ตำนานท่อทองแดง

ตำนานท่อทองแดง

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 2,216

[16.3349545, 99.3617354, ตำนานท่อทองแดง]

       ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ ท่อทองแดง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของ พระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆกันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด
       
ใน พ.ศ. 2053 จึงได้มีการบูรณะ ท่อทองแดง” ขึ้นอีกครั้ง ในสมัย พระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ดังปรากฏในจารึกหลักที่ 13 ที่ฐานพระอิศวร เมื่อ เมืองกำแพงเพชรว่า อนึ่ง ท่อปู่พระยาร่วง ทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้นก็ถมหายสิ้น และเขาย่อมทำนาทางฟ้า และหาท่อนั้นพบ กระทั่งท่อเอาน้ำเข้ามาเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมืองนาฝาย มิได้เป็นนาทางฟ้า.....
       ต่อมา พ.ศ. 2521 ขณะที่กรมชลประทานกำลังก่อสร้างอาคารรับน้ำจากแม่น้ำปิง บริเวณเขตตำบลหนองปลิง และทำการตรวจสอบแนวทางของท่อปู่พญาร่วง ตามโครงการพระราชดำริ จนพบท่อไม้สักจมอยู่ก้นแม่น้ำปิง สภาพเป็นท่อนซุงขนาดใหญ่ รัดเป็นช่วงๆด้วยเส้นทองแดงเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ยาว 4.27 เมตร แบบท่อคอนกรีตยาวประมาณ 4 เมตร แต่ละซีกยาว 60 เซนติเมตรเศษ มี 4 ส่วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นท่อรวมแล้วยาวประมาณ 1.20-1.50 เมตร ฝังรอดเข้าไปยังคลองวังพาน เพื่อเป็นทางผ่านของน้ำไปเลี้ยงผู้คนในเมืองบางพานในอดีต โดยชุมชนมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาถึงความอัศจรรย์ของ ท่อทองแดง” นี้ว่า ในขณะที่พบ ได้เกิดพายุใหญ่พัดกระหน่ำลงมา จนคนขับรถแมคโครต้องจุดธูปเทียนบอกกล่าวเจตนาพายุจึงสงบลงและขนย้ายได้
       
มีข้อความจารึกไว้ที่ฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรว่า “…อนึ่งท่อปู่พญาร่วงทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้น และเขาย่อมทำนาทางฟ้า และหาท่อนั้นพบกระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมือนนาฝายมิได้เป็นทางฟ้า...” ถ้อยคำจารึกดังกล่าว จารึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 2053 เป็นหลักฐานว่า ท่อทองแดงนี้ น่าจะสร้างมาตั้งแต่สมัยพระร่วง แต่มาถูกถมหายไปในสมัยอยุธยาตอนต้น ก่อนที่จะถูกบูรณะใหม่และจารึกไว้ที่ฐานพระอิศวรในปี 2053 ชาวชุมชนเชื่อว่า ท่อทองแดง คือทางน้ำที่หล่อเลี้ยงไร่นาทั้งจังหวัดกำแพงเพชร มีเรื่องเล่าขานต่อมาโดยนายพรชัย มหัทธนะสิน หัวหน้าโครงการท่อทองแดงว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2521 ซึ่งในขณะนั้น ภาครัฐต้องการขุดค้นเพื่อสำรวจท่อทองแดง แต่ขณะที่กำลังขุด ได้เกิดพายุใหญ่ นายช่างจึงไม่กล้ายกท่อขึ้นมา แต่หลังจากทำพิธีขอขมาแล้ว ฝนฟ้าคะนองจึงหายไป และเมื่อขุดค้นท่อดังกล่าว ก็พบว่า ท่อไม่ได้ทำจากทองแดง แต่เป็นท่อไม้สักยาวประมาณ 4 เมตร มีทั้งหมด 4 ชิ้น นำมาประกบกัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70 เซนติเมตร เป็นทางน้ำไหล อายุมากกว่า 700 ปี ที่ลำเลียงน้ำเข้ามาเลี้ยงเมืองต่างๆ ในอาณาจักรกำแพงเพชรโบราณ

 

คำสำคัญ : ท่อทองแดง

ที่มา : พิสุทธิ์ บุษยพรรณพงศ์ และคณะ. (2547). ถิ่นฐานพรานกระต่าย : ข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอพรานกระต่าย.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตำนานท่อทองแดง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=633&code_db=DB0016&code_type=0014

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=633&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานพื้นบ้าน เรื่องทำไมคนถึงกินข้าว 3 มื้อ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องทำไมคนถึงกินข้าว 3 มื้อ

