กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยอบน้ำผึ้ง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 9,025

[16.2794389, 99.4640206, กล้วยอบน้ำผึ้ง]

ประวัติความเป็นมา         
          การทำกล้วยอบน้ำผึ้งบ้านทรัพย์ท่าเสา แนวความคิดครั้งแรก ในตำบลอ่างทองมีตู้อบ อยู่ 3 ตู้ ซึ่งได้รับงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจตำบลละ 1 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มแม่บ้านได้มาแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก พอดีได้ไปดูงานที่บ้านคลองกระล่อน อำเภอบางกระทุ่ม ซึ่งทำกล้วยตาก โดยใช้วิธีตากแดด เกิดความคิดว่าทำไมบ้านเรา ตำบลไม่ทำขายบ้าง ซึ่งมีทั้งวัตถุดิบ และมีตาลาดรองรับ คือ ตลาดมอกล้วยไข่
          หลังจากการดูงานที่อำเภอบางกระทุ่ม ก็มารวมกลุ่มทำกล้วยอบน้ำผึงซึ่งมีสมาชิกครั้งแรก 15 คน โดยใช้กล้วยอบในตู้อยู่ใช้เวลาประมาณ 3 วันจึงจะใช้ได้ แต่การรวมกลุ่มมีปัญหามาก สมาชิกไม่ค่อยมีเวลาว่างมาทำกัน และเวลากลางคืนไม่มีคนทำจะมาช่วยดูกล้วยอบซึ่งปล่อยให้เป็นหน้าที่ของประธาน
          ต่อมาหันมาใช้วิธีผลิตโดยใช้จ้างแรงงานใครมาทำงานก็จะได้ค่าตอบแทนโดยวิธีการบริหารจัดการให้ค่าแรงวันละ 200 บาทต่อคน และได้ทำการผลิต และจำหน่ายที่ตลาดมอกล้วยไข่ จนกล้วยอบน้ำผึ้งบ้านทรัพย์ท่าเสาติดตลาด ต้องซื้อตู้อบเพิ่มอีก 1 ตู้ โดยกู้เงินจากกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านทรัพย์ท่าเสา เพิ่มกำลังผลิตจนมีการขยายตลาดไปยังร้านายของฝาก ตามปั๊มน้ำมันต่าง ๆ
          ซึ่งกล้วยอบบ้านทรัพย์ท่าเสา มีเอกลักษณ์ที่รสชาติหวานหอมไม่เหมือนกับกล้วยตากทั่วๆไป และอบจากตู้อบจะทำให้สีสันสวยและมีรดชาดอร่อยสะอาด

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
         1. กล้วยน้ำว้า
         2. น้ำผึ้ง

ขั้นตอนการผลิต
         1. เตรียมกล้วยดิบ ซึ่งแก่จัด นำมาบ่ม 1 คืน แล้วนำออกมาวางผึ่งไว้อีก 4 คืน แล้วนำกล้วมาบอกเปลือกนำเข้าตู้อบที่ 1 ซึ่งเป็นตู้ไล่ความชื้น ใช้เวลา 1 วัน ( 24 ชั่วโมง)
         2. นำกล้วยออกจากตู้ไล่ความชื้น เข้าตู้ที่ 2 อบตู้อีก 1 วัน (24 ชั่วโมง) โดยในช่วงบ่ายของวันที่ 2 ให้ดึงถาดกล้วยแล้วปั่นกล้วยเพื่อให้กล้วยนิ่ม ไม่แข็งกระด้างปั้นเสร็จแล้วนำเข้าตู้อบต่ออีก 1 คืน พอสายๆ ของอีกหนึ่งวันกล้วยจะใช้ได้ แต่ละวันต้องมีการกลับกล้วย ผลักด้านล่างขึ้นด้านบน เพื่อจะได้กล้วยที่เหลือเสมอกัน
         3. ปิดตู้อบ แล้วนำกล้วยออกจากตู้ ที่ไว้ให้เย็นแล้วจึงนำนำกล้วยมาใส่น้ำผึ้งแล้วบรรจุลงกล่อง ซีลให้เรียบร้อย ติดสติกเกอร์ แล้วนำออกจำหน่ายได้

