ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 2,558

[16.3937889, 98.9529218, ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ]

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ เป็นบันทึกจากการปฏิบัติภารกิจของพระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ 

ประวัติโดยสังเขปของพระกำแหงสงคราม
          เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้นหกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติพระยาราม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง (พระเจ้าหงสาวดี) ได้สวามิภักดิ์ติดตาม สมเด็จพระนเรศวร มหาราช พร้อมกับพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิริยะพาหะ(นุช) 
         มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ในวันที่ท่านคลอดนั้น พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม นุชนิยม) ผู้บิดากำลังคุมกำลังพลจะไปปราบศึกกบถเจ้าอนุวงศ์ และขณะที่ขบวนทัพพร้อมจะออกเดินทางไปนั้น มีคนที่บ้านมาคุกเข่าอยู่ข้างๆ รายงานว่า ขณะนี้คุณหญิงได้คลอดลูกออกมาแล้ว ท่านบิดาหันไปถามว่าเป็นหญิงหรือชาย เมื่อได้คำตอบว่าเป็นชาย ท่านก็สั่งว่า      “ให้ตั้งชื่อมันว่า ฤกษ์” แล้วสั่งให้เหล่าทหารเคลื่อนพลด้วยจิตใจที่มั่นคงและเข้มแข็งทันทีโดยไม่รีรอ
         สกุลนี้มีมีหลักฐานบ้านช่องอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร และได้สืบสกุลต่อ ๆ กันมาเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรหลายชั่วอายุ เมื่อเยาว์วัยพระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) ได้นำไปฝากไว้กับเจ้าพระยาภูธราภัย เพื่อให้ได้รับการอบรมศึกษาเล่าเรียนตามระเบียบแบบแผนอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นประเพณีนิยมสำหรับผู้ที่หวังทำราชการสืบไปในภายภาคหน้า เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่มีฝีมือในการเขียนหนังสือ ท่านเจ้าพระยาฯ จึงได้ใช้สอยอย่างใกล้ชิด โดยให้ดำรงตำแหน่งทนายหน้าหอ ต่อมาจนเมื่อมีอายุสมควรรับราชการ เจ้าพระยาภูธราภัย จึงได้ฝากให้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทยกับท่านพระยาราชวรานุกูล (เวก บุนยรัตพันธุ์) บุตรท่านเจ้าพระยาภูธราภัย นั้นมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาแต่เยาว์ ตราบจนกระทั่งได้ไปร่วมราชการศึกปราบฮ่องครั้งที่ ๑ เมื่อพ.ศ.๒๔๑๘ และศึกฮ่อครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖

