ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 2,969

[16.3951069, 98.9529353, ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้]

          ชื่อบ้านนามเมือง "กำแพงเพชร" เรื่องสำคัญที่คนกำแพงเพชรส่วนใหญ่ไม่รู้ ที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
          หากพูดถึงชื่อของเมืองกำแพงเพชร คนกำแพงเพชรและนักท่องเที่ยวทุกคน คงนึกออกแต่ชื่อ ชากังราว กันทั้งสิ้น แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎคำว่ากำแพงเพชร มีอยู่สองชื่อด้วยกัน แต่ในวันนี้จะกล่าวถึงชื่อ เมืองพชรบุรีศรีกำแพงเพชร เป็นลำดับแรก ซึ่งเป็นชื่อที่มีความไพเราะ และมีหลักฐานที่น่าสนใจ แต่ชาวกำแพงเพชร น้อยคนนักที่จะเคยได้ยิน และรู้ถึงที่มา บางท่านอาจจะตกใจด้วยซ้ำว่า กำแพงเพชรมีชื่อเช่นนี้ด้วยหรือ
           ชื่อ '' พชรบุรีศรีกำแพงเพชร '' นั้น ต้องกล่าวถึงจารึกวัดตาเถรขึงหนัง หลักที่ ๔๖ ซึ่งค้นพบที่วัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม หรือเดิมชาวบ้านเรียกว่าวัดตาเถรขึงหนัง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย 
            โดยเนื้อหาโดยสังเขปของเรื่องราวที่จารึกของวัดตาเถรขึงหนัง อักษรที่มีในจารึกเป็นอักษณะขอม ภาษาไทย,บาลี ในส่วนภาษาบาลี เป็นคำกล่าวนมัสการพระรัตนตรัย และคำไหว้อาจารย์ ส่วนจารึกภาษาไทย ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดา และสมเด็จมหาธรรมราชาธิบดี ราชโอรส ขึ้นเสวยราชย์ในนครศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตลอดถึงการอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้าง “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม” และสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา ปลูกพระศรีมหาโพธิการ
กำหนดอายุข้อความจารึก บรรทัดที่ ๑๗ ระบุ จ.ศ. ๗๖๖ ซึ่งตรงกับ พ.ศ. ๑๙๔๗
             สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดาหรือ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามหาดิลกรัตนราชนาถกรรโลง เป็นเป็นพระอัครมเหสีในพระยาลิไท ทั้งนี้ที่พระองค์ครองราชย์ร่วมกับพระราชโอรส อาจเป็นเพราะพระราชโอรสนั้นยังเยาว์พระชันษา พระองค์จึงต้องราชาภิเษกตนขึ้นดูแลบ้านเมือง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับยุวกษัตริย์ และรักษาอำนาจทางการเมืองไว้ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดามีศรัทธาในพุทธศาสนา โดยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร มาสร้างวัด “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม " (หรือ วัดตาเถรขึงหนัง) ณ เมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๔๗ พระองค์และพระราชโอรส ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาศรีกิรติ จากพชรบุรีศรีกำแพงเพชร เป็นพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้า พระสังฆ-ปรินายก เป็นพระสังฆราชเจ้า ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งพระสังฆราชพระองค์นี้อาจมีความสัมพันธ์เป็นพี่น้องหรือเครือญาติของพระองค์ และอาจเป็นเครือญาติหรือบิดาของแม่พระพิลกพระราชชนนีในพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาด้วย ดังปรากฏในจารึกวัดป่าแดง แผ่นที่ ๓ ความว่า
             “...เมื่อศักราชได้ ๗๖๘ จอนักษัตร เดือนอ้าย แรม ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ ตราพระราชโองการเสด็จมหาธรรมราชาธิราชในพระพิหารสีมากระลาอุโบสถอันมีในทะเลฉางนั้นพอประถมยามดังนี้ เราตั้งพระบรมครูติโลกดิลกติรัตนศีลคันธวันวาสีธรรมกิตติสังฆราชามหาสวามีเจ้าเป็นสังฆปรินายกสิทธิแล ภิกษุสงฆ์ผู้ใดหนอรัญวาสี แลกระทำบโชบธรรมไซร้ บางอำเพิอบรมครูเป็นเจ้าหากสำเร็จเองเท่า อำเพิอบรมครูปรญาปติอันใดไซร้ เรามิอาจจะละเมิดมิได้เลย...”
            ย้อนกลับเข้ามาวิเคราะห์ เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวข้องและมีความสำคัญกับเมืองกำแพงเพชรอย่างไร จากการที่ สมเด็จพระราชชนนีศรีธรรมราชมาดาทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้นิมนต์สมเด็จพระมหาศรีกิรติไปจากเมือง พชรบุรีศรีกำแพงเพชร ซึ่งหมายถึงเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน เพื่อไปสร้างวัด “ศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม "สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในเมืองกำแพงเพชร รวมถึงองค์ความรู้ฝีมือเชิงช่างในการสร้างวัดที่กำแพงเพชรได้ติดไปกับสมเด็จพระมหาศรีกิรติในการสร้างวัดแห่งนี้ด้วย
            ดังจะเห็นได้จากการสร้างพระเจดีย์ของวัดศรีพิจิตรกิรติกัลยาราม มีความคล้ายคลึงกับเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเจดีย์ศิลปะสกุลช่าง เมืองกำแพงเพชรนี้มีความพิเศษมหัศจรรย์อลังการ ในเรื่องการผสมผสานสถาปัตยกรรมของหลายอาณาจักร (จะเขียนเรื่องนี้ในโอกาสต่อๆไปครับ) และจารึกหลักนี้ยังได้กล่าวถึงชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงปีพุทธศักราช ๑๙๔๗ คือชื่อเมือง พชรบุรีศรีกำแพงเพชร นั่นเอง นับเป็นชื่อที่ไพเราะ ควรค่าแก่ความทรงจำชาวเมืองกำแพงเพชร

           กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด 
           จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน
           ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น 
           ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า
           วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)
           พระองค์ท่านเสด็จไปประทับในกําแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ พระอมด้วยพระราชศฤงคารบริพารพล และทหารทั้ง ๔ เหล่า โดยทางน้ํา พระยาพังเกษตรสคาบุรีพระยาพังศรีสัชชนาลัยบุรี พระยาพังไทวยนทีศรียมนา พี่พระยาทานพังนครไทย และ(ชื่ออ่านไม่ได้) ผู้เป็นพระราชมาตุละบพิตรมนตรีอนุชิตลุงตนเลี้ยงท่าน และเป็นเจ้าเมืองไตรตรึงส์ พร้อมด้วยนักปราชญ์ราชกวีมีสกุลพรรณ นั่งลงถวายอัญชุลีพระบาท (บรรทัดที่ ๕-๑๐)
           พระองค์เสด็จในพระที่นั่งตรีมุข ภายหลังเสวยสุขจากการทําพระองค์ให้บริสุทธิ์และทรงตั้งพิธีทางไสยศาสตร์แล้วไม่นาน พระองค์เสด็จออกพร้อมด้วยบุรีฝูงพาลและฝูงโลก (ข้าราชบริพารฝ้ายในทั้งอ่อนและแก่) เพื่อจะให้คนในโลกนี้ที่ยังทุกข์กังวล สัตว์ทั้งหลาย ทั้งหญิงชายและสมณพราหมณ์ (ได้ฟัง?) ได้พูดกันว่า ในอันที่พระองค์ท่านได้เสวยราชย์นั้น ทรงปรารถนาจักขัดเกลา (ทําให้บริสุทธิ์) พระราชสีมานี้ประดุจเดียวกับมนุษยธรรม (กฎหมายที่ปกครองมนุษย์)แบบอย่างพ่อขุนรามราช ที่ฝูงคนแสดงยศปรากฏสุขมาชั่วลูกหลานสูงสุดและมั่นคง เหตุฉะนั้นสมเด็จพระรามราชาธิราชจึงมีพระราชโองการอันยิ่งใหญ่ ให้ตราพระราชบัญญัติ ขึ้นบังคับใช้แก่ลูกขุนมูลตวานบริวารไพร่ฟ้าทั้งหลาย ถ้วนทุกเมืองเล็กเมืองใหญ่ทั้งหลายในพระราชอาณาจักรนี้ไซร้กลางเมืองสุโขทัยอันเป็นประธานกึ่งแห่งเมือง ทั้งหลาย เป็นต้นว่า เชลียง กําแพงเพชร ทุ่งยั้ง ปากยม สองแคว และเมืองอื่น ดังนี้ (บรรทัดที่ ๑๐-๑๗)
           ความสําคัญของเอกสาร
            ในบรรดาจารึกสุโขทัย จารึกลักษณะลักพา/โจร ถือว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษ เพราะโดยปกติแล้ว จารึกโบราณมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพระศาสนา เช่น การสร้างวัด หรือ การกัลปนา เป็นต้น จารึกลักษณะลักพา/โจร เป็นจารึกเพียงหลักเดียวของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่บันทึกตัวบทกฎหมายไว้ เนื้อความในจารึกเป็นบทกําหนดโทษผู้กระทําความผิดในลักษณะลักพาสิ่งของผู้คน หรือ โจรขโมยเข้าของต่างๆ เพราะฉะนั้น จึงมีความสําคัญยิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและประวัติศาสตร์สังคมไทยโบราณ
             ศรีบรมจักรพรรดิราช หมายถึง สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๓ พระราชสวามีสมเด็จพระอัครราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งมีพระราชประวัติกล่าวไว้ในจารึกวัดอโสการามและจารึกวัดบูรพาราม
             และนี่คือเรื่องราวของชื่อเมืองกำแพงเพชรบุรีศรีวิมลาสน์ที่ได้ยกย่อมาจากการศึกาาค้นคว้าของนักวิชาการ นักโบราณคดี และแอดมินได้นำเอาเนื้อหา จากการบรรยายประวัติศาสตร์และหลักฐานทางประวัติิศาสตร์ของ ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียรบรรยาย ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ (เสาร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔)
             ขอกุศลทั้งหลายจากการที่ได้เผยแพร่แชร์ความรู้เรื่องราวข้อมูลเหล่านี้ จงสำเร็จแก่ผู้แชร์ และขออุทิศให้เทพยาอารักษ์ เสื้อเมือง ทรงเมืองหลักเมือง ดวงพระวิญาณ ดวงวิญาณ บรรพชนทุกดวงเทอญ

เรียบเรียง #กิตติสุวัฒนามังกร #ตะวัน#จดหมายเหตุกำแพงเพชร #ชื่อเมืองกำแพงเพชร #กำแพงเพชร นายธัชชัย สีสุวรรณ

คำสำคัญ : กำแพงเพชร, ประวัติ

ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=307233253168879&id=305461816679356&__tn__=K-R

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1186&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1186&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,110

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,646

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,267

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,973

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,224

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,164

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 15,327

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,003

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 5,763

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,862