ลายน้ําเต้า

ลายน้ําเต้า

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 753

[16.121008, 99.3294759, ลายน้ําเต้า ]

ความหมายในภาษาไทย หมายถึง น้ําเต้า เป็นชื่อเรียกลวดลายปักที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณนับหลายร้อยปีของชาวมูเซอ เหลือง ลักษณะของการเรียกชื่อลวดลายเป็นไปตามรูปร่างของลวดลายที่เป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน นํามา เรียงต่อกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนด้านบนสุดมียอดแหลม เมื่อดูลักษณะลวดลาย โดยรวมที่มีความเว้าด้านบนจึงดูคล้ายความโค้งมนของผลน้ําเต้า โดยที่มาของลวดลายนี้บรรพบุรุษชาวมูเซอ ได้จินตนาการมาจากรูปร่างของลูกน้ําเต้า ที่เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มีผลที่มีลักษณะโค้งมน ตรงส่วนบนจะมีขนาด เล็ก ส่วนล่างจะมีขนาดใหญ่ มนกลมในสมัยโบราณนิยมนํามาใส่น้ํา ลูกน้ําเต้าที่มีความแห้งแล้วมีคุณสมบัติ พิเศษคือลอยน้ําได้โดยชนเผ่ามูเซอเหลืองที่นับถือศาสนาคริสต์มีความเชื่อที่เล่าขานสืบต่อกันมาจากบรรพ บุรุษซึ่งเชื่อว่าในครั้งที่น้ําท่วมโลก น้ําเต้าก็เปรียบได้เสมือนกับเรือโนอาห์ที่หญิงชายชาวมูเซอคู่แรกที่พระเจ้า สร้าง ได้เข้าไปหลบภัยในน้ําเต้ายักษ์จนรอดชีวิตมาได้และก่อกําเนิดเป็นชนเผ่ามูเซอเหลืองสืบต่อมา ลายอ่าพู้ หรือลายน้ําเต้าจึงเป็นหนึ่งในลวดลายเอกลักษณ์โบราณดั้งเดิมที่มีความชัดเจนที่บรรพบุรุษชนเผ่ามูเซอได้ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

 

คำสำคัญ : ลายปัก ลายชุดชนเผ่า

ที่มา : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายน้ําเต้า . สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=464&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=464&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,662

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,798

ลายปักชุดชาวเขา

ลายปักชุดชาวเขา

ลายดาว เป็นลายผ้าทอของชาวเผ่าม้ง เป็นลายผ้าที่ชาวม้งส่วนใหญ่นิยมใส่กัน เป็นลายที่มีคล้ายดวงดาวบนท้องฟ้า จะมีกลีบเล็กกลีบใหญ่ออกมาเหมือนดวงดาว แล้วแต่คนชอบของลาย และอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,628

ลายทูต๊ะ

ลายทูต๊ะ

ในอดีตการปักผ้าม้งบริเวณต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทำเป็นทุกคน และต้องทำใส่เอง ถ้าใครทำไม่เป็นก็จะไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทุกปีผู้หญิงม้งจะปักเสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ชุดไว้ใส่ครั้งแรกในงานสำคัญหรือในช่วงปีใหม่ก็จะใส่ชุดใหม่กัน บางปีก็จะได้แค่ชุดเดียว และปักกับสามี ลูกชาย ด้วยเพราะผู้ชายจะไม่ปักผ้า แต่ถ้าเป็นชาวม้งภาคกลางหรือบางกลุ่มจะปักทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 677

เผ่าขมุ

เผ่าขมุ

ขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตัวเอง ในประเทศลาวเป็นแหล่งใหญ่ที่มีชาวขมุ จะเรียกชาวขมุว่า “ ลาวเทิง” หรือลาวบนที่สูง ในประเทศไทย ชาวขมุเข้ามานานพอสมควร อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,658

ลายอี๊เมียนี้ต่า

ลายอี๊เมียนี้ต่า

อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,036

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 792

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี อาศัยอยู่มากที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว อาศัยอยู่มากที่อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 12,660

เสื้อลวดลายสลับสี

เสื้อลวดลายสลับสี

เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 716

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,605