ขนมสอดไส้

ขนมสอดไส้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้ชม 8,044

[16.4705612, 99.5283865, ขนมสอดไส้]

         ขนมใส่ไส้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้านชนิดหนึ่งหารับประทานได้ง่ายราคาถูกมีรสหวานหอม รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยทำจากแป้งกะทิและน้ำตาลส่วนประกอบของขนมมีสามส่วนคือไส้กระฉีก แป้งสำหรับห่อไส้ และหน้าขนม

ส่วนผสม ขนมใส่ไส้
         1. มะพร้าวขูดขาว 2 1/2 ถ้วย
         2. น้ำตาลมะพร้าว 1 1/2 ถ้วย
         3. น้ำต้มสุก
         4. เทียนอบ (สำหรับอบควันเทียน) ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ตามความสะดวก
         5. แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วย
         6. น้ำเย็น 1/3 ถ้วย (หรือน้ำใบเตย, น้ำอัญชันแช่เย็น หากต้องการเพิ่มสีสัน)
         7. แป้งข้าวเจ้า 1/3 ถ้วย
         8. เกลือป่น 2 ช้อนชา
         9. หัวกะทิ 3 1/3 ถ้วย
         เตรียมใบตองตัดเป็น 2 ขนาด แผ่นใหญ่ขนาดประมาณ 5X9 เซนติเมตร และแผ่นเล็กขนาดประมาณ 4X6 เซนติเมตร แล้วตัดหัว-ท้ายเป็นสามเหลี่ยม เช็ดให้สะอาดทั้ง 2 ด้าน นำไปตากแดดทิ้งไว้สักครู่ (เพื่อไม่ให้ใบตองแตกขณะห่อขนม)

วิธีทำหน้ากระฉีก (ส่วนผสมไส้)
         1. กวนมะพร้าวขูดกับน้ำตาลมะพร้าว และน้ำต้มสุกในกระทะด้วยไฟอ่อน ๆ จนส่วนผสมเหนียวและแห้ง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
         2. พอส่วนผสมเย็นสนิทแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ประมาณ 1 นิ้วใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด
         3. นำส่วนผสมไส้ไปอบด้วยควันเทียน เตรียมไว้

วิธีทำแป้ง
         นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเย็นจนพอปั้นได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเดียวกับหน้ากระฉีก เตรียมไว้

วิธีทำส่วนผสมหน้าขนม

        ผสมแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น และกะทิคนให้ละลายเข้าด้วยกัน เทใส่ในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอน) ใช้ไฟปานกลางกวนจนข้นและเดือดทั่ว ยกลงจากเตา เตรียมไว้

วิธีทำขนมใส่ไส้แบบห่อใบตอง
        1. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด วางขนมลงบนใบตองที่ซ้อนกัน
        2. หงายใบตองแผ่นใหญ่ขึ้น (ด้านนวล) แล้ววางทับด้วยใบตองแผ่นเล็ก วางไส้ขนมลงไป จากนั้นตักหน้าขนมประมาณ 1/2 ช้อนชา ใส่ด้านบนไส้
        3. ห่อใบตองเป็นทรงสูง ใช้ใบมะพร้าวที่เตรียมไว้คาดและกลัดด้วยไม้กลัดให้เรียบร้อย ตัดปลายเตี่ยวให้เฉียงและยาวพองาม วางเรียงห่อขนมลงในชุดนึ่ง
        4. นำขนมไปนึ่งในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือดพล่านประมาณ 10 นาที ยกลงจากเตา

วิธีทำขนมใส่ไส้สูตรประยุกต์

        1. ตักส่วนผสมหน้ากะทิใส่ลงในถ้วยขนาดเล็ก (หรือพิมพ์พลาสติก) ประมาณ 1/2 ของพิมพ์ เตรียมไว้
        2. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด จากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดจนลอยขึ้นมา ตักขึ้นใส่จาน เตรียมไว้
        3. ค่อย ๆ นำส่วนผสมไส้วางลงในพิมพ์อย่างเบามือให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ

ภาพโดย : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

คำสำคัญ : ขนมสอดไส้

ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมสอดไส้. สืบค้น 25 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=DB0004&code_type=K0008

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมดอกจอก

ขนมดอกจอก

เป็นขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งพบทำขายในตลาดสดและเพิงอาหารริมทาง ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งสาลี ไข่ไก่ งาดำ งาขาว น้ำตาลทราย เกลือป่น น้ำมันพืช น้ำปูนใส เริ่มจากผสมแป้งทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง ยกพิมพ์ขึ้นซับกับกระดาษซับน้ำมัน แล้วจุ่มลงในแป้งที่เตรียมไว้ ให้แป้งติดพิมพ์ แล้วนำลงไปจุ่มในน้ำมันทอด พอแป้งอยู่ตัวแล้วสะบัดให้แป้งหลุดจากพิมพ์ หากแป้งไม่หลุดให้หาไม้หรือมีดปลายแหลมค่อยๆ เขี่ยออก อย่าให้แป้งแตกออกจะไม่สวย ทอดจนเหลือง แล้วจึงตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงเก็บขนมใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,819

ขนมด้วง

ขนมด้วง

ขนมด้วง ขนมสีสันสดใส น่ารับประทาน ความพิถีพิถันอยู่ที่ต้องผสมแป้งนวดกับน้ำลอยดอกไม้ ทำให้ขนมที่ได้ออกมามีกลิ่นหอม โดยนำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำครึ่งถ้วยตวง นำแป้งข้าวเจ้าลงกวนให้สุก เสร็จแล้วนำออกมานวดกับแป้งมันสำปะหลัง แล้วแบ่งเป็นลักษณะท่อนยาว และนำมาใส่พิมพ์ทำตัวขนมด้วง นำไปนึ่งประมาณ 10 นาที ให้สุกดี แล้วยกลงแช่ในน้ำเย็นเพื่อให้ตัวด้วงแยกออกจากกัน เคี่ยวกะทิในระดับปานกลางจนเดือดและใส่เกลือ พร้อมยกลงพัก ใส่ตัวด้วงลงในกะทิที่พักไว้และใช้เทียนอบ ปิดฝาหม้อไว้เพื่อเพิ่มความหอมของขนมตัวด้วง นำน้ำตาลทรายผสมกับงาคั่วโรยหน้าขนมด้วงพร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 11,401

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,937

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 3,527

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,725

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 20,915

ข้าวต้มลูกโยน

ข้าวต้มลูกโยน

"ข้าวต้มลูกโยน” หรือ "ข้าวต้มหาง” เป็นเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการห่อข้าวต้มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ถั่วดำ ผสมน้ำตาลทรายและเกลือ แล้วนำมาห่อด้วยใบเตย หรือใบมะพร้าวอ่อน (คล้ายกับข้ามต้มมัด) โดยจะทำเป็นกรวยห่อหุ้มข้าวเหนียว และเหลือใบไว้เป็นหางยาว ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการใส่บาตร

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 12,049

ขนมทองเอก

ขนมทองเอก

ขนมทองเอกเป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,544

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 5,207

กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ

กะหรี่ปั๊บ เป็นอาหารแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย ได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมในประเทศไทย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น ตอนแรกใช้ชื่อว่า curry puff (พัฟฟ์ผงกะหรี่) ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น กะหรี่พัฟฟ์ และเพี้ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด กะหรี่ปั๊ปไส้ไก่เป็นที่นิยมมาก

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 5,076