ซ้อ

ซ้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,003

[16.4534229, 99.4908215, ซ้อ]

ลักษณะสมุนไพร :
     ซ้อเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยมและมีขนละเอียด ใบเป็นเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่หรือรูปหัวใจ ปลายใบแหลมยาว โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง แผ่ออกคล้ายรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ส่วนท้องใบด้านล่างมีนวลและมีขนสั้นนุ่ม ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ โดยจะออกตามปลายกิ่ง มี 1 ช่อหรือหลายช่อ ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูประฆัง ปลายกลีบเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านนอกกลีบเลี้ยงมีขนติดทน ส่วนกลีบดอกสมมาตรด้านข้าง ลักษณะเป็นรูปปากแตรโป่งด้านเดียว ปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ แบ่งเป็นกลีบบน 2 กลีบ และกลีบล่างอีก 3 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอกเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนด้านในหลอดกลีบเป็นสีครีมอ่อนๆ กลีบปากล่าง กลีบกลางด้านในเป็นสีเหลืองแซม มีขนสั้นนุ่มอยู่ด้านนอก ส่วนด้านในเกลี้ยง ผลเป็นรูปวงรีหรือรูปไข่ ผิวผลเกลี้ยงเป็นมัน มีกลิ่น ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลเป็นแบบเมล็ดเดียวและแข็ง เมล็ดลักษณะรูปรี

สรรพคุณทางยา :
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ใบ และ เปลือกต้น

ราก บำรุงธาตุในร่างกาย

ใบ รักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ รักษารังแค ป้องกันผมร่วง

เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน และหูด แก้อาการคัน แก้อาการคันตามง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า รักษาโรคเท้าเปื่อย รักษาแผลที่เกิดน้ำกัดเท้า

 

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : http://thaiherbal.org/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ซ้อ. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=62&code_db=DB0001&code_type=001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=62&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำขาว

ต้นก้นจ้ำขาวเป็นพืชล้มลุก สูงได้ถึง 1 เมตร ลำต้นเป็นสัน ใบก้นจ้ำขาวใบเป็นใบประกอบขนนกชั้นเดียว มี 3 ใบย่อย แผ่นในรูปไข่ ปลายใบแหลม ของใบหยัก ฐานใยมน เนื้อใบบาง ดอกก้นจ้ำขาวดอก เป็นดอกช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอดและซอกใบ ก้านช่อดอกยาว วงใบประดับมี 2 ชั้น แยกกัน ดอกวงนอกมีกลีบดอกรูปลิ้น สีขาว ไม่สมบูรณ์เพศ ดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด สีเหลือง เกสรเพศผู้สีน้ำตาล เกสรเพศเมียสีเหลืองปลายแยกเป็น 2 แฉก ผลก้นจ้ำขาวผลเป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน มีแพปพัสเป็นหนามสั้น 2 อัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,685

สาบเสือ

สาบเสือ

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2เมตร อายุหลายปี   ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปขอบขนานแกน สามเหลี่ยมกว้าง 3-7 ซม. ยาว6-12ซม.ขอบใบหยัก  ดอกสีขาวถึงม่วงอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นก้อน ขนาด 4-8 มม. ดอกย่อยจำนวนมาก รอบนอกเป็นดอกเพศเมีย มีก้านชูเกสรยาว ด้านในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบ ดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรผู้สั้น 5 อันอยู่ภายในหลอดดอกเมล็ดขนาดเล็ก รูปกระสวย แบนส่วนปลายมีขนยาวสีขาว  เป็นพืชพื้นดินเดิมของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปัจจุบันพบทั่วไปในเขตร้อนตามพื้นที่เปิดหรือบริเวณป่าที่ถูกทำลายตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง1,500เมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,045

เสลดพังพอนตัวเมีย

เสลดพังพอนตัวเมีย

สลดพังพอนตัวเมีย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มแกมเถา มักเลื้อยพาดไปตามต้นไม้อื่นๆ มีความสูงได้ประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีลักษณะเกลี้ยง ต้นอ่อนเป็นสีเขียว ลำต้นมีลักษณะกลม ผิวเรียบเป็นปล้องสีเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำหรือแยกเหง้าแขนงไปปลูก เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในประเทศไทยมักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วทุกภาคของประเทศ หรือพบปลูกกันตามบ้านทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 18,244

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 3,019

ขี้หนอน

ขี้หนอน

ขี้หนอน เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่และมีหนามตามลำต้นหรือกิ่งไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายกับผักหวาน ดอกนั้นจะดกมาก จะมีขนาดเล็ก มีพิษกินเข้าไปทำให้ตายได้ ผลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลือง นิเวศวิทยาเป็นพรรณไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ดอกไม่งาม ผลแก่มีสีเหลือง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ประโยชน์สมุนไพรเปลือกใช้สับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่น้ำตีให้แตกฟองแล้วใช้ฟอกสุมหัวเด็ก ใช้รักษาอาการหวัดคัดจมูก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,937

สกุณี

สกุณี

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา  ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว  ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม  ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,062

ดาวเรือง

ดาวเรือง

ดาวเรือง (African Marigold) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก คำปู้จู้หลวง ส่วนกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก พอทู เป็นต้น ซึ่งดอกดาวเรืองนั้นถือได้ว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยในประเทศไทยของเรานั้นจะนิยมใช้ดอกดาวเรืองพันธุ์ซอเวอร์เรนมาใช้ประโยชน์ทางด้านการค้า เนื่องจากมีดอกที่ใหญ่ดูสวย โดยขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นหลักจะได้ต้นใหญ่สวย หรือจะปักชำก็ได้แต่ต้นที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเพราะระบายน้ำได้ดี

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,072

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 16,979

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,725

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,456