กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยอบน้ำผึ้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 9,425

[16.2794389, 99.4640206, กล้วยอบน้ำผึ้ง]

ประวัติความเป็นมา         
          การทำกล้วยอบน้ำผึ้งบ้านทรัพย์ท่าเสา แนวความคิดครั้งแรก ในตำบลอ่างทองมีตู้อบ อยู่ 3 ตู้ ซึ่งได้รับงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตำบลละ 1 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มแม่บ้านได้มาแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก พอดีได้ไปดูงานที่บ้านคลองกระล่อน อำเภอบางกระทุ่ม ซึ่งทำกล้วยตาก โดยใช้วิธีตากแดด เกิดความคิดว่าทำไมบ้านเรา ตำบลไม่ทำขายบ้าง ซึ่งมีทั้งวัตถุดิบ และมีตาลาดรองรับ คือ ตลาดมอกล้วยไข่
          หลังจากการดูงานที่อำเภอบางกระทุ่ม ก็มารวมกลุ่มทำกล้วยอบน้ำผึงซึ่งมีสมาชิกครั้งแรก 15 คน โดยใช้กล้วยอบในตู้อยู่ใช้เวลาประมาณ 3 วันจึงจะใช้ได้ แต่การรวมกลุ่มมีปัญหามาก สมาชิกไม่ค่อยมีเวลาว่างมาทำกัน และเวลากลางคืนไม่มีคนทำจะมาช่วยดูกล้วยอบซึ่งปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประธาน
          ต่อมาหันมาใช้วิธีผลิตโดยใช้จ้างแรงงานใครมาทำงานก็จะได้ค่าตอบแทนโดยวิธีการบริหารจัดการให้ค่าแรงวันละ 200 บาทต่อคน และได้ทำการผลิต และจำหน่ายที่ตลาดมอกล้วยไข่ จนกล้วยอบน้ำผึ้งบ้านทรัพย์ท่าเสาติดตลาด ต้องซื้อตู้อบเพิ่มอีก 1 ตู้ โดยกู้เงินจากกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านทรัพย์ท่าเสา เพิ่มกำลังผลิตจนมีการขยายตลาดไปยังร้านายของฝาก ตามปั๊มน้ำมันต่าง ๆ
          ซึ่งกล้วยอบบ้านทรัพย์ท่าเสา มีเอกลักษณ์ที่รสชาติหวานหอมไม่เหมือนกับกล้วยตากทั่วๆไป และอบจากตู้อบจะทำให้สีสันสวยและมีรดชาดอร่อยสะอาด

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
         1. กล้วยน้ำว้า
         2. น้ำผึ้ง

ขั้นตอนการผลิต
         1. เตรียมกล้วยดิบ ซึ่งแก่จัด นำมาบ่ม 1 คืน แล้วนำออกมาวางผึ่งไว้อีก 4 คืน แล้วนำกล้วมาบอกเปลือกนำเข้าตู้อบที่ 1 ซึ่งเป็นตู้ไล่ความชื้น ใช้เวลา 1 วัน ( 24 ชั่วโมง)
         2. นำกล้วยออกจากตู้ไล่ความชื้น เข้าตู้ที่ 2 อบตู้อีก 1 วัน (24 ชั่วโมง) โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 2 ให้ดึงถาดกล้วยแล้วปั่นกล้วยเพื่อให้กล้วยนิ่ม ไม่แข็งกระด้างปั้นเสร็จแล้วนำเข้าตู้อบต่ออีก 1 คืน พอสายๆ ของอีกหนึ่งวันกล้วยจะใช้ได้ แต่ละวันต้องมีการกลับกล้วย ผลักด้านล่างขึ้นด้านบน เพื่อจะได้กล้วยที่เหลือเสมอกัน
         3. ปิดตู้อบ แล้วนำกล้วยออกจากตู้ ที่ไว้ให้เย็นแล้วจึงนำนำกล้วยมาใส่น้ำผึ้งแล้วบรรจุลงกล่อง ซีลให้เรียบร้อย ติดสติกเกอร์ แล้วนำออกจำหน่ายได้

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
         1. เลือกกล้วยที่แก่จัด 90-100 % ของความแก่ของกล้วยเพาะจะทำให้สีกล้วยสวย รสหวาน
         2. วันแรกที่ใส่ตู้ที่ 1 ใช้ความร้อนในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จะต้องปิดตู้สักพักเพื่อนำกลัวมาคนให้เข้ากันหรือเรียกว่าทำกล้วยให้ช้ำเสียก่อนหลังจากปิดตู้ได้ประมาน 3 ชั่วโมง จึงปิดมาคนกล้วยแล้วจึงเปิดตู้อบที่ 1 ต่อถ้าไม่ทำกล้วยให้ช้ำก็จะได้กล้วยดังนี้เป็นแบบกล้วยปิ้ง สีขาวๆ ไม่เหลือง