ความเรื่องปราบศึกฮ่อมีดังนี้
         พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”
          พวกฮ่อนี้ต่อมาได้หัวหน้าที่มีวสามเข้มแข็งในการรบ จึงทำการส้องสุมสมัครพรรคพวกจนมีกำลังแข็งแรงแล้ว จึงยกขึ้นไปตีหัวเมืองญวน จีนกับญวนรวมกำลังกันรบแต่สู้พวกฮ่อไม่ได้ พวกฮ่อจึงเข้าครอบครองเมืองต่าง ๆ ในเขตแดนตังเกี๋ย ต่อมาพวกฮ่อเกิดแตกแยกกัน รบพุ่งกันขึ้นฝ่ายแพ้พาสมัครพรรคพวกอพยพไปตั้งดินแดนอยู่แคว้นสิบสองจุไทย ใช้ธงประจำกองทัพสีเหลือง เรียก”ฮ่อธงเหลือง” ส่วนพวกที่อยู่ในแดนตั้งเกี๋ยใช้ธงประจำสีดำ เรียก “ฮ่อธงดำ” พวกฮ่อธงดำนี้ต่อมาทำไมตีกับญวนแล้วช่วยกันรบพุ่งขับไล่ ฮ่อธงเหลือง ๆ จึงต้องถอยหนีแล้วไปปล้นสดมภ์หัวเมืองชายแดนและเมืองในสิบสองจุไทยได้หลายเมือง ญวนส่งทัพมาปราบปรามก็พ่ายแพ้ แก่พวกฮ่อธงเหลือง ต่อมาฮ่อธงเลืองได้มาตั้งถิ่นฐานและค่ายใหญ่ในทุ่งเชียงคำ เตรียมเข้าตีเมืองหนองคายและหลวงพระบาง คณะกรมการเมืองหลวงพระบางและหนองคายจึงมีใบบอกลงมากรุงเทพฯ เพื่อขอให้ไทยจัดกองทัพไปช่วยเหลือ
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งแม่ทัพนายกองขึ้นไป ๕ นาย แยกออกเป็น ๕ ทัพเดินทางไปปราบพวกฮ่อ กองทัพของพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) ซึ่งยกไปปราบฮ่อทางเทอืงหนองคาย ได้รบพุ่งขับไล่พวกฮ่อทางเมืองเวียงจันทร์แตกหนีไป ส่วนทัพของเจ้าพระยาภูธราภัย ซึ่งยกไปปราบพวกฮ่อที่หลวงพระบางก็มีบัญชาให้พระสุริยภักดี (เวก บุนยรัตพันธุ์) ผู้บุตรยกทพไปตีพวกฮ่อแตกยับเยิน จนกระทั่งถึงทุ่งเชียงคำ การปราฮ่อครั้งนี้ พระกำแหงสงครามในขณะนั้นเป็นนายหมวดทัพหน้า ของทัพพระสุริยะภักดี เมื่อตีพวกฮ่อแตกทัพหนีจากเมืองไปพอสมควรแล้ว เจ้าพระยาภูธราภัยจึงมีบัญชาให้ยกทัพกลับคืนกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๔๒๖ พวกฮ่อธงเหลืองที่แตกหนีไปจากหนองคายและเมืองหลวงพระบางก็กลับเข้าไปตั้งมั่นในญวนอีก จีนกับญวนจึงร่วมกันเข้าโอบตีพวกฮ่อธงเหลืองเป็นสามารถ หัวหน้าฮ่อธงเหลืองตายในที่รบ พวกที่เหลือก็แตกกระจัดพลัดพรายแยกกันอยู่เป็นกองเล็กกองน้อย เข้าปล้นสดมภ์บ้านเล็กเมืองน้อยในสิบสองจุไทย พวกฮ่อธงเหลืองมีหัวหน้าเข้มแข็งอีกคนหนึ่ง พาสมัครพรรคพวกลงมาตั้งค่ายใหญ่อยู่ที่ทุ่งเชียงคำอีกครั้งหนึ่ง ส้องสุมผู้คนไว้เป็นจำนวนมาก แล้วยกเข้าปลั่นเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ซึ่งขึ้นอยู่กับเมืองหลวงพระบาง เจ้าเมืองหลวงพระบางเห็นเหลือกำลงที่จะต่อสู้ จึงมีใบบอกมายังกรุงเทพฯ ขอกองทัพขึ้นไปปราบพวกฮ่อ
          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้พระยาพิชัย(มิ่ง)กับพระสุโขทัย(ครุฑ)ยกกองทัพล่วงหน้าไปช่วยเมืองหลวงพระบางก่อน และให้พระยาราชวรานุกูล(เวก บุนยรัตพันธุ์)บุตรเจ้าพระยาภูธราภัยเป็นแม่ทัพใหญ่ตามขึ้นไปสมทบอีกทัพหนึ่ง ในฐานะที่ใกล้ขชิดสนมสนมกันแต่เยาว์และเคยไปร่วมงานศึกมาด้วยกันตั้งแต่ท่านเป็นพระสุริยภกดี ในคราวปราบฮ่อเมือปี พ.ศ. ๒๔๑๘ พระยาราชวรานุกูล จึงให้พระกำแหงสงครามซึ่งขณะนี้นได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยภักดี การเกณฑ์ทัพครั้งนี้พลรบเป็นพลเรือนส่วนใหญ่ เพราะเป็นการเกณฑ์พลตามแบบโบราณ หลวงพิชัยภักดีในฐานะนายหมวดอยู่ในทหารกองหน้า ต้องยกพลไปโดยรีบเร่ง ด้วยความลำบากตรากตรำเป็นสาหัส ประชุมพลที่เมืองพิชัยแล้วเดินทัพผ่านเมืองแพร่ น่าน 
         จากนั้นก็เดินทัพเลียบฝั่งโขงไปจนถึงเชียงแมนแล้วหยุดบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ตามประเพณีของเมืองหลวงพระบางที่เคยปฏิบัติมา ต่อจากนั้นกองทัพเดินเลียบฝั่งไปอีกจนถึงท่าเลื่อนที่ท่าเลื่อนเจ้านครหลวงพระบางได้จัดกองเรือมารับกองทัพข้ามไปยังเมืองหลวงพระบาง พักที่หลวงพระบางพอให้ไพร่พลหายเห็ดเหนื่อยเมื่อยล้าแล้ว กองทัพก็เคลื่อนตรงไปยังทุ่งเชียงคำ การเดินทัพครั้งนี้ทางเดินทุรกันดารยิ่งกว่าที่เดินทัพมาแล้ว ต้องบุกป่าฝ่าดงข้ามเขาข้ามห้วยและต้องเดินทางแข่งกับเวลา ภูเขาที่ข้ามส่วนมากเป็นเขาสูง บางลูกเมื่อขึ้นไปบนไหล่เขาแล้วมองลงมาดูข้างล่างจะเห็นก้อนเมฆลอยต่ำอยู่กว่าจุดที่กองทัพยืนอยู่ ไม่เห็นภูมิประเทศด้านล่าง เพราะก้อนเมฆบังหมด รู้สึกอากาศเย็นมากผิดปรกติ แต่เมื่อลงมาถึงเชิงเขาด้านตรงข้ามแล้วจึงทราบว่าฝนตกลงมาไม่น้อยโดยที่แม่ทัพนายกองและไพร่พลไม่มีใครเปียกฝนเลย พวกฮ่อที่คุมสมัครพรรคพวกเป็นกองโจรกองเล็กกองน้อย เมื่อทราบข่าวว่ากองทัพไทยกยกขึ้นไปปราบปราม ก็พากันถอยร่นไปรวมอยู่ ณ ทุ่งเชียงคำ อันเป็นค่ายที่มั่นคงแข็งแรงแน่นหนากว่าค่ายอื่น ๆ โดยเหตุที่ว่าพวกฮ่อยกลงมายึดทุ่งเชียงคำเป็นที่มั่นมาหลายปีแล้วจึงได้ปลูกไผ่ไว้หนาแน่น เป็นระเนียดค่ายล้อมรอบ จนกระทั่งเป็นเสมือนกำแพงค่าย 
