เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 3,990

[16.8873721, 98.8173086, เมี่ยงเต้าเจี้ยว]

        ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี
        ดังนั้นจึงเกิดความคิดริเริ่มที่จะนำสิ่งที่ตนเองนั้นปลูกเอง ทำเอง มารับประทานเป็นอาหารว่าง เช่น เมี่ยงเต้าเจี้ยวและเมี่ยงคำต่างๆ ซึ่งมีส่วนประกอบและวิธีทำดังนี้

วัตถุดิบเครื่องเมี่ยงเต้าเจี้ยวกับข้าวเกรียบงาดำ
        1. เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย
                - ข้าวพอง เอาข้าวเหนียวตากแห้ง แล้วมาทอดกับน้ำมัน หรือจะใช้ข้าวแตนแทน
                - ถั่วลิสงคั่ว                                             
                - ขิงสดหั่นเป็นสี่เหลี่ยม                         
                - มะพร้าวเอามาขูดให้เป็นเส้นๆ            
                - ตะไคร้ซอยบางๆ
                - กุ้งแห้ง
                - มะนาวหั่นเป็นสี่เหลี่ยม
                - กระเทียมปลอกเปลือก
        2. เครื่องห่อ ประกอบด้วย
                - ข้าวเกรียบงาดำ ชุบน้ำให้นิ่ม
        3. เครื่องเคียง ประกอบด้วย
                - พริกขี้หนู
                - มะเขือพวง
                - มะแว้ง
        4.เต้าเจี้ยวสำหรับราดเมี่ยง ใช้เต้าเจี้ยวที่ดองเอง จะมีรสเปรี้ยว ควรเติมน้ำสุกพอประมาณ และเติมน้ำตาลให้ออกรสหวาน

วิธีรับประทานกับข้าวเกรียบงาดำ
        1. นำข้าวเกรียบงาดำมาชุบน้ำ
        2. จัดเครื่องเมี่ยงวางบนข้าวเกรียบงาดำ
        3. โรยข้าวตากทอด และมะพร้าว
        4. ราดด้วยเต้าเจี้ยว
        5. ทำเป็นคำพอประมาณ พร้อมเสิร์ฟ

