เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,096

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์]

             มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด บางคน เรียกว่า เจ้าแสน บางคนเรียกว่าเจ้าปม บางคนมาเรียกรวมกันแล้ว เรียกว่าแสนปม แต่เจ้าแสนเป็นคนขี้เกียจ ไม่อยากทำงานทำการ กินแล้วก็นอน พ่อแม่จะว่าอย่างไรก็ช่าง นอนตะพึด พ่อแม่อิดหนาระอาใจขึ้นมาขืนเลี้ยงไว้ก็จะเปลืองเปล่าจะไม่เกิดประโยชน์อะไรจะต้องคิดกำจัดเถอะ ลอยแพไปเสียให้มันพ้นไปจะไปอยู่ที่ไหน จะไปเป็นตายที่ไหนช่าง ในเมื่อเจ้าแสนจะถูกเนรเทศนั้นก็ยอม เจ้าแสนก็ไม่คัดค้านพ่อแม่ ในเมื่อไม่รักลูกจะปล่อยลูกไปตามยถากรรมก็ตามใจ ผลที่สุดพ่อแม่ก็ต่อแพให้เจ้าแสนลงแพ เตรียมจอบเตรียมเสียมเตรียมเสบียงอาหารมาให้เสร็จ ขณะที่ปล่อยลอยแพมานั้น เจ้าแสนก็อธิษฐานให้ตัวเองว่าข้าพเจ้านี้ไปติดอยู่ที่ใดก็จะขออยู่ที่นั้นลอยมา ในระหว่างสายแม่ปิง ลอยมาถึงเกาะปม แพติดอยู่ที่เกาะปม เจ้าแสนก็เลยปลูกกระท่อมห้อมรังขึ้น อยู่บนเกาะก็ไม่ท้าอะไร มีผักมีหญ้าที่พ่อแม่ให้มากินเหลือก็เหวี่ยงทิ้งไป เม็ดมันขึ้นมาก็เอาไปปลูกมีปลูกพริก ปลูกมะเขือ แต่เจ้าแสนนี้ขี้เกียจน้ำท่าไม่รดหรอก ตื่นเช้ามาปวดท้องเยี่ยวลงจากกระท่อมไปเยี่ยวรดกกมะเขือ ไม่ใช้น้ำรดกะเขาหรอก เยี่ยวรดยังงั้นแหละ จนกระทั่งมะเขืองอกงามและมีลูกดก ก็มีลูกสาวเจ้าเมืองกำแพงเพชรเสด็จประพาสป่า จะเป็นด้วยเหตุอันใดดลใจก็ไม่รู้แน่ ก็ชักชวนพ่อให้มาเที่ยวป่า พ่อก็ตามใจลูกให้มาเที่ยวและมาเที่ยวถึงกระท่อมเจ้าแสนปม มาเห็นมะเขือเจ้าแสน มีลูกเข้าก็นึกอยากกินมะเขือ ก็ให้คนมาขอครั้งแรกเจ้าแสนก็ไม่ยอมให้เหมือนกัน ตานี้เห็นเป็นผู้หญิงอยากกินก็เลยอนุญาตให้ไป ครั้นเมื่อกลับไปแล้วมีอาการแพ้ท้อง ตั้งครรภ์ ในเมื่อตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว เกิดมีลูกชายขึ้นมาพ่อแม่ก็สงสัย ผัวเจ้าไปไหน ใครเป็นผัวเจ้า นางลูกสาวนั้นก็ตอบไม่ถูกเพราะว่าไม่เคยไปสมสู่กับชายใดมาก่อน ก็ได้เพียงแต่ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้กินมะเขือเข้าไป ก็เกิดมีอาการแพ้ท้องและก็มีลูกขึ้นมา เจ้าเมืองก็จะขับไ ลไสส่งลูกก็ยัง ขับไล่ไสส่งไปไม่ได้ ก็ตั้งปณิธานว่าต้องหาผัว และว่าใครจะเป็นพ่อของเด็กก็เที่ยวให้ประชากรไปปิดประกาศกล่าวร้องพวกลูกเจ้าเมืองทั้งหลาย ว่าใครเป็นพ่อของเด็กก็ขอให้มา และอธิษฐานไว้ถ้าใครเป็นพ่อของเด็กแล้ว ให้เด็กคนนั้นคลานเข้าไปหา ผลที่สุดลูกขุนนางทั้งหลายก็มาซื้อเสื้อซื้อผ้ามาจะล่อใจเด็ก เมื่อมาแล้วเด็กมาเห็นเข้าก็ไม่พอใจใครทั้งนั้น เด็กไม่ออกไปหาใคร ผลสุดท้ายพวกนี้ก็ ไปหมดหาพวกประชาราษฎร์ พวกประชาราษฎร์ธรรมดา พวกราษฎรธรรมดาไป ไปแล้วก็ซื้อขนมนมเนย  ซื้อไปให้เด็ก เด็กก็ไม่ออกไม่ออกมาหาใครทั้งนั้น