          กองทัพของพระยาราชวรานุกูลจึงเข้าสมทบกับกองทัพของพระยาพิชัย(มิ่ง)และพระยาสุโขทัย(ครุฑ)ล้อมค่ายพวกฮ่อไว้แน่นหนา ทางฝ่ายไทยได้เอาปืนใหญ่ตั้งระดมยิงระเนียดค่าย ก็ไม่สามารถยิงทลายกอไผ่ได้ นอกจากใช้ปืนยาวคอยยิงพวกฮ่อที่คอยแอบซุ่มอยู่ตามกอไผ่ กองทหารไทยยกเข้าประชิดคราวใดมักจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะมองไม่เห็นตัวข้าศึก และถูกพวกฮ่อลอบยิงเอาเนือง ๆ พระยาราชวรานุกูลได้ออกบัญชาการรบ ในระยะใกล้ชิดโดยมิได้หวาดเกรงภัยอันตรายใด ๆ อันจะบังเกิดขึ้น หลวงพิชัยภักดีได้รับบัญชาให้เข้าหักค่ายทางหนึ่ง ถูกกระสุนปืนยิงที่ขาขวาในการรบประจันบานครั้งนั้น ท่านแม่ทัพเองก็ได้รับบาดเจ็บเช่นกันในขณะที่บัญชาการรบ แม้กระนั้นก็ตามทั้งสองท่านก็ไม่ได้ย่อท้อ คงบัญชาการต่อสู้ให้ทหารไทยกยพลเข้าประชิดโอบล้อมค่ายฮ่อให้ใกล้เข้าไปอีก วางเสือป่าแมวมองจุกช่องล้อมวงตัดกำลังมิให้พวกฮ่อ ออกมาหาเสบียงอาหารและน้ำบริโภคได้ พวกฮ่อตั้งมั่นอยู่ในค่ายได้ไม่นานเกิดการขัดสนเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงส่งฑูตออกมาเจรจาขอยอมแพ้ ขอถือน้ำพิพัฒน์สัตยายอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมาขึ้นต่อไทยสืบไป แต่การเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกัน เพราะพระยาราชวรานุกูลตั้งข้อแม้ว่าจะต้องให้พวกฮ่อส่งศาสตรวุธที่มีอยู่มอบให้ไทยทั้งหมดเสียก่อนแล้วให้พวกฮ่อออกมาหาจะไม่ทำอันตราย พวกฮ่อไม่ไว้ใจเกรงว่าไทยจะทำอุบายจึงไม่ออกมา กองทัพไทยจึงต้องตั้งล้อมไว้เป็นแรมเดือน
          ต่อมากองทัพไทยเกิดขัดสนเสบียงอาหาร เนื่องจากทางต้นทางส่งเสบียงไม่ทันตามกำหนดและต้องประสพโรคภัยไข้เจ็บด้วย ท่านแม่ทัพเห็นว่าขืนล้อมค่ายอยู่ต่อไปก็ยิ่งเดือดร้อนเสียหายมากขึ้น จึงให้เลิกทัพกลับมายังเมืองหนองคายแล้วส่งใบอบกมายังกรุงเทพฯ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้นายพันเอกพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวังเป็นแม่ทัพยกไปช่วยพระยาราชวรานุกูลปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำ พวกฮ่อทราบข่าวว่าทางกรุงเทพฯส่งกองทัพขึ้นไปช่วยก็รีบจัดการอพยพผู้คนเผาค่ายที่ทุ่งเชียงคำทิ้งหลบหนีแตกซ่านกระเซ็นไป กองทัพไทยก็เลิกทัพกลับมาพักที่หนองคายชั่วคราวจากนั้นไม่นานก็ทรงบัญชาให้เคลื่อนพลกลับคืนกรุงเทพฯ
          หลวงพิชัยภักดีได้รับบัญชาให้คุมทหารส่วนหนึ่งยับยั้งอยู่ ณ เมืองหลวงพระบาง เพื่อป้องกันมิให้พวกฮ่อสายอื่นเข้ามาลอบปล้นสดมภ์หมู่บ้านเล็กหมู่บ้านน้อยในเขตเมือหลวงพระบาง ต่อมาอีกสามปี เมื่อเหตุการณ์ค่อยสงบลงแล้ว จึงเดินทางกลับเมืองกำแพงเพชร เมื่อเสร็จราชการรศึก หลวงพิชัยภักดีเข้าพรรพชาอุปสมบทเป็นสมณเพศตามประเพณีนิยม ในขณะที่บวชอยู่ ท่านมีชื่อเสียงในการเทศน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทศน์มหาชาติ กัณท์ที่ถนัดและเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ฟังคือกัณท์ มหาพน กุมารและมัทรี เล่ากันว่าเสียงและทำนองเสนาะดีนัก ถึงกับเทศน์หาจตุปัจจัยจนสร้างศาลาการเปรียญที่วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร นอกจากนี้ท่านยังสอนการเทศน์ให้แก่พระสงฆ์ไว้หลายรูป เช่นพระครูสวรรค์คณาจารย์ เอาวาสวัดวัดโพธารามปากน้ำโพรูปหนึ่ง เมื่อลาสิขาบทแล้วไม่นานก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระกำแหงสงคราม" รับราชการในตำแหน่งพระพลนายด่าน จังหวัดกำแพงเพชร มีหน้าที่รักษาเขตชายแดนระหว่างกำแพงเพชรติดต่อกับเขตพม่าทางด่านแม่ละเมา 
           พระกำแหงสงครามรับราชการในตำแหน่งนี้สืบมาด้วยดีจนล่วงเข้าวัยชรา เห็นว่ากำลังร่างกายลดน้อยถอยลงไม่สามารถจะรับราชการสนองพระเดชพระคุณได้เต็มสติกำลัง จึงกราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการไปประกอบอาชีพส่วนตัว และเพื่อสะดวกแก่การค้าท่านอพยพครอบครัวไปตั้งหลักฐานอยู่ทีบ้านเกาะมะตัน ตำบลปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และรับหน้าทีเป็นกรมการพิเศษของจังหวัดช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต)ในการจัดตั้งค่ายทหาร(ค่ายสุรศักดิ์มนตรี-มณฑลทหารบกที่ ๗ ปัจจุบัน มทบ.๓๒ )ของจังหวัดลำปาง
           พระกำแหงสงครามถึงแก่อนิจกรรม ด้วยโรคชราในวันศุกร์ที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ณ บ้านแลง ตำบลบ้านหมาก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ในช่วงที่หลบภัยทางอากาศอยู่ที่นั่น สิริอายุได้ ๘๘ ปี และรับพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.๒๔๙๑