วิธีการทำน้ำเต้าเจี้ยว  ข้อมูลจากสำนักวัฒนธรรมจังหวัดตาก
        นางคำ ทิมแพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการทำเต้าเจี้ยว ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไม้งาม ใช้เวลาในการทำตั้งแต่เริ่มแรกโดยประมาณ 4 วัน จึงได้เต้าเจี้ยวพร้อมที่จะประกอบอาหาร
        เต้าเจี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง ซึ่งมีโปรตีนสูง ในประเทศไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาใช้เป็นอาหารชนิดต่างๆ โดยทำเป็นเครื่องจิ้ม เรียกว่า หลน หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น ทำแป๊ะซะ ผัดราดหน้า ตลอดจนผัดผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งนอกเหนือจากจะได้รสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย เมื่อความนิยมในการบริโภคเต้าเจี้ยวมีมากขึ้น จึงก่อให้เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิต โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ การผลิต ในโรงงานผลิตเต้าเจี้ยว
        ในปัจจุบันใช้วิธีการกึ่งวิทยาศาสตร์และกึ่งพื้นบ้านคือ อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อราที่บริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อ ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อราอื่นๆ และลดระยะเวลาในการผลิต ส่วนวิธีการกึ่งพื้นบ้านจะใช้ในขั้นตอนการหมักกับเกลือ คือหลังจากได้ถั่วเหลืองที่มีเชื้อราเจริญเต็มที่แล้ว จะนำไปหมักในน้ำเกลือในภาชนะเปิด ปล่อยทิ้งไว้จนได้ที่ ในขั้นตอนนี้จะมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ซึ่งสามารถเจริญได้ดีในสภาพที่มีปริมาณเกลือสูง ทำให้คุณภาพ ความสะอาดและความปลอดภัยในการบริโภคลดลง จึงมีแนวโน้มว่าต่อไปจะมีการนำวิธีวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิตทั้งหมด เช่น การใช้เชื้อบริสุทธิ์ในการหมักและหมักในภาชนะปิด ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ถูกสุขลักษณะ สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
        1. คุณค่าทางโภชนาการ เต้าเจี้ยวเป็นสารชูรสอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจาก เนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เต้าเจี้ยวยังอุดมด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด สารชูรสและกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด เต้าเจี้ยวมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนมากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4 เท่า สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองไม่มีแป้ง จึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 ดี อี เค และไนอะซีน จะพบวิตามินบี 2 มากกว่าพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าที่คล้ายวิตามินด้วย
        2. ประโยชน์ของเต้าเจี้ยว เต้าเจี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองหมักด้วยเชื้อรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ให้อยู่ในรูปที่ย่อยสลายเพื่อนำไปใช้ในร่างกายได้ง่าย เต้าเจี้ยวจึงมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตได้ใน2 ลักษณะคือ
             2.1 ประโยชน์ในด้านการบริโภค นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถดัดแปลงเต้าเจี้ยวให้เป็นอาหารชนิดต่างๆ ได้ เช่น หลนเต้าเจี้ยว น้ำจิ้มข้าวมันไก่ ผัดผักต่างๆ เป็นต้น ทำให้มีอาหารบริโภคได้ หลายชนิด
             2.2 ประโยชน์ในด้านการจำหน่าย ในปัจจุบันนี้มีอาหารหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเต้าเจี้ยว เพื่อช่วยเสริมรสชาติและกลิ่นที่ดี ผู้ ประกอบอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิตที่มาก ใช้เวลานาน ไม่คุ้มกับการลงทุนเมื่อทำปริมาณน้อย ผู้ประกอบอาหารจึงต้องหาซื้อเต้าเจี้ยวมาใช้เป็นครั้งๆ ไป เต้าเจี้ยวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปจะบรรจุในภาชนะต่างๆ ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน อาชีพการผลิตเต้าเจี้ยวจำหน่ายมีความมั่นคงมากทีเดียว วัตถุดิบสำหรับทำเต้าเจี้ยว วัตถุดิบสำหรับทำเต้าเจี้ยวให้ได้จำนวนเต้าเจี้ยวประมาณ 55 กิโลกรัม มีดังนี้ ถั่วเหลือง (คัดแล้ว) 15 กิโลกรัม แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า 8 กิโลกรัม เกลือเม็ด 10 กิโลกรัม น้ำสะอาด 40 กิโลกรัม เชื้อราทำหัวเชื้อ 2-3 ขวดแบน