เหลืออยู่พวกหูหนวกตาบอดขาด้วนไปอีก ก็ไม่สำเร็จ  ไม่มีความสำเร็จสักคนเดียวก็เหลืออยู่เจ้าแสน พวกข้าราชการก็ไปบอกกล่าว เหลือคนอีกคนหนึ่ง  รูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียด ตัวเป็นปุ่มเป็นปม เจ้าเมืองก็ให้มาเชิญตานี้เจ้าแสนเมื่อถูกเชิญเข้ามา ก็ไม่มีอะไรจะไปฝากเสื้อผ้าก็ไม่มีขนม นมเนยก็ไม่มี มีข้าวเย็นก้นหม้ออยู่ก้อน ก็ตั้งใจอธิษฐานกับข้าวเย็น  ถ้าหากว่าเป็นบุญญาธิการของข้าพระพุทธเจ้าเมื่อชาติปางก่อน เคยเป็นผัวเมียกันและเคยเป็นพ่อเป็นลูกกัน ขอให้กุมารนั้นเห็นห่อชายผ้าขาวม้าไป เมื่อไปถึงที่ตำหนักของพระเจ้าแผ่นดิน และก็แก้ห่อข้าวเย็นออกมาวาง พอเด็กเห็นข้าวเย็นนั้นเด็กมันก็คลานเข้าไป คลานเข้าไปหาและก็เก็บเอาข้าวเย็นนั้น  ในเมื่อกินข้าวเย็นแล้ว เจ้าเมืองก็เห็นว่า“นี่เขาเป็นเนื้อคู่สู่สมกันแต่ชาติปางก่อนถึงแม้ว่ารูปร่างจะชั่วช้าอัปลักษณ์ในเมื่อเราตรัสออกไปแล้วว่าจะต้องยกให้เขาเราก็ต้องยกให้เขาจะไม่ให้เขาก็ไม่ได้  เพราะว่าเด็กก็ได้เข้าไปหาเขาแล้ว แสดงว่าเขาต้องเป็นพ่อของเด็ก” เมื่อยกให้กันแล้วก็ให้กลับมาอยู่ยังที่เดิม
            ในเมื่อกลับมาอยู่ยังที่เดิม ตานี้เจ้าแสนนั้นมีทั้งลูกทั้งเมียแล้ว จะขี้เกียจอยู่ก็ไม่ได้ ต้องขยันทำงาน งานนั้นก็ไม่มีอะไรหาปลา คือว่าไปตัดไม้มาสานเป็นลอบเป็นไซดักปลา ไปดักปลาที่คลองขมิ้น  มีชื่อคลองขมิ้นก็ยังมีเวลาไปกู้ปลาก็ไม่มีปลาติด มีแต่ขมิ้น ขมิ้นนั้นก็เป็นขมิ้นชันที่เขาใช้ตำทาเด็กสมัยก่อน กู้มาทีไรก็มีแต่ขมิ้นก็เทกอง ทีนี้เมียก็ถามว่า แกไปดักปลา ทำไมไม่ได้ปลาเล่า ตาแสนก็บอกปลาไม่มีเลย มีแต่ขมิ้น ขมิ้นทำไมไม่เอามาเททิ้งหมด ทีนี้เอามาให้ดูซิ ขมิ้นนั้นเป็นยังไง รุ่งเช้าก็ไปกู้ ลอบกู้ไซก็ติดขมิ้นอีก ติดขมิ้นก็เทใส่หม้อสะพายมาถึงบ้าน พอถึงบ้านเทขมิ้นออก ขมิ้นนั้นก็กลายเป็นทองคำไม่ได้เป็นขมิ้นอย่างเดิม ทีนี้ก็คิดกันว่าจะเอาไปทำอะไร อย่ากระนั้นเลยเราเอามาแผ่ทำเปลทำอู่สำหรับให้ลูกนอน ในเมื่อเอาทองคำมาทำเปลให้ลูกนอนก็เรียกว่า อู่ สมัยก่อนเขาเรียกว่า อู่ ก็เลยให้ลูกชาย ชื่อว่าอู่ทอง เปลทอง….อู่ทอง
            ต่อมาคิดอยากจะให้มันกว้างขวาง อยากจะทำไร่ทำนา ผลหมากรากไม้ ที่มันเป็นป่าเป็นดง ก็จะฟันให้มันเตียน เพื่อจะได้ทำไร่ เช้าขึ้นก็ไปฟันไร่ เมื่อเย็นลงก็กลับมา เช้าขึ้นก็ไปฟันต่อ ต้นไม้ก็ลุกขึ้น โงขึ้นเหมือนเดิม ไม่มีต้นไม้ต้นไหนล้มตายเลย ก็กลับมาบอกเมีย ว่ามันเป็นเพราะเหตุไร ต้นไม้ผัวฟันขาดโคนไปแล้ว มันทำไมถึงกลับขึ้นมาได้ เมียก็ไม่เชื่อหาว่าผัวยังมีสันดานขี้เกียจอยู่ เข้าใจว่าผัวไปหลับไปนอน ไม่ไปทำงานจริง ตาแสนนี้ก็ยืนยันว่าเป็นความจริง ไปตัดโค่นจริง ๆ แล้วก็ไปฟันอีก เช้าขึ้นก็ไปฟันครั้นเย็นลงก็กลับบ้าน เช้าขึ้นไปดูต้นไม้ลุกหมด ทีนี้ก็สงสัยนี่มันเป็นเพราะเหตุไร