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
         1. เลือกกล้วยที่แก่จัด 90-100 % ของความแก่ของกล้วยเพาะจะทำให้สีกล้วยสวย รสหวาน
         2. วันแรกที่ใส่ตู้ที่ 1 ใช้ความร้อนในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จะต้องปิดตู้สักพักเพื่อนำกลัวมาคนให้เข้ากันหรือเรียกว่าทำกล้วยให้ช้ำเสียก่อนหลังจากปิดตู้ได้ประมาน 3 ชั่วโมง จึงปิดมาคนกล้วยแล้วจึงเปิดตู้อบที่ 1 ต่อถ้าไม่ทำกล้วยให้ช้ำก็จะได้กล้วยดังนี้เป็นแบบกล้วยปิ้ง สีขาวๆ ไม่เหลือง

ภาพโดย :http: //www.otoptoday.com/wisdom/1652

 

คำสำคัญ : กล้วยอบน้ำผึ้ง

ที่มา : http: //www.otoptoday.com/wisdom/1652

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กล้วยอบน้ำผึ้ง. สืบค้น 23 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=570&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=570&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย

ขนมต้มใบเตย เป็นเมนูขนมไทยๆ สุดแสนอร่อย แป้งเหนียวนุ่มๆ หอมกลิ่นใบเตย ไส้มะพร้าวหวานหอม คลุกเคล้ามะพร้าวขูดเส้น หวานมันหอมอร่อย อร่อยแบบไทยๆ เรามีเคล็ดลับในการทำคือ การทำไส้ขนมที่รสชาติหอมหวานมัน คือใช้มะพร้าวทึนทึกขูดเส้น กับน้ำตาลปี๊บเคี่ยวจนเหนียว ล้วนำมาปั้นเป็นก้อนๆ เตรียมไว้ แล้วจึงนำมาห่อไส้ขนม การปั้นต้องค่อยๆ ห่อแป้งหุ้มไส้ให้มิดปิดสนิทแล้วคลุกเคล้ากับมะพร้าวทึนทึกขูดเส้นให้ทั่วๆ จะได้ขนมต้มใบเตยหอมๆ รสชาติอร่อยหอมหวานมัน หวังว่าทุกท่านคงอร่อย กับขนมต้มใบเตย

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 11,298

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 2,824

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตงหรือขนมแตงลาย (แตงลาย คือแตงไทย)มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย และขนมตาล เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอม น้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก เป็นแตงไทย

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 4,635

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี

ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,493

กระยาสารท

กระยาสารท

ขนมกระยาสารท ในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไท ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญ กุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเหมือนกับอวดฝีมือขแงกระยาสาทรแต่ละบ้าน กระยาสาทรจะกินคู่กับกล้วยไข่ เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงทึ่กล้วยไข่ออกผลนั้นเอง และรสชาติของกล้วยไข่จะช่วยท่อนรสหวานของกระยาสาทรได้ดี เสริมให้กินอร่อยหวานมันกำลังดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,510

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน 2 ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 13,160

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงสะละหมั่น (มัสมัน)

แกงมัสมั่น เป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบไทย ออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมัน เอกลักษณ์ที่สำคัญของแกงชนิดนี้คือหอมเครื่องเทศนานาชนิด ได้แก่ ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น กานพลู อบเชย สามารถแกงกับเนื้อสัตว์หลายชนิด คนไทยนิยมแกงมัสมั่นไก่ เนื้อวัว และหมู แกงนี้มีไขมันค่อนข้างสูง จึงทำให้มีพลังงานสูง มีโปรตีนจากเนื้อไก่ ใยอาหารและสรรพคุณทางยา จากเครื่องแกง ได้แก่ อบเชย ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หัวหอมแขกช่วยบรรเทาอาการหวัด น้ำมะขามเปียกมีวิตามินซี และเป็นยาระบายอ่อนๆ ยี่หร่า กานพลู ช่วยขับลม ขับเสมหะ ส่วนขิงช่วยลดไขมันในเลือดได้

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,498

ขนมชั้น

ขนมชั้น

ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3-4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,686

 แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง

แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,759

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 15,748