วิธีการทำเต้าเจี้ยว
         1. นำถั่วเหลืองไปแช่น้ำเป็นเวลา 10-15 ชั่วโมง หรือแช่น้ำร้อน 2-3 ชั่วโมง ควรใช้น้ำปริมาณมาก และควรเปลี่ยนน้ำ 1-2 ครั้งระหว่างการแช่ โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด เพราะอาจเกิดการหมักขณะแช่ถั่วเหลืองทำให้มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นเหม็น ควรแช่จนถั่วเหลืองพองตัวเต็มที่
         2. นึ่งถั่วเหลืองโดยใช้หม้อนึ่งความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20-25 นาที หรือต้มถั่วทั้งเมล็ด จะใช้เวลาต้ม 3-4 ชั่วโมง ส่วนถั่วที่โม่ผ่าซีกแล้ว ใช้เวลาต้มเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอ ถั่วที่สุกนิ่มได้ที่ ทดสอบได้โดยการใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้บี้ ถ้าเนื้อถั่วเหลืองถูกบี้แบนโดยง่ายแต่เปลือกยังดีอยู่ แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าบี้แล้วเนื้อถั่วแตกและออกมา แสดงนึ่งไม่พอ และอย่าต้มหรือนึ่งถั่วจนเละ วัตถุประสงค์ในการนึ่งก็เพื่อทำให้ถั่วเหลืองนิ่ม ทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเหมาะกับการเจริญของเชื้อรา เพื่อผลิตเอนไซม์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
         3. นำถั่วเหลืองที่นึ่งแล้วมาสะเด็ดน้ำ และผึ่งให้เย็น
         4. นำแป้งสาลีไปคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนเป็นสีน้ำตาลอ่อน การคั่วแป้งสาลีจะช่วยปรับความชื้นในถั่วเหลืองไม่ให้สูงมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อนในช่วงการหมักโคจิ ช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่ติดอยู่ที่แป้งสาลี และยังทำให้เต้าเจี้ยวมีกลิ่นหอมและมีสีที่เหมาะ แล้วนำเอาเชื้อราคลุกกับแป้งสาลีให้เข้ากัน เอาไปคลุกคล้ากับถั่วเหลืองให้ทั่วกันดี จนแป้งสาลีทั้งหมดเกาะกับเมล็ดถั่วเหลืองแล้วจึงนำไปใส่ในกระด้ง เกลี่ยให้กระจายทั่วกระด้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางอีกทีหนึ่ง ข้อควรระวัง อย่าคลุกเชื้อรากับแป้งสาลีขณะที่แป้งสาลียังร้อยอยู่
         5. บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง 25-30 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-4 วัน ในระยะแรกเชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวยัดเมล็ดถั่วเหลืองติดกัน และเริ่มมีสปอร์สีเหลืองอ่อนจนถึงสีเขียวอ่อน ๆ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรบ่มทิ้งไว้จนสปอร์เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ระหว่างการบ่มจะมีความร้อนเกิดขึ้นมาก จึงควรกลับถั่วในวันที่ 2เพื่อช่วยระบายความร้อน มิฉะนั้นการเจริญของราอาจหยุดลง และเกิดการเน่าเสียจากเชื้อแบคทีเรียได้ ขั้นตอนนี้ของกรรมวิธีการผลิตเต้าเจี้ยวก็มีชื่อเรียกว่า ขั้นโมจิ
         6. นำโมจิที่ได้ใส่ลงในขวด ไห โอ่ง หรือบ่อหมัก โดยต้มน้ำละลายเกลือความเข้มข้น 16-22 % และทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำเกลือพอท่วมโคจิในอัตราส่วนน้ำเกลือ 2 ส่วน ต่อโคจิ 1 ส่วน การหมักนาน 3-4 เดือน ส่วนผสมระหว่างโคจิและน้ำเกลือ เรียกว่า โมโรมิ สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมปฏิบัติในระหว่างเดือนแรกของการหมัก คือ ต้องทำการคนส่วนผสมวันละครั้งทุกวัน การกวนหรือการคนจะมีผลต่อการหมัก คือ ถ้าหากกวนไม่ตรงเวลา ปล่อยทิ้งไว้หลาย ๆ สัปดาห์ จะทำให้ผิวหน้าเป็นฝ้าสีขาว ซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นที่ผิดปกติกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวจะหายไป แต่ถ้าหากกวนมากเกินไปจะทำให้เกิดลักษณะเหนียวหนืดซึ่งเป็นผลเ

วัตถุดิบเมี่ยงเต้าเจียวกับใบชะพลู
         - ตะไคร้หั่น                             
         - ถั่วลิสงคั่ว
         - กระเทียม                             
         - พริกขี้หนู 
         - มะพร้าวขูดเป็นเส้น           
         - ข้าวพอง
         - เต้าเจี้ยว                                 
         - ใบชะพลู

วิธีรับประทาน
         จัดเครื่องเมี่ยงวางบนใบชะพลู โรยข้าวตากทอด มะพร้าว และราดด้วยเต้าเจี้ยวทำเป็นคำพอประมาณ พร้อมเสิร์ฟ

 

คำสำคัญ : อาหารพื้นบ้าน

ที่มา : http://sojial.blogspot.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เมี่ยงเต้าเจี้ยว. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=822&code_db=DB0010&code_type=003

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=822&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 3,121

