ขนมสอดไส้

ขนมสอดไส้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้ชม 6,927

[16.4705612, 99.5283865, ขนมสอดไส้]

         ขนมใส่ไส้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้านชนิดหนึ่งหารับประทานได้ง่ายราคาถูกมีรสหวานหอม รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยทำจากแป้งกะทิและน้ำตาลส่วนประกอบของขนมมีสามส่วนคือไส้กระฉีก แป้งสำหรับห่อไส้ และหน้าขนม

ส่วนผสม ขนมใส่ไส้
         1. มะพร้าวขูดขาว 2 1/2 ถ้วย
         2. น้ำตาลมะพร้าว 1 1/2 ถ้วย
         3. น้ำต้มสุก
         4. เทียนอบ (สำหรับอบควันเทียน) ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ตามความสะดวก
         5. แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วย
         6. น้ำเย็น 1/3 ถ้วย (หรือน้ำใบเตย, น้ำอัญชันแช่เย็น หากต้องการเพิ่มสีสัน)
         7. แป้งข้าวเจ้า 1/3 ถ้วย
         8. เกลือป่น 2 ช้อนชา
         9. หัวกะทิ 3 1/3 ถ้วย
         เตรียมใบตองตัดเป็น 2 ขนาด แผ่นใหญ่ขนาดประมาณ 5X9 เซนติเมตร และแผ่นเล็กขนาดประมาณ 4X6 เซนติเมตร แล้วตัดหัว-ท้ายเป็นสามเหลี่ยม เช็ดให้สะอาดทั้ง 2 ด้าน นำไปตากแดดทิ้งไว้สักครู่ (เพื่อไม่ให้ใบตองแตกขณะห่อขนม)

วิธีทำหน้ากระฉีก (ส่วนผสมไส้)
         1. กวนมะพร้าวขูดกับน้ำตาลมะพร้าว และน้ำต้มสุกในกระทะด้วยไฟอ่อน ๆ จนส่วนผสมเหนียวและแห้ง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
         2. พอส่วนผสมเย็นสนิทแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ประมาณ 1 นิ้วใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด
         3. นำส่วนผสมไส้ไปอบด้วยควันเทียน เตรียมไว้

วิธีทำแป้ง
         นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเย็นจนพอปั้นได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเดียวกับหน้ากระฉีก เตรียมไว้

วิธีทำส่วนผสมหน้าขนม

        ผสมแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น และกะทิคนให้ละลายเข้าด้วยกัน เทใส่ในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอน) ใช้ไฟปานกลางกวนจนข้นและเดือดทั่ว ยกลงจากเตา เตรียมไว้

วิธีทำขนมใส่ไส้แบบห่อใบตอง
        1. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด วางขนมลงบนใบตองที่ซ้อนกัน
        2. หงายใบตองแผ่นใหญ่ขึ้น (ด้านนวล) แล้ววางทับด้วยใบตองแผ่นเล็ก วางไส้ขนมลงไป จากนั้นตักหน้าขนมประมาณ 1/2 ช้อนชา ใส่ด้านบนไส้
        3. ห่อใบตองเป็นทรงสูง ใช้ใบมะพร้าวที่เตรียมไว้คาดและกลัดด้วยไม้กลัดให้เรียบร้อย ตัดปลายเตี่ยวให้เฉียงและยาวพองาม วางเรียงห่อขนมลงในชุดนึ่ง
        4. นำขนมไปนึ่งในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือดพล่านประมาณ 10 นาที ยกลงจากเตา

วิธีทำขนมใส่ไส้สูตรประยุกต์

        1. ตักส่วนผสมหน้ากะทิใส่ลงในถ้วยขนาดเล็ก (หรือพิมพ์พลาสติก) ประมาณ 1/2 ของพิมพ์ เตรียมไว้
        2. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด จากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดจนลอยขึ้นมา ตักขึ้นใส่จาน เตรียมไว้
        3. ค่อย ๆ นำส่วนผสมไส้วางลงในพิมพ์อย่างเบามือให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ

ภาพโดย : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

คำสำคัญ : ขนมสอดไส้

ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมสอดไส้. สืบค้น 11 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว ขนมพื้นบ้านนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยการนำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างรวมกันแล้วนวดแป้งให้เข้ากันเติมน้ำให้แป้งละลาย พอได้ที่ นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน พอร้อนนำแป้งที่เตรียมไว้หยอดลงในกระทะแล้วใช้ช้อนตักน้ำมันลาดตรงแป้งที่กำลังทอด แป้งก็จะฟูตรงกลาง ทำให้เหมือน ฝักบัว (แต่จะทอดได้ครั้งละ 1 ชิ้น เท่านั้น )

 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,744

ขนมเรไร

ขนมเรไร

เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ 3/4 ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว 1/2 ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด 1/3 ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก 1/4 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง เกลือป่น 1/2 ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,815

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเหลืองมะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 5,883

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,507

ขนมชั้น

ขนมชั้น

ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3-4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,572

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,740

ส้มแผ่น

ส้มแผ่น

ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 3,335

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,336

แกงนอกหม้อ

แกงนอกหม้อ

หัวใจหลักของแกงนอกหม้อ อยู่ที่การนำเครื่องทุกอย่างที่ถูกปรุงให้สุกพอดีอย่างที่ใจต้องการใส่ในชามเตรียมไว้ปรุงน้ำแกงจืดให้ได้รสกลมกล่อม แล้วจึงค่อยตักลงใส่ในชาม ข้อดีของการปรุงแกงนอกหม้อคือรสชาติของส่วนประกอบแต่ละชนิด จะยังคงรักษารสชาติดั้งเดิมของตัวเอง และสำหรับเนื้อสัตว์ก็จะไม่สุกเกิน และรสชาติของน้ำแกงก็จะกลมกล่อมอย่างที่ปรุงไว้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 25,812

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน 2 ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 15,800