มนุษย์รู้จักทำไร่ทำนาเลี้ยงชีพมาหลายพันปีแล้ว โดยพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ ปีไหนฝนแล้งก็จะเหนื่อยยากอดอยากมากกว่าปีอื่นๆ เพราะข้าวตาย พระอิศวรมองลงมาจากสวรรค์ รู้สึกสงสารชาวนามาก เลยใช้ให้ควายลงไปโลกมนุษย์ไปบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้ ให้กินข้าว 3 วันมื้อหนึ่ง จะได้ไม่ต้องลำบากปลูกข้าวได้พอกิน” ควายรับปากดิบดีว่าจะไปบอกตามที่สั่ง พอไปถึงทุ่งนาเห็นหนองน้ำใหญ่น่าลงไปเล่นตามสัญชาติญาณของควายที่ชอบนอนแช่ในปลัก นอนแช่น้ำเย็นสบายจนบ่ายคล้อยก็นึกขึ้นได้ว่าพระอิศวรใช้มาส่งข้าว จำได้แค่ว่าอะไรสามๆ เลยบอกชาวนาว่า “ต่อไปนี้พระอิศวรให้กินข้าววันละ 3 มื้อ จากที่ลำบากอยู่แล้วยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ พอกลับไปเฝ้าพระอิศวร พระอิศวรทวนถามว่าไปบอกเขาว่าอย่างไร ควายตอบว่า “ก็ตามที่พระองค์สั่งพระเจ้าค่ะ ให้กินวันละสามมื้อ” “ไอ้โง่เอ๊ย ! ชาวนายิ่งเดือดร้อนเข้าไปใหญ่ ข้าสั่งให้กินสามวันมื้อ” แต่ก็แก้ไขคำพูดไม่ได้แล้ว จึงสั่งให้ควายไปช่วยชาวนาไถนาปลูกข้าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 5,613

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

วันนี้เป็นวันพระ มีญาติโยมมาทำบุญกันเต็มศาลา ปกติพอฉันเสร็จพระมักใช้เณรให้เป็นคนล้างจาน เณรเจ็บใจมาเรื่อย วันนี้คิดจะเอาคืน พอฉันเสร็จเณรจึงยกมือขึ้นพนมแล้วสวดกรวดน้ำว่า “ยถาวริวโหน ยัดห่าหลายคน ให้กูล้างคนเดียว” พระได้ยินก็สวดตอบมาทันทีว่า “สัพพีตีโยม เสียงดังโครม เณรหัวแตก” เณรสวนมาว่า “เณรเตะพระ เณรชนะ พระหัวแตก” วันนั้นพระกับเณรช่วยกันล้างจานจนเลือดสาด

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,517

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 4,830

ตำนานพระซุ้มกอ

ตำนานพระซุ้มกอ

มีกูไว้แล้วจะไม่จน คือ ถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง เบญจภาคี คือ การนำเอาพระเครื่องที่เป็นพระเครื่องชั้นยอดมารวมกัน 5 องค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในวงการพระเครื่องยุคแรก ที่วงการพระรู้จักท่านในนามปากกา " ตรียัมปวาย " เป็นผู้บัญญัติจัดตั้งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พระเบญจภาคี 5 องค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 8,980

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,621

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,875

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,265

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,794

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

มีชาวนาครอบครัวหนึ่ง มีบ้านอยู่กลางทุ่งนาของฉัน วันหนึ่งเกิดมีหมาเข้ามาลักขโมยข้าวขอในบ้านชาวนากิน ชาวนากลับจากทำนาพอดี พบหมากำลังจะกินอาหารที่อยู่ในครัว จึงวิ่งไล่จับหมาตัวนั้นได้ ด้วยความโมโห ชาวนาจึงจุดไฟที่หางหมาตัวนั้น เจ้าหมาก็ตกใจมาก วิ่งหนีเข้าไปในทุ่งนาของชาวนาที่กำลังเหลืองใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ไฟที่หางหมาจึงไหม้ต้นข้าวและลุกลามไหม้ไปทั้งทุ่งนาของชาวนาจนไม่เหลือสักต้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,869

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

เมืองไตรตรึงษ์ในนิยายปรัมปรา

มีบทละครเรื่อง ท้าวแสนปม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสันนิษฐานเพิ่มเติมจากตำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ดังนี้ เมื่อราวจุลศักราช 550 พ.ศ.1731 มีพระเจ้าแผ่นดินไทยองค์หนึ่ง เป็นเชื้อวงศ์ของพระเจ้าพรหมมหาราช ทรงพระนามว่าท้าวไชยศิริ ครองเมืองฝางอยู่ ได้ถูกข้าศึกจากรามัญประเทศยกมาตีเมือง ท้าวไชยศิริสู้ ไม่ได้ จึงหนีลงมาทางใต้ พบพวกไทยที่อพยพกันลงมาแต่ก่อนแล้ว ตั้งอยู่ตำบลแพรก พวกไทยเหล่านั้นหาเจ้านายเป็นขุนครองมิได้ จึงอัญเชิญท้าวไชยศิริขึ้นเป็นขุนเหนือตน

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,504