เห็ดบด
     - เห็ดจาวมะพร้าว
     - เห็ดตับเต่า
     - เห็ดตะไคล
     - เห็ดตีนแรด
     - เห็ดกระถินพิมาย
     - เห็ดขิง
     - เห็ดบด
     - เห็ดไมตาเกะ
     - เห็ดมันปูใหญ่
     - เห็ดลม
     จะเห็นได้ว่าเห็ดนั้นจัดเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง แถมยังมีรสชาติที่อร่อย นุ่ม ลื่นลิ้น และยังเป็นอาหารที่หารับประทานกันได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไป หรือซูเปอร์มาร์เก็ดต่างๆ แต่ทั้งนี้ การรับประทานเห็ดก็ควรจะรับประทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพราะหากรับประทานมากเกินไปจากที่จะได้ประโยชน์อาจกลายเป็นโทษแทนได้

 

คำสำคัญ : เห็ด

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เห็ด. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1523&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1523&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บัวสาย

บัวสาย

บัวสาย บัวสายนั้นมีถิ่นกำเนิดในเขตที่ราบลุ่มของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย จึงเป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมาเนิ่นนานแล้ว จัดเป็นพืชน้ำอายุหลายปี เป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไทย มีเหง้าอยู่ใต้ดินรากฝักอยู่ในโคลนเลน ก้านอยู่ใต้น้ำ ส่วนก้านดอกอ่อนมีเปลือกลอกออกได้เป็นสายใย ผิวเกลี้ยงและไม่มีหนาม เจริญเติบโตได้ในดินเหนียวที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในระดับน้ำลึกประมาณ 0.3-1 เมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้าและเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 15,513

สะแกนา

สะแกนา

สะแกนา จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทานวล ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆ ของลำต้นมีขนเป็นเกล็ดกลม ๆ ต้นสะแกนาที่มีอายุมากบริเวณโคนต้นจะพบหนามแหลมยาวและแข็ง หรือเป็นกิ่งที่แปรสภาพไปเป็นหนามสั้นตามโคนต้น เนื้อใบหนาเป็นมัน ใบมีสีเขียวสด ผิวใบทั้งสองด้านมีเกล็ดสีเงินอยู่หนาแน่น ผิวใบด้านบนสากมือ ก้านใบสั้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ในทุกชนิด แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว ชุ่มชื้น และควรปลูกในช่วงฤดูฝน 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,940

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,325

ย่านาง

ย่านาง

ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,632

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,230

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,214

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ มีระบบรากแก้วขึ้นได้ดีในที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง ลำต้นสามารถเจริญแช่น้ำอยู่ได้ ถ้าต้นเรียบตรงหรือทอดขนานไปตามพื้นดิน ชูส่วนปลายยอดให้ตั้งตรง สูง 10-15 ซม. มีทั้งสีขาวอมเขียวและสีแดง ระหว่างข้อของลำต้นจะเป็นร่องทั้งสองข้าง  ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบรียาว สีเขียว ปนแดง ปลายใบและโคนใบจะแหลม ขอบใบเรียบ มีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป และขอบใบทั้งสองด้านเส้นกลางใบนูนก้านใบสั้นมาก  ดอกออกดอกเป็นช่อเป็นกระจุก จะออกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีขาวมีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อ บาง ๆ สีขาว 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,948

งิ้ว

งิ้ว

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ต้น ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม กิ่งแผ่ ออกตั้งฉากกับลำต้น ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ รูปไข่หรือรูปรีปลายเรียวแหลมโคนสอบแคบ ดอกสีแดง ตามปลาย ๆ กิ่ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยก 3-4 แฉก ไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขน มันเป๋นเงากลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบม้วนออก เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมากโคนก้าน เกสรติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ผลรูปรี หรือรูปขอบขนาน คล้ายผลนุ่น เมล็ดสีดำ หุ้มด้วยปุยสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,671

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

อัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,466

สะเดา

สะเดา

สะเดามีสรรพคุณบำรุงธาตุไฟ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และแก้ไข้ อีกทั้งรสขมของสะเดายังช่วยเรียกน้ำย่อย และช่วยให้ขับน้ำดีตกลงสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้อุจจาระละเอียดขับถ่ายคล่อง และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,657