ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,762
[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า]
การตัดเย็บการปักลายและการใช้สีในการปักลายเครื่องใช้ต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพิธีบวช (กว๋าตัง) และพิธีแต่งงานเช่น ผ้าต้มผาเป็นผ้าคลุมวางทับโครงไว้บนศีรษะของเจ้าสาวในพิธีแต่งงานแบบใหญ่ ฯลฯ แต่ที่เมี่ยนนิยมปักลายมีผ้าห่อเด็กสะพายหลัง [ซองปุ๋ย] และถุงใส่เงิน [ย่านบั่ว] และสิ่งที่เมี่ยนนำมาตกแต่งคือ การถักเส้นด้าย คล้ายดิ้นใช้สำหรับติดปลายชายเสื้อผ้าการใช้ผ้าตัดปะเป็นวิธีการอันเก่าแก่ของเมี่ยนที่ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนส่วนใหญ่เมี่ยนที่พันหัวแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) จะนิยมการตัดปะ ส่วนการใช้พู่ประดับสตรีเมี่ยนทุกกลุ่มจะติดพู่ก้อนกลม สีแดงเป็นแถวยาวและสร้อยลูกปัดติดพู่ห้อย อาจจะใช้ไหมพรมสีแดงจำนวนเส้นคู่ตั้งแต่ 2-8 เส้นติดที่ชายเสื้อสตรีตรงข้างเอว
ชาวเมี่ยนให้ความสำคัญกับการแต่งกายให้เหมาะสมก่อนการทำพิธีกรรม การเย็บปักชุดจึงเป็นเรื่องของหญิงเมี่ยน ซึ่งชุดการเข้าพิธีจะคล้ายกับชุดเทวภาพเต๋า (เมี้ยน) ที่เมี่ยนนำถือ ซึ่งก่อนการเข้าพิธีบวช (ก๋วาตัง) หญิงเมี่ยนจะต้องเตรียมชุดไว้ให้พร้อมก่อนการเข้าพิธีกรรม การปักผ้าชุดของผู้เข้าพิธกรรมีที่มีลวดลายปัก มีผ้าจุ้นและเส้นต้อตาย สีที่ใช้มีสีขาวและสีแดง เป็นส่วนใหญ่นอกจากนี้อาจารย์ผู้ประกอบพิธีกรรมและผู้เข้าพิธีกรรมต้องใช้คือผ้าชนิดต่างๆมาประกอบด้วย
ประกอบไปด้วยเสื้อตัวสั้นหลวม คอกลมชิ้นหน้าห่ออกอ้อมไปติดกระดุมลูกตุ้มเงินถึงสิบเม็ด เป็นแถวทางด้านขวาของร่างในบางที่อาจนิยม ปักลายดอกที่ผืนผ้าด้วย แล้วสวมกับกางเกงขาก๊วยทั้งเสื้อ และกางเกงตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายทอมือย้อมครามสีน้ำเงิน หรือย้อมดำคนรุ่นเก่ายังสวมเสื้อกำมะหยี่ในงานพิธี แต่ยิ่งอายุมากขึ้นเสื้อของชายเมี่ยนก็จะลดสีสันลงทุกทีจนเรียบสนิท ในวัยชราบุรุษเมี่ยนจะใช้ผ้าโพกศีรษะในงานพิธีเท่านั้น เครื่องแต่งกายเด็ก ทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการแต่งกายที่คล้ายกับแบบฉบับของการแต่งกายผู้ใหญ่ทั้งหญิง และชาย เพียงแต่เครื่องแต่งกาย ของเด็กจะมีสีสันน้อยกว่าบ้าง เช่น เด็กหญิงอาจจะยังไม่ปักกางเกงให้ เพราะยังไม่สามารถรักษาหรือดูแลให้สะอาดได้ จึงเป็นการสวมกางเกง เด็กธรรมดาทั่วไป ส่วนเด็กชายก็เหมือนผู้ใหญ่ คือ มีเสื้อกับกางเกงและที่ไม่เหมือนคือเด็กชายจะมีหมวกเด็ก ซึ่งทั้งเด็กหญิงและเด็กชายจะมีการปักก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่หมวกเด็กผู้ชายจะเย็บด้วยผ้าดำสลับผ้าแดง เป็นเฉกประดับด้วยผ้าตัดเป็นลวดลายขลิบริมด้วยแถบไหมขาวติดปุยไหมพรมแดงบนกลางศีรษะ หรือมีลายเส้นหนึ่งแถวและลายปักหนึ่งแถวสลับกันอย่างละสองแถว สำหรับหมวกเด็กหญิงมีลายปักเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแถว หรือสองแถวและจะมีผ้าดำปักลวดลายประดับไหมพรมสีแดงสดบนกลางศีรษะและข้างหู
ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง
