เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้ชม 1,452

[16.378346, 99.5340804, เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง]

       เมืองคณฑีหรือบ้านโคน มีการสืบเนื่องของชุมชนมาช้านานแล้ว แม้ในปัจจุบันไม่ปรากฏร่องรอยของคูน้ำแนวคันดินอันเป็นที่ตั้งของเมือง แต่มีวัดและซากโบราณเก่าแก่ที่ทำให้เชื่อได้ว่าครั้งหนึ่งบริเวณบ้านโคนเคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ คือ เมืองคณฑี มีตำนานเล่าเรื่องถึงชาติภูมิหรือบรรพบุรุษของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พระมหาธรรมราชหรือพระเจ้าโรจน หรือที่เรียกกันในภาษาพื้นบ้าน ว่าพระร่วง ซึ่งกล่าวไว้ในเรื่องสีหลปฏิมา สรุปความได้ว่า
      ได้ยินมาว่า ที่ตำบลบ้านโค (บ้านโคน) ยังมีชายคนหนึ่งรูปงาม มีกำลังวังชามากมาย ท่องเที่ยวอยู่ในป่า ระหว่างนั้นมีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง ได้เห็นชายรูปงานคนนั้น เกิดจิตพิศวาสอยากจะมีความสัมพันธ์ด้วย จึงได้แสดงมายาหญิงแล้วได้ร่วมเสพสังวาสกับชายหนุ่มรูปงามคนนั้น ต่อมานางเทพธิดาเกิดบุตรอันเกิดจากชายรูปงาม โดยบุตรของชายคนนั้นมีรูปงามและพละกำลังเป็นอันมาก ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรของชายคนนั้น และในกาลต่อมาบุตรของชายคนนั้นได้ปรากฏพระนามว่า “โรจนราช” หรือภายหลังเรียกพระนามกันว่า “พระร่วงเจ้า”
       จากข้อความดังกล่าว ทำให้ได้ความว่า พระยามหาธรรมราช ประสูติที่ตำบลบ้านโค (บ้านโคน) เหตุที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าบ้านโค หมายถึง บ้านโคน นั้นอาจารย์มานิต วัลลิโภดม ได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ดังนี้ “เหตุที่ตั้งข้อสังเกตอย่างนี้เห็นจะเป็นเพราะในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ฉบับแปลครั้งรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ รศ.127 ใช้ว่า “โคณคาม” บ้านโคและโคณคาม แปลมาจาก “โคคาเม” ในต้นฉบับภาษาบาลีที่พระรัตนปัญญาเถระชาวเชียงใหม่ รจนา เมื่อระหว่าง พ.ศ. 2066-2071 ในตำนานมูลศาสนากล่าวว่า เมื่อพระนางจามเทวี ตั้งเมืองพระบางขึ้นทีปากน้ำโพ นครสวรรค์แล้ว ได้เสด็จผ่านเมืองคัณทิกะ เมืองนี้มีชื่อเสียงคล้ายกับเมืองคณฑี ที่ตำบลบ้านโคน ถ้าเป็นแห่งเดียวกันย่อมเป้นเมืองอยู่แล้ว เมื่อพุทธศตวรรษที่ 13
       ในศิลาจารึกหลักที่ 45 พบที่วัดมหาธาตุเมืองสุโขทัย อายุช่วงประมาณ พ.ศ. 1935 ได้บอกสกุลของพระยามหาธรรมราชว่า “ปู่ผาคำ...ปู่หวาน ปู่ขุนจิต ปู่ขุนจอด ปู่พญาศรีอินทราทิตย์...” ขุนจิต ขุนจอด อาจจะเป็นชนชั้นปู่ ชั้นบิดาของพระยามหาธรรมราชและเป็นขุนครองเมืองคณฑีก็ได้
       ถ้าเชื่อตามตำนนและข้อความที่กล่าวมานี้ เมืองโคคามหรือโคณคามเป็นตำบลบ้านโคนแล้ว พระยามหาธรรมราชหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ย่อมมีต้นตระกูลเป็นชาวคณฑีอย่างไม่มีปัญหา

คำสำคัญ : คณฑี

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2549). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองคณฑี : เมืองต้นกำเนิดของราชวงศ์พระร่วง. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1373&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1373&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,991

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,785

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,788

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

กำแพงเพชร : สมัยธนบุรี

พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,975

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,738

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

ต้นโพธิ์หน้าเมืองกำแพงเพชร

กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า) 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,288

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

ชื่อเมืองกำแพงเพชร ที่คนกำแพงเพชรไม่เคยรู้

กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,986

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,017

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้เช้าชม 651

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,260