เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,480

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี]

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1326

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1326&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

พญาลิไทกับตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จมาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,106

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 770

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 935

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,426

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,535

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,841

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,234

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,569

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,699