ภาพโดย :http: //www.otoptoday.com/wisdom/1652

 

คำสำคัญ : กล้วยอบน้ำผึ้ง

ที่มา : http: //www.otoptoday.com/wisdom/1652

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กล้วยอบน้ำผึ้ง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=570&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=570&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า "ทอง" จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 11,025

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว

มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง โดยมะปรางที่เหมาะจะมานำลอยแก้ว ได้แก่ มะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ เริ่มจากฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 3,224

แกงขี้เหล็ก

แกงขี้เหล็ก

แกงขี้เหล็ก เป็นการนำใบอ่อน ดอกและยอดของต้นขี้เหล็ก ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย มาปรุงเป็นอาหาร นอกจากจะรับประทานในครัวเรือน ยังนิยมปรุงเลี้ยงแขกเทศกาลงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานศพ ด้วยรสชาติของขี้เหล็กมีรสขม ก่อนปรุงจึงต้องนำมาต้มน้ำทิ้งก่อน ช่วย ลดสารที่เป็นพิษ และทำให้มีรสชาติดีขึ้นเมื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร แกงขี้เหล็กช่วยให้ถ่ายง่าย สบายท้อง ในยอดอ่อน และใบขี้เหล็ก ประกอบด้วย เบตาคาโรทีน ใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ในปริมาณที่สูงกว่าผักชนิดอื่นๆ การรับประทานแกงขี้เหล็ก จึงเหมือนกับรับประทานยาด้วยเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,460

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ

ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,626

ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นขนมหวานไทยยอดนิยม และจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษในฤดูร้อน ทำจากข้าวเหนียว เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงูกับหัวกะทิ เกลือป่น และน้ำตาลทรายขาว แล้วกินกับเนื้อมะม่วงสุก ที่นิยมคือ มะม่วงอกร่อง และมะม่วงน้ำดอกไม้อาจราดกะทิ และโรยถั่วบางชนิด แล้วแต่ชอบใจข้าวเหนียวมะม่วงมีแคลอรีสูง ถ้ากินขณะเป็นโรคกระเพาะอาหาร, ม้ามพร่อง หรือระบบย่อยอาหารบกพร่อง จะท้อฃอืด, จุกเสียดแน่น และอาหารย่อยยากมากขึ้นได้ นอกจากนี้ หากรับประทานเกินพอดี จะร้อนใน, เจ็บคอ, , ปวดหัว เป็นต้น เอาได้ อย่างไรก็ดี ข้าวเหนียวในขนมหวานชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นของร้อนรสหวาน จะช่วยบำรุงพลัง ตลอดจนบำบัดอาการเหงื่อออกมาก และท้องเสีย โดยเฉพาะมะม่วงที่มีรสหวานปนเปรี้ยวนั้น ช่วยบำรุงร่างกาย, แก้ไอ และขับลมได้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 6,570

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ หาง่าย และมีอยู่มากมายในประเทศไทย ทุกภาคและทุกจังหวัดล้วนมีกล้วยอยู่แทบทั้งสิ้น เป็นที่รู้กันว่ากล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ ใบ ลำต้น และผล นอกจากนี้กล้วยมักจะเหลือจากที่รับประทานกันมาก ก็เลยมีการแปรรูปกล้วยหลายอย่าง เช่น กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยแขกทอด เป็นต้น

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 9,425

แมงอีนูน

แมงอีนูน

ฤดูเก็บแมงอีนูนมาถึงแล้ว เมื่อฝนเริ่มตกชุก ครูมาลัย ชูพินิจ ได้รจนานวนิยาย เรื่องทุ่งมหาราช เพื่อสะท้อนชีวิตและภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชร เมื่อ 150 ปีที่แล้วไว้ว่า “ทุก ๆ เย็นเกาะใหญ่กลางลำน้ำปิง ซึ่งไร่เริ่มร้างและพกเริ่มรก เซ็งแซ่ไปด้วยชาวปากคลองใต้และบ้านไร่ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เสียงเพลงเก่าและแอ่วลาวล่องมาในอากาศ ท่ามกลางแมงอีนูนที่ออกมาจากรู บินว่อนขึ้นไปแน่นฟ้า เกาะอยู่ตามกอพงต่ำลงมา และศีรษะของผู้เก็บสำหรับจะยัดลงไปไต่ยั๊วเยี๊ยอยู่ในข้องหรือหม้อ ตามแต่ละคนจะหากันได้ เพื่อนำมาเป็นอาหารคาวหรือหวานกันต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,346

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน 2 ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 14,437

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,284

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,101