คำสำคัญ : ปราบศึกฮ่อ

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php/topic,1405.0/wap2.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1332&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1332&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) เสด็จมาอำเภอเมืองกำแพงเพชร จริงหรือ

ผู้เขียนกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “เล่าเรื่องเมืองชากังราว” มาแล้วว่า เมืองชากังราวนั้นได้ตรวจสอบเอกสารจากหลายฉบับ พบว่าเป็นชื่อของเมืองซึ่งซ้ำกัน 2 เมือง คือเมืองกำแพงเพชร และเมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) และในข้อความสุดท้ายว่า พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 212-213 ได้กล่าวถึง “สมเด็จพระบรมราชาธิราช (พะงั่ว) ที่ 1” ได้ยกทัพมาปราบปรามเมือง “ชากังราว” ถึง 4 ครั้งนั้น ท่านปราบปราม “เมืองชากังราว” ไหนแน่ ผู้เขียนพยายามสืบค้นจากเอกสารหลายฉบับ พบว่ามีเอกสารที่สามารถจะวินิจฉัยได้ว่า “เมืองชากังราว” ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)  ยกทัพมาปราบปรามนั้นหมายถึง “เมืองศรีสัชนาลัย” ตามหลักฐานจากเอกสารที่สืบค้น ได้แก่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,891

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,954

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,788

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,403

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,015

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,338

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชร

ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,004

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,426

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,334

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,886