ประกอบไปด้วยกางเกงขาก๊วย ซึ่งเต็มไปด้วยลายปักเสื้อคลุมตัวยาวถึงข้อเท้า มีไหมพรมอยู่รอบคอ ผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ การพันศีรษะต้องพันศีรษะ ด้วยผ้าพื้นเป็นชั้นแรก จากนั้นก็มาพันชั้นนอกทับอีกที การพันชั้นนอกจะใช้ผ้าพันลายปัก ซึ่งมีลักษณะการพันสองแบบคือแบบหัวโต (ก่องจุ้น) และแบบหัวแหลม (ก่องเปลวผาน) และผ้านี้จะพันไว้ตลอดแม้ในเวลานอน หญิงเมี่ยนนุ่งกางเกงขาก๊วยสีดำด้านหน้ากางเกง เป็นลายปักที่ละเอียด และงดงามมาก ลวดลายนี้ใช้เวลาปัก 1 - 5 ปีขึ้นอยู่กับความละเอียดของลวดลาย และเวลาว่างของผู้ปักเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้หญิงเมี่ยนจึงอวดลายปักของตน ด้วยการรวบปลายเสื้อที่ผ่าด้านข้างทั้งสองมามัดด้านหลัง และใช้ผ้าอีกผืนหนึ่งทำหน้าเป็นเข็มขัดทับเสื้อ และกางเกงอีกรอบหนึ่ง โดยทิ้งชายเสื้อซึ่งปักลวดลายไว้ข้างหลัง การตัดเย็บจะตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายพื้นสีดำ ยกเว้นเสื้อคลุมซึ่งอาจใช้ผ้าทอเครื่องในบางกรณี การปักลายของเมี่ยนตามบางท้องถิ่นอาจเหมือนหรือแตกต่างกันบ้างตามความนิยม
คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า
ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/5466
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : เย้า. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=414&code_db=610007&code_type=02
Google search
มูเซอ เป็นกลมชนเผ่าที่มีต้นกําเนิดในดินแดนทิเบต ชาวมูเซอเรียกตัวเองว่า ลาหู่ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า คน ส่วนคําว่ามูเซอนั้นเป็นคําในภาษาไทยใหญ่มีความหมายหมายถึง นายพราน หรือ นักล่าสัตว์ ทั้งนี้เพราะในอดีตนั้นผู้ชายชนเผ่ามูเซอส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีฝีมือและความชํานาญในด้านการล่าสัตว์ ในประเทศไทยพบชาวมูเซอมากถึง 7 กลุ่ม ได้แก่มูเซอดํา มูเซอแดง มูเซอเหลือง มูเซอขาว มูเซอเฌเล มูเซอ ชีบาเกียว มูเซอลาบา แต่มูเซอกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักพบบ่อยได้แก่กลุ่มมูเซอดํา และกลุ่มมูเซอเหลือง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 906
ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 561
บรรพบุรุษของชนเผ่ามูเซอนั้นมีทั้งกลุ่มที่นับถือผีและกลุ่มที่นับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นในการ สร้างสรรค์ศิลปะเอกลักษณ์ลวดลายบนผืนผ้าของชาวมูเซอจึงมักสะท้อนออกมาถึงเรื่องราวที่ความเกี่ยวพันกับ ความเชื่อเรื่องผีวิญญาณ และลวดลายที่มีความสอดคล้องกับความเชื่อในพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาผสม รวมเข้าอยู่ด้วยกัน ดังเช่น ลายน้ําเต้า หรือในภาษาชนเผ่ามูเซอเรียกว่า อ่าพู้
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 523
อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 776
ขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตัวเอง ในประเทศลาวเป็นแหล่งใหญ่ที่มีชาวขมุ จะเรียกชาวขมุว่า “ ลาวเทิง” หรือลาวบนที่สูง ในประเทศไทย ชาวขมุเข้ามานานพอสมควร อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,672
ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,009
ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,257
ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,300
การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,187
ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 574