ลายตะต่อกิ๊

ลายตะต่อกิ๊

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 862

[16.121008, 99.3294759, ลายตะต่อกิ๊]

       ผ้าที่ได้จากการทอของกะเหรี่ยงจะเป็นผ้าหน้าแคบไม่เกิน 20 นิ้ว ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ทอ เครื่องนุ่งห่มของกะเหรี่ยงจึงเป็นการนำผ้าทั้งผืนมาเย็บประกอบกันโดยพยายามหลีกเลี่ยงการตัดผ้าที่ทอแต่ละชิ้นเมื่อนำมาประกอบเป็นเครื่องนุ่มห่มจะไม่มีเศษเหลือทิ้ง ด้วยเหตุนี้รูปทรงของเสื้อผ้ากะเหรี่ยงจึงไม่มีส่วนโค้งส่วนเว้า สิ่งสำคัญในการนำผ้ามาประกอบกันคือ ต้องเป็นผ้าที่ทอขึ้นสำหรับทำเครื่องนุ่งห่มตัวหรือผืนโดยเฉพาะจะนำไปประกอบกับส่วนของตัวหรือผืนอื่นไม่ได้ เช่นผ้าที่ทอเพื่อเย็บเป็นเสื้อผู้ชายจะนำมาเย็บเป็นย่ามหรือผ้าห่มไม่ได้เนื่องจากได้กำหนดลวดลาย สี และขนาดไว้แล้วก่อนที่จะทอผ้าแต่ละผืน

ภาพโดย :  http://www.openbase.in.th/node/653

คำสำคัญ : ลายชุดชนเผ่า

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/653

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายตะต่อกิ๊. สืบค้น 11 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=529&code_db=DB0012&code_type=0033

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=529&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ลวดลายนั้นจะมาจากการมองดูธรรมชาติรอบๆตัวแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นลวดลายในผืนผ้า โดยการยกเขา 4 เขา เป็นกะเหรี่ยงลายดั้งเดิมตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,037

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การทำกระทงเปลือกข้าวโพดของตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกทิ้งหลังจาการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด เนื่องจากมีอยู่มากจึงมีปัญหาเกิดการเผาเปลือกข้าวโพด การนำเปลือกข้าวโพดไปทิ้งตามแม่น้ำจึงเกิดผลเสียต่างๆ ทั้งผลเสียจากมลพิษทางอากาศและน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูปทำกระทง จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือจากการเย็บบายศรีจากใบตอง มาเย็บเปลือกข้าวโพด นำเปลือกข้าวโพดไปตากแห้งย้อมสีให้สวยงามแล้วนำมาขึ้นรูปต่อกันจนเกิดเป็นรูปร่างตามต้องการ การนำดอกหญ้าแห้งที่มีอยู่ในพื้นที่มาย้อมสีและตกแต่งจนเกิดความสวยงามเป็นความแปลกใหม่และเป็นที่นิยมต่อความต้องการของลูกค้าจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 5,462

ลายเรียบ

ลายเรียบ

ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 795

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,700

เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์

เสื้อเซวากะเหรี่ยงโปว์

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยาและตองูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกาย ไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มกะเหรี่ยงสะกอ และโปในทุกจังหวัดของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,854

ลายปะดังดอง (แมงมุม)

ลายอ่องกึ้ยหรือลายจก คือ ลวดลายที่เกิดจากการสอดด้ายสลับสีเข้าไปบางส่วนของเนื้อผ้า ตามลวดลายและสีในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งลายจกของชาวกะเหรี่ยงที่พบมีทั้งลายดั้งเดิม และลายที่ดัดแปลง ขึ้นมาใหม่ มีดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 828

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 845

ลายฉุ่ยข่อล่อ

ลายฉุ่ยข่อล่อ

ชาวกะเหรี่ยงขาวมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี 4 ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,357

ลายอี๊เมียนี้ต่า

ลายอี๊เมียนี้ต่า

อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,096

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,122