ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,367

[16.3630433, 99.6451875, ประวัติบ้านโคน]

ประวัติความเป็นมาของบ้านโคน 
          ประวัติบ้านโคน การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งช่วงประวัติของหมู่บ้านออกเป็น 3 ช่วง ตามประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของชุมชน วัฒนธรรมพื้นบ้านสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 
          ยุคแรกเริ่ม 
          ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ 
          บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 
          สัญนิฐานว่าเป็นเมืองคณฑี แรกเริ่มมีครอบครัวประมาณ 5 – 10 ครัวเรือน และห่างออกไปบริเวณวัดกาทึ้ง มีประชากรตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ มีวัดกาทึ้งเป็นศูนย์กลาง ต่อมาพม่าเข้ามาทำศึกกับทางกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าได้ทำลายวัตถุโบราณและบ้านเรือน ทำให้ชาวบ้านแถบนั้นหนีเข้าป่าหรือไม่ก็อพยพไปอยู่ที่อื่น เมื่อสงครามสงบศึก ผู้คนที่หลงเหลืออยู่ได้มาจองที่ดินและขนวัตถุโบราณมาไว้ที่วัดปราสาทและมาตั้งบ้านเรือนแถบลุ่มแม่น้ำปิง มาปฏิสังขรณ์วัดปราสาทแทนในช่วงนั้นมีวัดที่สำคัญในบริเวณบ้านโคนอยู่ 4 วัด ดังนี้   
           1. วัดช้างแก้ว เป็นวัดแรกที่มีในบริเวณนี้แต่ถูกพม่าเผาทำลายเพียงแต่ซากเล็กน้อยเท่านั้น 
           2. วัดท่าชัย ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเคยมีพระใหญ่ตั้งอยู่บริเวณต้นโพธิ์ ( ปัจจุบันเป็นเหมืองสูบน้ำข้างปราสาทอนุสรณ์ ) แต่พระพุทธรูปโบราณได้พังลงแม่น้ำปิงไปแล้ว 
           3. วัดกาทึ้ง     
           4. วัดปราสาท เป็นวัดที่สร้างหลังสุด วัดกาทึ้งและวัดปราสาทจะได้กล่าวถึงในช่วงตำนานหรือนิทานที่เกี่ยวข้อง
          ยุคการคมนาคมทางน้ำเจริญรุ่งเรือง
          หลังจากที่มีการติดต่อทางน้ำระหว่างกรุงเทพมหานครกับชุมชนบ้านโคนมากขึ้น ทำให้แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญใช้ในการคมนาคม ต่อมาชุมชนเริ่มขยายขึ้น มีประชากรที่อพยพมาจากวัดกาทึ้งมาสมทบเพิ่มมากขึ้นและได้ถือเอาวัดปราสาทเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มมีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ โดยการคมนาคมนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำ ในสมัยนั้นจะมีเรือเหลืองและเรือแดง ซึ่งเป็นเรือกลไฟสำหรับโดยสาร ราคาโดยสารนั้นเรือแดงจะแพงกว่าเพราะเป็นเรือกลไฟมีความรวดเร็ว  นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าชาวจีนที่ล่องเรือมาขายสินค้า โดยสินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ เครื่องแต่งตัว เครื่องใช้ในครัวเรือนและอาหาร โดยสินค้าที่นำมานี้จะรับมาจากที่ต่างๆ แล้วมาขายต่ออีกทีหนึ่ง 
          ในช่วงสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ สมเด็จพระพันปี “ หรือ “ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ ทรงเสด็จประพาสต้นเมื่อเสด็จผ่านชุมชนจึงเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดปราสาท โดยกำนันได้เกณฑ์ชาวบ้านไปตัดไม้มาทำพลับเพลารับเสด็จที่หน้าวัด พระองค์เสด็จขึ้นที่วัดปราสาทนมัสการหลวงพ่อโต แล้วทรงเสด็จยังวัดกาทึ้ง เพื่อนมัสการโบราณสถาน พระองค์สันนิษฐานว่า บริเวณแถบนี้เคยเป็นบ้านเมืองโบราณมาก่อน ( ตามเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ ๕ ณ จังหวัดกำแพงเพชร  ) ในสมัยนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่า โดยเริ่มตั้งแต่ทางทิศใต้ถึงท่าเสลียง ทางเหนือถึงโขมงหัก ทางทิศตะวันออกไปจนถึงบ่อทองเป็นป่าเกือบทั้งหมด 
          ประชาชนของชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนาทำไร่ และทำไม้ แต่ที่ทำกันมากที่สุดคือ “ การทำไม้ “ ผู้ที่มีอาชีพทำไม้ในสมัยนั้นได้แก่ นายสุขขัง เกิดพันธ์ นายพุดซ้อน เกิดสว่าง นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นต้น โดยแต่ละคนที่ทำไม้จะต้องทำเรื่องขอสัมปทานทำไม้จากรัฐบาลเสียก่อน และมีการกำหนดอาณาเขตในการทำไม้ ไม้ที่ทางรัฐบาลอนุญาตก็ได้แก่ ไม้แดง ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้เหี้ยง ไม้พลวง ฯลฯ แต่ที่ไม่อนุญาตให้ตัด คือ ไม้สัก เพราะเริ่มเป็นไม้ที่หายาก  เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก็จะนำลูกน้องเข้าไปตัดไม้ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตโดยจะใช้ช้างและควายลากไม้ออกจากป่า มาทิ้งไว้ที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็จะมัดไม้ทั้งหมดที่ตัดมาทำเป็นแพล่องแม่น้ำปิงไปขาย โดยมากพ่อค้าไม้จะไปขายกันที่ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพราะเป็นแหล่งรวมที่ค้าไม้ ( มวน อินทรสูตร, 2541 : สัมภาษณ์ ) ถ้าไปไกลหน่อยก็จะไปขายกันในแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้ราคาดีขึ้น 
          ยุคนี้เป็นยุคที่ชุมชนบ้านโคนเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการเป็นชุมชนระหว่างเส้นทางคมนาคม และเป็นชุมชนค้าไม้จะเห็นได้จากการมีบ้านคหบดีจากการค้าไม้ 2 – 3 หลัง 
          ยุคหลังการตัดถนนกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ – ขาณุวรลักษบุรี 
          เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นประกอบกับความเจริญด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากจึงมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเปลี่ยนไปคือ ในชุมชนเริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยประชากรเหล่านี้ก็ได้ย้ายบ้านเรือนจากบริเวณริมแม่น้ำปิง พอในช่วงที่ตั้งของชุมชนได้ถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะประชากรของชุมชนจึงต้องย้ายบ้านเรือนหนีการกัดเซาะของแม่น้ำมาเรื่อยๆ ส่วนลูกหลานที่แต่งงานกันต้องการจะออกเรือน ผู้เป็นพ่อกับแม่ก็ยกที่ดินแถบบริเวณตะวันออกของหมู่บ้านให้ปลูกเรือน และในช่วงนั้นได้มีการตัดถนนลูกรังผ่านหมู่บ้าน จึงทำให้ปลูกเรือนอยู่บริเวณสองฟากถนนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นเริ่มมีรถโดยสารประจำทางระหว่างชุมชนกับเมืองกำแพงเพชร  ต่อมามีการสร้างถนนลาดยางสายกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ ผ่านชุมชนบ้านโคนในปี พ.ศ. 2524 ยิ่งทำให้มีประชากรอพยพมาอยู่ริมถนนมากขึ้น การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดบทบาทลงเพราะล่าช้า ไม่สะดวกประชากรเริ่มหันมาใช้การคมนาคมทางบกแทน เพราะมีความสะดวกรวดเร็วกว่า และมีรถโดยสารประจำทางระหว่างตัวเมืองกำแพงเพชรจึงทำให้ลักษณะหมู่บ้านเริ่มเปลี่ยนไป คือ มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของถนนแทนที่การตั้งบ้านเรือนแบบยาวตามลำน้ำ  ส่วนบ้านโคนเหนือนั้นในช่วงที่การทำไม้เริ่มหมดไป กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน  กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ “

คำสำคัญ : บ้านโคน

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=125

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติบ้านโคน. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1121

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,569

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,231

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,108

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,050

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,490

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์สมัยสุโขทัย

เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 931

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)

วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี)  มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,246

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,699

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,539

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,132