ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,471

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าลีซู (ลีซอ)
เทศกาลปีใหม่เป็นยามที่ดรุณีลีซูทั้งหลายแต่งกายกันอย่างเต็มที่ เครื่องประดับเงินจะทับโถมอยู่เต็มทรวงเจ้าหล่อน จะสวมเสื้อกั๊กกำมะหยี่ดำ ซึ่งปักปรายไปด้วยดุมเงิน เป็นสายและดอกดวง ทั้งด้านหน้าและหลังยืดอกปิดด้วยหัวเข็มขัดเงินแผ่นสีเหลี่ยม เรียงลงมาเป็นแถวรอบคอ รัดด้วยแถบผ้าติดสร้อยระย้า ซึ่งแผ่สยายอยู่เต็มอก ส่วนติ่งหูเจาะรูสองข้างเกี่ยวตะขอห้อยตุ้มระย้าซึ่งติดพู่ไหมพรมเพิ่มสีสันเข้าไปด้วย แถมสร้อยเงินหลายสายที่โยงผ่านใต้คางจากตุ้มซ้ายไปสู่ตุ้มขวา ส่วนข้อมือทั้งสองสวมกำไลแผ่นกว้าง แต่งด้วยอัญมณี แม้นิ้วก็สวมแหวนเงินไว้

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

        ชุดของผู้ชาย ประกอบด้วยกางเกงเป้าต่ำสีฟ้าหรือสีอะไรก็ได้ สวมเสื้อแขนยาว จะติดด้วยกำมะหยี่ ซับในขวามักแต่งด้วยดุมเงินยิ่งมากยิ่งดี เอวคาดด้วยผ้าแดง และในย่ามก็ห้อยพู่หางม้ายาวคล้ายของผู้หญิง แต่ว่าหนุ่มนั้นห้อยไว้ข้างหน้า เดิมทีผู้ชายจะสวมผ้าโพกศีรษะทำด้วยผ้าไหมสีแดง ฟ้า เหลือง และดำ แต่ปัจจุบันหายากแล้ว เห็นใช้กันแต่ผ้าขนหนูขาว สอดกระดาษแข็งให้ตั้งขึ้นราว 20 ซม. พันรอบศีรษะง่ายๆ และห้อยตุ้มหูเงินข้างเดียวจากรูที่เจาะไว้ที่ติ่งหูซ้าย สวมกำไลก้านเงินเรียบๆ ที่ข้อมือข้างละวง ย่ามใช้งานของลีซูทอด้วยด้ายขาวหรือด้ายดิบโดยใช้ที่ผูกข้อมือ เป็นผ้าพื้นขาวยกลายทางสีแดง หรือสีอื่นๆ นอกจากสะพายบ่าเหมือนเผ่าอื่น ยังมีการติดสายหวายถัก ซึ่งใช้คาดศัรษะให้ตัวย่าม ห้วอยู่บนบ่าอีกด้วย ย่ามไปงานทอด้วยเส้นด้าย มีการทิ้งครุยกรายด้านข้าง แล้วยังมีหู คือ ชิ้นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่มุมทั้งสองของย่าม ลายปักงดงามแปลกตาที่หู ไม่มีซ้ำกัน เพราะถือว่าเป็นลายเซ็นของคนทำ บางคนก็จะติดกระดุมเงินเม็ดน้อยไว้ที่มุมหู ปากย่ามกุ๊น และปะแต่งด้วยแถบผ้าหลากสี และยังทิ้งแถบผ้าสีแดง และสีฟ้าเข้มห้อยจากหูลงไปด้วย ย่ามที่งดงามที่สุดไม่ว่าจะเป็นของลีซู หรือเผ่าอื่นใดคือ ย่ามเกี้ยวสาวของหนุ่มวัยกำดัดนั้นทำเหมือนย่ามที่กล่าวมาแล้ว แต่แผ่นหน้าปักลูกปัดเป็นเม็ดเล็กๆ หลายสีไว้เต็มพืดเป็นลายละเอียดแถบผ้าที่ห้อยจากหูนั้นยาวร่วม 20 ซม. ปักประดับด้วยด้ายสีสดหลายสีไม่มีว่างเว้นกัน ย่ามห้อยครุยไหมพรมหลากสียาวเทาแถบผ้าจากหู และปกย่ามติดกระดุมตุ้มระย้าเงินตลอดแนว