แกงพันงู

แกงพันงู

กำแพงเพชรมีอาหารอยู่ชนิดหนึ่ง เป็นอาหารยอดนิยมของชาวกำแพงเพชรในอดีต คือแกงพันงู พันงูเป็นชื่อพันธุ์ไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสถานที่หัวไร่ปลายนา ตามเชิงเขาและป่าโปร่ง จะขึ้นปนกับต้นไม้อื่นๆ ลักษณะลำต้นเดี่ยว เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ถึง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร รูปร่างคล้ายงู ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า พันงู จะขึ้นเฉพาะในฤดูร้อน ต่อฤดูฝน ใต้ดินจะมีหัวขนาดใหญ่ ในปีหนึ่งจะขึ้นเพียงครั้งเดียว ชาวบ้านจะนิยมนำพันงูมาทำอาหาร ประเภทผักจิ้ม แกงส้มใส่ชะอม ชาวกำแพงเพชร เอาพันงูมา ลอก เปลือกออกหั่น ยาวประมาณ 2นิ้ว เอาไว้แกงส้ม พันงู เป็นอาหารยอดนิยมที่คนกำแพงเพชรนิยมรับประทานกัน เกือบทุกครัวเรือน อาจกลายเป็นอาหารจานเด็ด ของคนกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 2,808

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า "ทอง" จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 10,379

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย เป็นเมนูขนมไทยๆ สุดแสนอร่อย แป้งเหนียวนุ่มๆ หอมกลิ่นใบเตย ไส้มะพร้าวหวานหอม คลุกเคล้ามะพร้าวขูดเส้น หวานมันหอมอร่อย อร่อยแบบไทยๆ เรามีเคล็ดลับในการทำคือ การทำไส้ขนมที่รสชาติหอมหวานมัน คือใช้มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น กับน้ำตาลปี๊บเคี่ยวจนเหนียว ล้วนำมาปั้นเป็นก้อนๆ เตรียมไว้ แล้วจึงนำมาห่อไส้ขนม การปั้นต้องค่อยๆ ห่อแป้งหุ้มไส้ให้มิดปิดสนิทแล้วคลุกเคล้ากับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้นให้ทั่วๆ จะได้ขนมต้มใบเตยหอมๆ รสชาติอร่อยหอมหวานมัน หวังว่าทุกท่านคงอร่อย กับขนมต้มใบเตย

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 11,286

ขนมกล้วย

ขนมกล้วย

ขนมกล้วยเป็นขนมไทยห่อใบตองอีกชนิดที่คนไทยนิยมกิน พบเจอและหาซื้อง่าย ความอร่อยไม่เป็นสองรองข้าวต้มมัด และมักจะวางขายอยู่คู่กับขนมฟักทอง วิธีทำขนมกล้วยให้อร่อยจะต้องเนื้อเหนียว รสชาติหวานกำลังดี และหอมกลิ่นกล้วย

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 5,558

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,456

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง

ขนมฟักทอง ขนมไทยยอดนิยมอีกหนึ่งประเภท ซึ่งยังหาทานได้ไม่ยากนัก ขนมฟักทอง เป็นการนำฟักทองมาทำขนม โดยนวดผสมกับ แป้ง กะทิ และน้ำตาล และนำไปนึ่ง โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูดขาว มีความเหนียว นุ่ม หวานหอม คนชอบทานฟักทองน่าจะชอบขนมไทยชนิดนี้

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 4,382

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,659

เฉาก๊วยชากังราว

เฉาก๊วยชากังราว

ความพิเศษไม่เหมือนใครของเฉาก๊วยชากังราวคือเนื้อเฉาก๊วยที่นุ่มหนึบ ไม่ได้เหนียวจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ขาดง่าย ชนิดที่หาจากเฉาก๊วยเจ้าอื่นไม่ได้ เฉาก๊วยชากังราวเลือกใช้ต้นเฉาก๊วย 3 สายพันธุ์จาก 3 ประเทศมารวมกัน แม้ในวันนี้จะมีการปลูกต้นเฉาก๊วยอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่สูตรลับความนุ่มหนึบของเฉาก๊วยชากังราวนั้นเป็นการรวมกันของต้นเฉาก๊วยจากเวียดนามที่โดดเด่นในเรื่องของความหวาน ต้นเฉาก๊วยอินโดนีเซียที่มีความนุ่มหนึบ และต้นเฉาก๊วยจีนที่มีรสชาติหวานหอมกลมกล่อม โดยต้นเฉาก๊วยจาก 3 ประเทศนี้จะปลูกในที่สูงและอากาศเย็น ทำให้เป็นต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดีกว่าต้นเฉาก๊วยที่ปลูกในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 3,250

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,521