กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,773

[16.3937891, 98.9529695, กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์]

           การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก 
           การสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมายตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีรกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก) จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพล ลงไปสร้างเมืองละโว้ได้ 19 ปี เมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ 1011 พรรษา จุลศักราชได้ 10 ปีระกาสัมฤทธิศก แล้วพระยากาฬวรรณดิศราช ให้พระยาทั้งหลายไปตั้งเมืองอยู่ทุกแห่ง แลขุนนางขึ้นไปถึงเมืองทวารบุรี เมืองสันตนาหะ แลเมืองอเส เมืองโกสัมพี แล้วมานมัสการที่พระพุทธเจ้าตั้งบาตรตำบลบ้านแม่ซ้องแม้ว จากพงศาวดารเหนือ และประวัติเมืองตาก ทำให้เราสามารถประมวลได้ว่าเมืองโกสัมพีนคร น่าจะสร้างราว พ.ศ. 1011 โดยพระยากาฬวรรณดิศ เจ้าเมืองตาก ได้สร้างเมืองต่างๆ ขึ้นสี่เมือง มีนครโกสัมพีด้วย หลังจากนั้นได้ทิ้งเมืองตากให้ร้าง และเสด็จไปสร้างเมืองละโว้ และครองละโว้ พระราชธิดาคือนางจามเทวี ได้เสด็จตามลำน้ำปิง ทำสงครามกับเจ้าชายแห่งโกสัมพี เป็นศึกแห่งความรัก และเจ้าชายโกสัมพี สิ้นพระชนม์ที่วังเจ้า พระนางได้บูรณะ เมืองตากขึ้นใหม่เมื่อเสร็จแล้วจึงเสด็จไปครองเมืองหริกุญชัย (ลำพูน)  
          เมืองโกสัมพี สันนิษฐานว่าเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์ เราได้สำรวจพบ ขวานหินในยุคหิน กลางเมืองโกสัมพี จำนวนมาก และอาจเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นเมืองโกสัมพี ในยุคทวาราวดี และ กลายเป็นเมืองร้าง ในราวพุทธศกัราช 1800 และร้างมานาน กว่า 700 ปี เมื่อไปสำรวจ จึงไม่พบ สิ่งก่อสร้างใดๆ เลย นอกจากกองอิฐกองแลง แร่ตระกรัน จำนวนมากเท่านั้น สิ่งที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งในนครโกสัมพี คือศาลท้าวเวสสุวรรณ อาจจะเป็นหลักเมืองของเมืองโกสัมพี ในสมัยโบราณ ปัจจุบันยังมีผู้คนกราบไหว้มิได้ขาด เมืองเป็นรูปวงรีคล้ายกับเมืองไตรตรึงษ์ มีคันดินและคูเมือง โดยรอบ ยังมีหลักฐานให้เห็นรอบเมือง ลักษณะเมืองตั้งอยู่บนเนินเขา ริมน้ำปิงมีคลองเมือง เป็นคูเมืองด้านเหนือ นับว่านครโกสัมพี มีชัยภูมิที่เหมาะในการรักษา                     
          ปัจจุบันสภาพเมืองโกสัมพี จึงรกร้างขาดผู้ดูแล ครั้งในอดีตเคยเป็นป่าช้า ประจำตำบล โกสัมพี มีเรื่องเล่าที่พิสดารมากมาย จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสในหมู่บ้าน เช่นเล่าว่าเป็นเมืองลับแล เมืองอาถรรพณ์ ทำให้น่าสนใจยิ่งนัก นครโกสัมพีเป็นเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่สมควรได้รับการขุดแต่ง และหาหลักฐานให้กระจ่าง ผู้คนอายุต่ำกว่าหกสิบปี ในบริเวณเมืองเก่าโกสัมพีนี้ ต่างไม่ทราบประวัตินครโกสัมพีแล้ว นับว่าเป็นเรื่องเศร้านัก ฝากกรมศิลปากร ได้มาศึกษานครโกสัมพีอีกครั้ง ก่อนที่หลักฐานทั้งหมดจะหายไป
          เมืองรอ หลักฐานตามพงศาวดารเหนือมีในความว่า พระมหาพุทธสาครเป็นเชื้อสายมา ได้เสวยราชสมบัติอยู่ริม เกาะหนองโสน ที่วัดเดิมกันมีพระมหาเถร ไสยลายองค์หนึ่งเป็นเชื้อมาแต่พระรามเทพได้พระบรมธาตุ 650 พระองค์ กับพระศรีมหาโพธิสองต้น จากเมืองลังกาได้พาพระมหาสาครไปเมืองสาวัตถี ถ่ายเอาอย่างวัดเชตวนาราม มาสร้างไว้ต่อเมืองรอ แขวงบางทานนอก เมืองกำแพงเพชร ชื่อวัดสังฆคณาวาศ แล้วเอาพระศรีมหาโพธิใส่อ่างทองคำมาปลูกไว้ริมหนองนา กะเล นอกวัดเสมาปากน้ำแล้วเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ด้วย 36 พระองค์ จึงให้ชื่อว่าวัดพระศรีมหาโพธิ  แสดงว่า เรื่องเมืองรอ มีเค้าความจริงอยู่ เราจึงลงมือสำรวจเมืองรอ โดยมีแผนที่วังลอ ของเทศบาลตำบลพรานกระต่ายเป็นแผนที่นำทางมีอาจารย์นิรันดร์ กระต่ายทองและคณะ ประกอบด้วย นายเสน่ห์ หมีพรพฤกษ์ ผู้ใหญ่บ้าน นายสมบูรณ์ ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้านวังลอ นายปั่ง ไพโรจน์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน นายสว่าง สร้อยพะยอม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางปิ่น กระต่ายทอง ผู้อาศัยวังลอมาช้า โดยนัดกันที่บ้านอาจารย์ นิรันดร์ กระต่ายทอง วันที่ 2 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00 