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง

         ผู้หญิงลีซอทุกวัยแต่งกายด้วยผ้าสีสดใส สวมใส่เป็นเสื้อตัวหลวม แขนกระบอก ส่วนหน้าของเสื้อยาวถึงเข่า นิยมสีน้ำเงิน เขียว ฟ้า และม่วง คอเป็นผ้าสีดำ ตกแต่งลวดลายสวยงาม โดยนำผ้าแถบผ้าสีต่างๆ เช่น ม่วง ฟ้า ชมพู เขียว ดำ ขาว ส้ม แดง มาเย็บต่อกันเป็นริ้ว สวมเสื้อกั๊กที่ตกแต่งด้วยกระดุมเงิน สวมกางเกงหลวมๆ สีดำ ในตัวเสื้อ ใช้ผ้าสีดำพันรอบเอว คล้ายเข็มขัด สวมปลอกขาเพื่อป้องกันแมลง กิ่งไม้ หรือกันหนาว ผู้หญิงสูงวัยโพกหัวด้วยผ้าสีดำยาวพันหัวหลายๆ รอบแล้วเก็บชาย หญิงสาวจะสวมหมวกโดยประดับประดาด้วยลูกปัดหลากสี ส่วนผู้ชายลีซอ ทุกวัยแต่งกายเหมือนกัน โดยสวมใส่กางเกงที่มีความยาวเลยเข่าเล็กน้อย เป้ากว้างมาก สีน้ำเงิน สีเขียว ฟ้า เสื้อสีดำ แขนยาว คอป้ายตกแต่งกระดุมเงิน ติดรังดุมสีน้ำเงินที่ส่วนบนของตัวเสื้อ สวมปลอกขาสีดำ
         เครื่องแต่งกายของสตรีลีซู เป็นประจักษ์พยานอันชัดถึงการแข่งขันกันเป็นหนึ่งอย่างไม่ยอมน้อยหน้าใครเห็นได้ตั้งแต่ส่วนบ่า และตันแขนของเสื้อซึ่งใช้แถบผ้าเล็กๆ ซ้อนทับสลับสีไล่กันไปรอบๆ คอ และไส้ไก่ปลายเป็นปุยมากมายที่ห้อยสยายลงมาจากปลายผ้ารัดทางด้านหลัง ทั้งเครื่องประดับเงิน และมีแต่งทับสลับช้อนเป็นแผงเต็มอกไม่มีที่ว่าง การแต่งกายของสตรีลีซูเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิมมาก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในบริเวณช่วงไหล เนื่องจากสมัยก่อนใช้การเย็บด้วยมือ แต่สมัยนี้เย็บด้วยจักร การเย็บจะปราณีตกว่า สวยกว่า แต่เล็กกว่าแบบดั้งเดิม เดิมที่ลีซูทำเสื้อผ้าฝ้ายใยกัญชา แต่ทุกวันนี้หญิงลีซูแถบเหนือจะใช้ผ้าฝ้าย ส่วนพม่าในจีนก็ยังคงนุ่งกระโปรง ผ้าใยกัญชาจีบสลับซับซ้อน ลีซูในพม่าการแต่งกายจะแตกต่างกัน และหลายแบบ ซึ่งไม่เหมือนกันชนเผ่าลีซูในเมืองไทย หญิงลีซูในเมืองไทยหันมาใช้ผ้าฝ้าย หรือผ้าใยสังเคราะห์ซึ่งมีขายทั่วไปในท้องตลาด ตัวเสื้อทรงตรงหลวมยาวผ่าข้างทั้งสองขึ้นมาถึงเอว ด้านหน้าคลุมเข่า ด้านหลังห้อยลงไปคลุมน่อง คอกลมติดสาบเฉียงแบบจีนจากกลางคอลงไปถึงแขนขวา ผ้าชิ้นอกของเสื้อมักต่างกันส่วนอื่นๆ ตัวเสื้อมักเป็นสีฟ้าอมเขียวหรือสีอื่นๆ

ภาพโดย : http://www.openbase.in.th/node/5466

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/5466

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=416&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=416&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

เสื้อลวดลายสลับสี

เสื้อลวดลายสลับสี

เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 617

อีก้อ

อีก้อ

อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,130

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ลีซูเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มธิเบต-พม่า ของชนชาติโลโล ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของชนเผ่าลีซูอยู่บริเวณต้นน้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน อยู่เหนือหุบเขาสาละวินในเขตมณฑลยูนนานตะวันตกเฉียงเหนือและตอนเหนือของรัฐคะฉิ่น ประเทศพม่า ชนเผ่าลีซูส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อ 4,000 ปี ที่ผ่านมา เคยมีอาณาจักร เป็นของตนเอง แต่ต้องเสียดินแดนให้กับจีนและกลายเป็นคนไร้ชาติต่อมาชนเผ่าลีซู จึงได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่รัฐฉานตอนใต้ กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาในเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงตุง บางส่วนอพยพไปอยู่เขตเมืองซือเหมา สิบสองปันนา ประเทศจีน หลังจากนั้นได้อพยพลงมา ทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันระหว่างชนเผ่าอื่น นับเวลาหลายศตวรรษ ชนเผ่าลีซูได้ถอยร่นเรื่อยลงมา จนในที่สุดก็แตกกระจายกัน เข้าสู่ประเทศพม่า จีน อินเดีย แล้วเข้าสู่ประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,471

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,546

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การทำกระทงเปลือกข้าวโพดของตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกทิ้งหลังจาการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด เนื่องจากมีอยู่มากจึงมีปัญหาเกิดการเผาเปลือกข้าวโพด การนำเปลือกข้าวโพดไปทิ้งตามแม่น้ำจึงเกิดผลเสียต่างๆ ทั้งผลเสียจากมลพิษทางอากาศและน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูปทำกระทง จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือจากการเย็บบายศรีจากใบตอง มาเย็บเปลือกข้าวโพด นำเปลือกข้าวโพดไปตากแห้งย้อมสีให้สวยงามแล้วนำมาขึ้นรูปต่อกันจนเกิดเป็นรูปร่างตามต้องการ การนำดอกหญ้าแห้งที่มีอยู่ในพื้นที่มาย้อมสีและตกแต่งจนเกิดความสวยงามเป็นความแปลกใหม่และเป็นที่นิยมต่อความต้องการของลูกค้าจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 4,649

ลาย 7 สี

ลาย 7 สี

ชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า กับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึงลูกหลานในปัจจุบันตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,326

ลายปะดังดอง (แมงมุม)

ลายอ่องกึ้ยหรือลายจก คือ ลวดลายที่เกิดจากการสอดด้ายสลับสีเข้าไปบางส่วนของเนื้อผ้า ตามลวดลายและสีในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งลายจกของชาวกะเหรี่ยงที่พบมีทั้งลายดั้งเดิม และลายที่ดัดแปลง ขึ้นมาใหม่ มีดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 684

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 692

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,334

ลายตะโก๊ะเหล่

ลายตะโก๊ะเหล่

ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,384