เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,396

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์]

           บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง ร่องรอยแห่งอดีตความเป็นบ้านเป็นเมืองของเมืองไตรตรึงษ์มีปรากฏเป็นหลักฐานทั้งซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน และเอกสารต่าง ๆ อยู่หลายแห่ง แม้จะมีความสับสนในข้อมูลที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่า เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวาราวดีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในช่วงรัชกาลที่ 3 ก่อนจะถูกทิ้งร้างให้กลายสภาพเป็นเมืองที่เหลือแต่ซากโบราณสถานมาจนทุกวันนี้
           ที่ตั้งและลักษณะของเมืองไตรตรึงษ์ เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าและร้าง ตั้งอยู่ที่บ้านวัง พระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ห่างจากตัว เมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 16 กิโลเมตร ตัวเมืองอยู่ทางฝั่ง ขวาของแม่น้ำปิง เป็นเมืองขนาดเล็กมีคูน้ำคันดินล้อมรอบสามชั้น ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 840 เมตร แม้จะมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน แต่ไม่ได้ใช้ล้าน้ำเป็นคูเมือง เพราะพบร่องรอยคูเมืองเดิม ขนานกับแนวแม่น้ำปิง ปัจจุบันแนวกำแพงเมืองด้านเหนือที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงบางส่วนได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังทลายและถูกชาวบ้านเข้ามาไถปรับท้าไร่สวนจนเสียหายไปหลายส่วนบริเวณกลางเมืองมีโบราณสถานขนาดใหญ่สองแห่ง แห่งแรกเรียกว่า เจดีย์เจ็ดยอดเป็นกลุ่ม เจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานมีเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อ ไม้ยี่สิบ ส่วนยอดหักพังลงมาหมดฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออกท้าเป็นซุ้มพระยื่นออกมาเป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัย สุโขทัยรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐอยู่หลายองค์ โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์เจ็ดยอดห่างออกไปประมาณ 200 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐมีฐานวิหารและฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐเช่นกัน ศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบสุโขทัย มีข้อน่าสังเกตซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เคยศึกษาเอาไว้ว่า เจดีย์ประธานของกลุ่มเจดีย์เจ็ดยอด มีรูปทรงแบบศิลปะเชียงแสน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านตะวันออกซุ้มเดียว ลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์ วัดพระยืนจังหวัดล้าพูน อันอาจท้าให้เชื่อตามต้านานต้นพงศาวดารได้ว่า พระเจ้าไชยศิริมาสร้างเมืองไตรตรึงษ์ เพราะเจดีย์องค์นี้ล้วนเป็นฝีมือช่างในกลุ่มสกุลหริภุณชัย-เชียงแสน ซึ่งเก่ากว่าสกุลช่างสุโขทัยและที่บริเวณเมือง เก่าในจังหวัดกำแพงเพชรเท่าที่มีการสำรวจพบยังไม่เคยปรากฏร่องรอยของศิลปะที่เก่าก่อนสมัยสุโขทัยเหมือยอ ย่างที่เมืองไตรตรึงษ์นี้เลย ตามผิวดินภายในเขตเมือง พบเศษภาชนะดินเผา ทั้งประเภทเครื่องเคลือบแบบสุโขทัยที่เรียกว่า เครื่องถ้วยสังคโลก เศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องดินและชนิดเผาแกร่งไม่เคลือบ จากการขุดค้นพบว่า ถัดจากชั้นดินที่พบเศษภาชนะดินเผาแบบสุโขทัย พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เช่น เศษภาชนะ ดินเผา ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนตะเกียงดินเผา
            สำหรับชิ้นส่วนตะเกียงดินเผานั้นเป็นแบบที่พบทั่วไปตามแหล่ง ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในเขตภาคกลางแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ก่อนจะเป็นบ้าน เป็นเมืองในสมัยสุโขทัยได้ มีผู้คนเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยทวารวดี แต่อาจจะไม่เป็นเมืองหรือชุมชนใหญ่ เป็นเพียงชุมชนที่อยู่บน เส้นทางคมนาคมริมฝั่งแม่น้ำปิงที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเขตแนวคูเมืองของเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามล้าน้ำปิงมีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่ง หนึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดวังพระธาตุ เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แบบศิลปะสุโขทัยสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ยังเห็นรูปทรงทางสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ได้ครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่นับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์แบบเดียวกันทั้งในเขตเมืองกำแพงเพชรและเมืองสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองไตรตรึงษ์ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน มีเฉพาะบริเวณริมน้ำใกล้กับวัดพระ ธาตุเท่านั้นชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ดงแสนปม
           ในอดีตเคยพบว่าบริเวณที่มีคูน้ำและคันดินรูปสี่เหลี่ยม อยู่ที่บ้านปากอ่างตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองไตรตรึงษ์ มีแนวคันดินตัดออกจากแนวกำแพงเมืองไตรตรึงษ์ออกไป ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปถึงบริเวณที่มีคูนำคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร เนินดินขนาดเล็กที่ปรากฏน่าจะเป็นป้อมมากกว่าที่อยู่อาศัย อาจจะเป็นป้อมหน้าด่านของเมืองไตรตรึงษ์ ไม่ปรากฏซากศาสนสถาน บนผิวดินพบเศษภาชนะดินเผา เคลือบแบบสุโขทัยและชนิดเผาแกร่งไม่มีเคลือบ เช่นเดียวกับที่พบบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคู่ขนานกับเมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง กำแพงเพชร อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับบริเวณเมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ และคันดิน ล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคันดินและคูน้ำถูกทำลายไปมากที่เหลือพอให้เห็นอยู่บ้างเฉพาะด้านทิศตะวันออกเท่านั้น ภายในเขตเมืองพบร่องรอย  ศาสนสถานสองแห่ง ลักษณะอิฐมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่พบทางฝั่งเมืองไตรตรึงษ์ ส่วนโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง พังลงแม่น้ำไปหมดแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง กับเมืองเทพนครที่ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง มีลักษณะคล้ายกับเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์มีลักษณะเป็นเมืองเก่า มีกำแพงคันดิน ล้อมรอบสามชั้นแบบเดียวกับเมืองสุโขทัย เมืองนครชุมและเมืองบางพาน อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อเมืองไตรตรึงษ์หมด ความสำคัญแล้ว จึงได้มีการย้ายชุมชนไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำปิงคือ เมืองเทพนคร ซึ่งมีคูน้ำคันดินเพียงชั้นเดียว จนเป็นแบบแผนของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะหลัง

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เรืองศักดิ์ แสงทอง. (ม.ป.ป.). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1316&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1316&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 3,009

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,552

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,263

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,648

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,596

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,877

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,867

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,579

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,265

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,059