เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 715

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร]

           มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี จึงมีพระนามชื่อนางแก้วกัลญานี มีอายุได้ 17-18 ปี มีพระทัยสภัคยินดีด้วยราคจิต คิดอยากเสวยมะเขือเป็นกำลังยิ่งนัก จึงให้ทาสาทาสีไปเที่ยวหาซื้อมะเขือ ทาสาทาสีนั้นจึงไปเที่ยวหาซื้อมะเขือที่ตลาดใต้เหนือหลายแห่งไม่ได้มะเขือ จึงสืบเสาะไปจนถึงไร่ของบุรุษนั้น จึงซื้อมะเขือลูกใหญ่งามของ บุรุษเป็นปมนั้นได้ จึงนำถวายแก่พระราชธิดา พระราชธิดาจึงเสวยมะเขือนั้น จะมีเหตุให้บังเกิดโอชารสซับซาบ ให้นางมีจิตปิติโสมมนัสยินดียิ่งนักเป็นกำลัง จนมีกายกำเริบต่าง ๆ ทั้งนี้นางนั้นจะได้พระราชบุตรผู้มีบุญมาเกิด แลจะได้พระภัสดาสามีผู้มีบุญาธิการมาก อนึ่งเหตุภาวะแห่งคนทั้งสามนั้นได้กระทำบุญมาด้วยกันแต่ก่อน ในกาลนั้นสัตว์ผู้หนึ่งมีบุญญาธิการได้กระทำมามาก มาอุบัติปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์นิเครธรนแห่งพระราชธิดานั้น ด้วยเหตุว่านางได้เสวยมะเขืออันเป็นชื้ออุปสัยสัมภวะแห่งบุรุษสีวรกายเป็นปม อันกระทำปัสสาวะในที่ใกล้ริมต้นมะเขือนั้น ครรภ์อุทรแห่งนางแก้วกัลป์ยานีนั้นก็เห็นปรากฏขึ้นมา ฝ่ายพระญาติพระวงศาครั้นเห็นครรภ์แห่งนางเห็นวิปริต จึงไต่ถามตามประเพณีคดีโลก ได้ฟังเหตุอันนางด้วยวาจาสัจว่าข้านี้มิได้คบหาสังวาสด้วยบุรุษ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นอันขาด ก็เห็นความจริงด้วยสุจริต ด้วยอาณุภาพบุญแห่งสัตว์อันอยู่ในครรภ์นั้น พระญาติวงศ์ทั้งหลายมิได้โกรธ เชื่อถือช่วยกันอภิบาลรักษาครรภ์ด้วยเมตตาจิต นางนั้นก็รักษาครรภ์นั้นมา เมื่อถ้วนกำหนดทศมาศจึงคลอดซึ่งพระราชบุตร ทรงพระรูปโฉมงามยิ่งนักประดุจรูปทอง ประกอบด้วยลักษณะอันบริบูรณ์
           พระญาติวงศ์มีพระเมตตารักใคร่ ช่วยบำรุงบำเรออุปถัมภนาการ เลี้ยงรักษาด้วยสุจริตเป็นปกติมา สมเด็จพระอัยกานั้นมีพระทัยปรารถนา เพื่อจะเสี่ยงทายพระราชนัดดา ทดลองดูจะใคร่รู้ว่าบุรุษผู้ใดจะเป็นบิดาของพระราชกุมาร ครั้งทรงพระดำริแล้วจึงสั่งแก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย จงให้คนเอาฆ้องกลองไปเที่ยวตีป่าวบอกกล่าวแก่บุรุษทั้งหลายในกรุงนอกกรุงศรีฯ แขวง จังหวัดจงทั่วตั้งแต่พรุ่งนี้ไป 3 วัน  ให้บุรุษทั้งหลายเข้ามาในพระราชวังให้ถือมาซึ่งขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามที่มีแต่สิ่งละน้อยให้เร่งเข้ามา” ราชบุรุษทั้งหลายก็ให้ไปเที่ยวตีฆ้องร้องป่าวทั่วทุกทิศตามรับสั่ง ฝ่ายบุรุษทั้งหลายรู้ว่ารับสั่งให้เข้าไปในพระราชวัง ดังนั้นได้ขนมบ้าง ได้ผลไม้ต่าง ๆ กัน เผือก มัน กล้วย อ้อย ตามที่มีก็ถือเข้าไปในพระราชวัง สมเด็จพระอัยกาให้ตกแต่งประดับพระราชนัดดา ด้วยเครื่องกุมารอาภรณ์อลังกาอันวิจิตร วิภูษิตสังวาล งามเลิศแล้ว จึงให้พระหลานแก้วนิสีทนาการเหนือราชอาสน์ อันตกแต่งเป็นอันดีในพระราชฐาน แล้วให้เรียกหาบุรุษเข้ามาทีละคนให้ถือขนมของกินกล้วยอ้อยผลไม้เข้าไปสู่สำนักแห่งพระราชกุมาร สมเด็จพระอัยกาจึงอธิษฐานว่า “บุรุษผู้ใดเป็นบิดาของราชกุมารแท้จริงไซร้ ก็ให้พระราชกุมารนี้จงถือข้าวของวัตถุของบุรุษนั้น ถ้ามิใช่บิดา อย่าให้พระราชกุมารถือข้าวของวัตถุของบุรุษผู้นั้นเลย” ครั้นตั้งอธิฐานแล้วก็ให้พระราชกุมารเข้าไปถือเอาของวัตถุบุรุษนั้น แลชายแสนปมนั้นได้แต่ก้อนข้าวเย็นถือมาก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็เข้ากอดคอแล้วรับเอาก้อนข้าวเย็นมาเสวย ชนทั้งปวงเห็นพิศวงชวนกันติเตียนต่าง ๆ พระเจ้าไตรตรึงษ์ พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยได้ความอัปยศ จึงพระราชทานพระราชธิดาและพระราชนัดดาให้แก่นายแสนปม ให้ใส่แพลอยไปถึงที่ไร่มะเขือ อันเป็นที่อยู่ไกลจากพระนครวันหนึ่งชายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นสู่ไร่ ด้วยเดชะบุญชนทั้ง 3 บันดาลให้สมเด็จจอมอมรินทราธิราช นิมิตกายเป็นวานร เอากลองทิพย์มาส่งให้ชายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า “ท่านปรารถนาสิ่งใดจงตีกลองนี้ อาจให้สำเร็จความปรารถนาได้สิ้น” ชายแสนปมจึงปรารถนาให้รูปงามจงตีกลองนั้น ปมเปาทั้งปวงก็อันตรธานสูญหาย รูปกายนั้นก็บริสุทธิ์ แล้วก็น้ากลองนั้นมาสู่ที่อยู่แล้วก็ บอกแก่ภรรยา นางก็มีความยินดี จึงตีกลองทิพย์นิมิตทองให้ช่างตีอู่ทองให้พระโอรสบรรทม เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงมีนามว่า “เจ้าอู่ทอง” จำเดิมแต่นั้นมา
           จุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาเจ้าอู่ทองจึงตีกลองทิพย์นิมิต เป็นพระนครขึ้นในที่นั้นให้นามชื่อว่า เทพมหานคร เหตุสำเร็จด้วยอานุภาพเทพยดา แลชนทั้งหลายชวนกันมาอาศัย ณ เมืองนั้นเป็นอันมาก พระองค์ได้เสวยราชสมบัติทรงพระนามพระเจ้าสิริไทยเชียงแสน (ศรีวิชัยเสียงแสน) ปรากฏในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จเจ้าสิริไชยเชียงแสนทิวงคต อยู่ในราชสมบัติ 26 ปีแล้ว กลองทิพย์นั้นก็อันตรธานหาย สมเด็จพระเจ้าอยู่ทองราชโอรสได้เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้ 6 พระพรรษา ทรงพระปรารภจะสร้างพระนครใหม่ จึงให้ราชบุรุษเที่ยวแสวงหาภูมิประเทศที่มีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ ราชบุรุษก็เที่ยวหามาโดยทักษิณ ถึงประเทศที่หนองโสน กอรปด้วยพรรณปลาพร้อมทุกสิ่ง จึงกลับไปกราบทูลพระเจ้าอู่ทองจึงยกจตุรงค์โยธาประชาราฎร์ทั้งปวงมาสู่ประเทศที่นั้น
          จุลศักราช 712 ปีขาลโทศก ทรงสร้างพระนครเสร็จให้นามชื่อ กรุงเทพมหานคร ตามนามพระนครเดิม ๑ ให้นามชื่อ ทวารวดี เหตุมีคงคาล้อมรอบดุจนามเมือง ทวารวดี ๑ ให้ชื่อ สีอยุทธยา เหตุเป็นที่อยู่แห่งชนชราทั้งสอง ศรีแลตาอุทธยา เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่ในที่นั้นนาม ๑ แลนามทั้งสามประกอบกันจึง เรียกว่า กรุงเทพมหานครทวารวดีศรีอยุทธยา สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ 37 พระพรรษา ถวายพระนามสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี แลเมื่อได้ราชาภิเษกนั้น ได้สังข์ทักษิณาวรรตภายใต้ต้นหมันในพระนครสังข์ ๑ แล้วทรงสร้างพระที่นั่งไพรทูริยมหาปราสาททอง สองที่นั่งไพรชนมหาปราสาทองค์หนึ่ง พระที่นั่งไอยสวรรมหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วให้พระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ผู้เป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ตรัสเรียกว่าพระเชษฐธิราชนั้นไปครองเมืองสุพรรณบุรี ให้พระราชบุตรทรงพระนามพระราเศวร ไปครองเมืองลพบุรี ครั้งนั้นเมืองประเทศราชขึ้น 16 เมือง คือเมืองมะลากา ๑ เมืองชะวา๑ เมืองตะนาวสี ๑ เมืองทวาย๑ เมืองเมาะตะมะ ๑ เมืองเมาะ ลำเลิง ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองจันทบูรณ์ ๑ เมืองพระพิศนุโลกย์ ๑ เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองพิไชย ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ และพระองค์สร้างวัดพุทธไทสวรรค์แลวัดป่าแก้ว จุลศักราช 731 ปีระกาเอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีสวรรคตอยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,595