นี่มันจะเดือดร้อนถึงเทวดาถึงพระอินทร์คงจะเพ่งเล็งแล้ว แสนนี่นะคงจะไม่ใช่คนต่ำช้าจะต้องมีบญญาธิการก็จึงใช้วิษณุกรรมแปลงร่างมาเป็นลิงและให้ฆ้อง ฆ้องกายสิทธิ์ลูกหนึ่ง ถ้าตีขึ้นเมื่อไรต้นไม้นั้นจะลุกขึ้น ต้นไม้ที่ท้าวแสนปมฟันไว้นี่นะ ต้นไม้นั้นจะลุกขึ้นหมด ท้าวแสนแปลกใจ ฟันทีไรต้นไม้ลุกขึ้นหมดทุกต้น ไม่มีต้นไหนตายเลย อย่ากระนั้นเลยแอบดูเหอะ แอบดูซิว่ามันจะเป็นเพราะเหตุใด ก็ไปเที่ยวหาดูว่าตรงไหนมันจะเหมาะสมที่เราจะแอบดู บังเอิญมีต่อไม้อยู่ตอหนึ่ง ข้างล่างมันเป็นโพรง ก็เข้าไปอยู่ในโพรง ในเมื่อเข้าไปอยู่ในโพรงไม้ก็รอเวลา มันจะมีอะไรเกิดขึ้น ที่จะท้าให้ต้นไม้ลุกยืนขึ้นได้ ก็บังเอิญมีลิง ลิงตัวนั้นก็ลงมา ลิงตัวนั้นสีเขียว เมื่อลงมาแล้วก็ไม่ไปนั่งที่ไหนเสียด้วย ไปนั่งบนโพรงไม้ เอาหางหย่อนลงไปข้างล่าง เอาหางหย่อนลงไปในโพรง ตาแสนเห็นลิงตัวนี้เองมันมีฆ้องดูซิมันจะทำอย่างไร พอได้เวลา เจ้าลิงก็ตีฆ้อง พอตีฆ้อง ..ม้ง…ต้นไม้ก็ลุก … ม้ง….ต้นไม้ก็ลุก….ๆ…ๆ…. เจ้าแสนก็อ้อ…เป็นเพราะลิงตัวนี้เอง มันมีของวิเศษ เลยคว้าหางลิงพันแขวนไว้เลย เจ้าลิงก็ฉุด เจ้านี้ก็ฉุดต่างคนต่างแย่ง ลิงกับเจ้านี่ไม่ยอมปล่อย ในที่สุดลิงยอมให้เจ้าแสนจับได้ เมื่อจับได้แล้วก็ถามว่า ฆ้องอันนี้เอามาจากไหน ได้มาอย่างไร ประสิทธิภาพยังไง ลิงนั้นก็เล่าให้ฟังว่า ฆ้องอันนี้พระอินทร์ท่านให้มา ในเมื่อ ต้องการปรารถนาสิ่งใด ก็ปรารถนาได้ 3 ครั้ง กลับมาก็ลองปรารถนาว่า ขอให้ปมที่เป็นในตามตัวข้าพเจ้า ขอให้มันหลุดหายไปทั้งหมด พออธิษฐานเสร็จก็ตีฆ้อง พอตีฆ้องแล้ว ปมก็หลุดหายหมด หลุดหายไปหมด แล้วก็กลับบ้าน กลับมาถึงเมีย เมียสงสัยเลยจำไม่ได้ว่าใคร เพราะว่าสวย รูปร่างก็สะสวย ก็คิดว่า เอ๊ะ ….ชายไหนจะมาเกี้ยวพาราสีเรา ผัวเราไม่อยู่หรือยังไง ชักแปลกใจ เจ้าแสนก็เล่าให้ฟังอธิบายให้ฟัง เมียก็ไม่เชื่อ ยังไม่เห็นแก่ตา ก็ยังไม่เชื่อ เจ้าแสนต้องท้าให้ดู ตีฆ้องขึ้นมาอีกอธิษฐานให้มีปมขึ้นมาอีก เพื่อเมียจะได้เห็น ในเมื่ออธิษฐานให้เป็นปมแล้ว ก็ตีฆ้องเมื่อตีฆ้องแล้วก็เป็นปุ่มเป็นปมขึ้นมาอย่างเดิม เมื่อเป็นปุ่มเป็นปมขึ้นมาอย่างเดิม เมียเชื่อแล้วก็ เห็นว่าเป็นความจริงให้อธิษฐานให้ปมหาย ก็ตีฆ้องปมก็หาย อธิษฐานเอาบ้านเอาเมือง เอาช้าง เอาม้า เอาวัว เอาควาย เอาบริวาร ก็อธิษฐานขึ้น อธิษฐานแล้วตีฆ้องขึ้นมา มีปราสาทราชวัง มีช้าง มีม้า มีวัว มีควาย มีข้า บริวาร ถึงเวลาเอาช้างไปลงน้ำ น้ำจะอูดไปเพราะขี้ช้าง น้ำจะอูดขึ้นไปทดถึงเมืองพ่อตา พ่อตาสงสัย น้ำนี่มันมายังไงถึงได้มาท่วม ก็ให้ทหารมาดูผลที่สุดทหารก็กลับไปเล่าให้ฟังว่าแสนเขาสร้างเมืองแล้ว เข้าสร้างเมือง เขาแล้วมีช้าง ม้า วัว ควาย การที่น้ำอูดมานี้เพราะขี้ช้าง ที่เอาช้างไปลงน้ำ ที่นี่เจ้าเมืองก็มาเยี่ยมลูกชาย ลูกเขย ลูกเขยก็ให้สร้างสะพานทองอยู่เหนือขึ้นไป เมื่อเห็นแล้วก็ตั้งใจให้เป็นเจ้าเมือง สรุปแล้วก็เรียกว่า “ท้าวแสนปม ” มาจนทุกวันนี้     
          ตามเนื้อหาที่กล่าวมาเป็นนิทานของชาวบ้านในเขตตำบลไตรตรึงษ์ซึ่งเล่าสืบต่อกันมา เนื้อหาต้องการอธิบายถึงการกำเนิดของเมืองท้าวแสนปม (เมืองไตรตรึงษ์) ซึ่งท้าวแสนปมหรือตาแสนปมนั้นได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาเป็นอย่างยิ่งในท้องถิ่นตำบลไตรตรึงษ์และชุมชนใกล้เคียง จึงได้มีการสร้างศาลไว้ที่ริมแม่น้ำปิง ใกล้กับวัดวังพระธาตุ เพื่อให้ชาวบ้านที่ศรัทธามากราบไหว้บูชา
          จากหลักฐานและร่องรอยตามตำนาน พงศาวดาร นิยายปรัมปราของเมืองไตรตรึงษ์ ล้วนเป็นร่องรอยที่ ยืนยันได้ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและเป็นเมืองความสำคัญมีอายุไม่ต่ำกว่าสมัยทวาราวดีมาจนถึงกรุงสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้นในพงศาวดาร เมืองไตรตรึงษ์ได้ถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญตามประวัติศาสตร์ของไทยเมือง หนึ่ง ดังพงศาวดารโยนกที่กล่าว่า ในสมัยของพระเจ้าชัยศิริเสชียงแสนซึ่งหนีข้าศึกลงมาทางใต้ตามแม่น้ำปิง และไปพักพลอยู่ที่เมืองร้างฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร มีชีปะขาวมาชี้ให้ตั้งเมืองใหม่ที่มีชัยภูมิดี พระเจ้าชัยศิริจง ให้ไพร่พลตั้งหลักสร้างเมืองชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์  มีตำนานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับราชธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ได้ประสูติกุมารออกมาโดยไม่รู้ ว่าผู้ใดเป็นบิดา เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงต้องท้าการเสี่ยงทายได้ความว่าเป็นบุตรของคนทุตตะชื่อ นายแสนปม มีปุ่มเต็มตัว เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงขับไล่ให้ออกจากเมืองไป นายแสนปมซึ่งความจริงเป็นคนมีบุญญาธิการได้รับความช่วยเหลือจากพระอินทร์ จึงไปสร้างเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองเทพนคร ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองและได้น้าทองค้ามา เป็นอู่ให้กุมารน้อยผู้เป็นบุตรนอน กุมารน้อยจึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าอู่ทอง” เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองที่มีขึ้นมาก่อนและอยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองสุโขทัย และยังคงมีความเป็นเมืองสืบต่อกันมาอย่างยาวนานกว่าเมืองนครชุม ดังหลักฐานที่ปรากฏรายชื่อของเจ้าเมืองในจารึกหลักที่ 38 (จารึกกฎหมายลักษณะโจร) ว่าบรรดาเจ้าเมืองที่ไปเข้าเฝ้าเจ้าพระมหากษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยาขณะที่มา ประทับ ณ เมืองกำแพงเพชรในครั้งที่จะสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรนั้น มีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏอยู่ด้วยต่างกับเมืองนครชุมที่กลายเป็นเมืองร้างและชื่อนั้นได้หายไปจากจารึกเสียแล้ว ความเจริญรุ่งเรื่องแห่งอดีตของเมืองไตรตรึงษ์กำลังเลือนหายไปจากความทรงจ้าของผู้คนในยุคปัจจุบัน จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่คนรุ่นปัจจุบันต้องแสวงหาความยิ่งใหญ่แห่งอดีตของเมืองไตรตรึงษ์ให้กลับคืน มา เพื่อพลิกฟื้นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวกำแพงเพชรและตำบลไตรตรึงษ์ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ให้รับรู้ร่วมกันว่า ณ ที่แห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นนครโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์เกินกว่าจะปล่อยให้สูญหายไป เหมือนอย่างเมืองบางพาน คณฑีและเทพนคร ที่ไม่เหลือแม้ เพียงเศษอิฐสักก้อน และหากเป็นเช่นนั้นเราจะเหลือความภาคภูมิใจอันใดไว้ให้ลูกหลานกันเล่า

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์, นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1320

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1320&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

เมืองไตรตรึงษ์ตามประวัติแม่น้ำเจ้าพระยา

มีตำนานของแม่น้ำเจ้าพระยาที่เกี่ยวข้องอยู่กับเมืองไตรตรึงษ์อยู่ด้วย โดยได้เค้าเรื่องมาจากสมุดข่อย วัดเขื่อนแดง ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในปัจจุบันสมุดข่อยดังกล่าวนี้ได้สูญหายและไม่ทราบว่าผู้ใดเอาไป แต่นายอ้อม ศรีรอด แห่งโรงเรียนศรีสัคควิทยา ตลาดสะพานดำ ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ได้เรียบเรียงเอาไว้ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อประมาณ ปีพุทธศักราช 1893 พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1" ในขณะที่พระองค์ทรงได้ขึ้นครองราชย์นั้นได้ให้พระราเมศวรราชบุตรไปปกครองเมืองลพบุรี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 4,462

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,610

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,442

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,523

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,288

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,873

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 784

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 4 (เมืองหน้าด่าน “เนินทอง” อยู่ที่หนองปลิง)

บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 947

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 16,175

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,555