น. หลังจากประชุมหาข้อมูลกันประมาณหนึ่งชั่วโมง แล้วจึงลงมือสำรวจ โดยการนไของผู้นำทางข้างต้นและมีผู้ติดตามไปอีกเกือบ 20 คน สำหรับสายน้ำวังรอ ซึ่งมีความน่าจะเป็นคูเมืองรอในอดีต ปัจจุบันได้ถมทำถนนไปกว่าร้อยละ 80 เปิดเป็นแนวคูเมืองให้เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ ภายในเขตเมืองรอที่คณะของเราค้นหาเต็มไปด้วยเตาถลุงเหล็ก อย่างมากมาย อาจเป็นเพราะว่าเมืองรอนี้น่าจะสร้างราวปีพุทธศักราช 1600 มีพระมหากษัตริย์ ที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือ คือ พระมหาพุทธสาคร ที่นำพระบรมธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานในเมืองรอ ตามข้อความจากพงศาวดารเหนือ พระราชพงศาวดารเหนือได้เรียงลำดับกษัตริย์ในสมัยอโยธยา เริ่มตั้งแต่จุลศกัราช 501 ตรงกับพ.ศ. 1682 มีรายพระนามดังต่อไปนี้ 
          1. พระเจ้าปทุมสุริยวงศ ์ปฐมกษัตริย์
          2. พระเจ้าอินทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์
          3. พระเจ้าจันทราชา โอรสพระเจ้าปทุมสุริยงศ์
          4. พระร่วง โอรสพระจันทราชา    
          5. พระเจ้าลือ อนุชาพระเจ้าร่วง
          6. พระมหาพุทธสาคร เชื้อกษัตริย์มาจากที่อื่น 
          7. พระยาโคตรบอง โอรสพระมหาพุทธสาคร 
          8. พระยาแกรก พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่ 
          9. พระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระองค์ตั้งราชวงศ์ใหม่
         10. พระยาธรรมิกราช โอรสพระเจ้าสายน้ำผึ้ง   
          เราไปพบวัดที่อาจเชื่อได้ว่า คือ วัดสังฆคณาวาศ ในเมืองรอปัจจุบันมีชื่อว่า วัดโพธาราม เป็นวัดร้างมีหลักฐานอยู่ไม่กี่แห่ง ที่สำคัญที่วัดโพธาราม มีต้นโพธ์ขนาดใหญ่ อาจจะเป็นต้นโพธ์ที่พระมหาพุทธสาคร เจ้าแห่งเมืองบางพาน นำมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองรอ แห่งนี้อาจจะเป็นไปได้ จากคำบอกเล่าของภูมิปัญญาที่น คณะของเรามาชมเมืองรอแห่งนี้ 
          เมื่อถามว่า วังลอแห่งนี้ ใช่เมืองรอ ในอดีตหรือไม่ คำตอบคือมีโอกาสเป็นไปได้สูง แต่ต้อง ค้นคว้าหาความจริงกันต่อไป เมื่อมีหลักฐานแน่นอน เราจึงฟันธง ได้ว่าวังลอในปัจจุบัน คือ เมืองรอในอดีต ขอบคุณประชาชนชาววังลอ ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการสำรวจครั้งนี้อย่างดียิ่ง เราเริ่มเห็นความเป็นไปได้ของเมืองรอ ว่าคือ วังลอ ในปัจจุบันที่เทศบาลตำบลพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อาจเป็นการเริ่มต้นสำรวจอย่างจริงจังต่อไป

คำสำคัญ : กำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กำแพงเพชร : เมืองก่อนประวัติศาสตร์. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1289

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1289&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 15,943

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,490

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,538

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,234

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง

ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,535

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,644

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 6,438

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,188

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 3 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้านของอำเภอต่างๆ 117 รุ่น ณ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงเยี่ยมราษฏรที่มาเข้าเฝ้ารับเสด็จฯ อยู่ในบริเวณนั้น ในครั้งนั้นได้มีราษฏรกิโล 2 บ้านกิโล 3 บ้านกิโล 6 และชาวบ้านใกล้เคียงในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชรได้กราบบังคมทูลของพระราชทานให้ทรงช่วยเหลือจัดหาน้ำให้ราษฏรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก และอุปโภคและบริโภคได้ตลอดทั้งปี เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบถึงทุกข์ของชาวบ้านกำแพงเพชร จึงได้ทรงให้กรมชลประทานดำเนิน “โครงการพระราชดำริคลองท่อทองแดง”

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,675

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,412