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,272

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) กษัตริย์เมืองอู่ทอง เป็นชาวกำแพงเพชร

กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ จากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 435-436 กษัตริย์ผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ได้เรียงลำดับไว้ว่า ลำดับที่ 6 พระยากาแต เชื้อนเรศร์หงสา ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ลำดับที่ 8 ขุนหลวงพะงั่ว ลำดับที่ 7 อู่ทอง มาแต่เชลียง ซึ่ง “เชลียง” ก็หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เรื่อง “อธิบายรัชกาลครั้งกรุงเก่า” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเ์ธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบบักาญจนาภิเษก เล่ม 1 หน้า 356 ได้กล่าวถึงความเกี่ยวข้องของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (หลวงพะงั่ว) กับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ไว้ว่า...

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 14,764

เมืองแปบ หรือวังแปบ

เมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า 

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,373

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,995

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 1

ย้อนหลังไปเมือง พ.ศ. 2450 หรือ 107 ปี ที่ผ่านมา ชาวกำแพงเพชรได้มีโอกาสต้อนรับการเสด็จมาของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ซึ่งทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองพระร่วงคือเมืองกำแพงเพชร สุโขทัยและศรีสัชนาลัย และได้เสด็จขึ้นมาตรวจตราโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศึกษาข้อมูลตามตำนานในท้องถิ่น แล้วทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้เป็นหนังสือเรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ซึ่งยอมรับกันว่าเป็นหนังสือนำเที่ยวเมืองไทยเล่มแรกที่มีคณุค่ายิ่งนัก และถือเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาวกำแพงเพชรควรต้องอ่าน ด้วยความสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเสด็จเที่ยวเมืองกำแพงเพชรและทรงบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเอาไว้อย่างละเอียดเป็นบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,489

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,615

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,122

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,016

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,434