ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,754

[16.121008, 99.3294759, ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ]

ภูมิปัญญาการแต่งกาย
        ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าลีซู (ลีซอ)
เทศกาลปีใหม่เป็นยามที่ดรุณีลีซูทั้งหลายแต่งกายกันอย่างเต็มที่ เครื่องประดับเงินจะทับโถมอยู่เต็มทรวงเจ้าหล่อน จะสวมเสื้อกั๊กกำมะหยี่ดำ ซึ่งปักปรายไปด้วยดุมเงิน เป็นสายและดอกดวง ทั้งด้านหน้าและหลังยืดอกปิดด้วยหัวเข็มขัดเงินแผ่นสีเหลี่ยม เรียงลงมาเป็นแถวรอบคอ รัดด้วยแถบผ้าติดสร้อยระย้า ซึ่งแผ่สยายอยู่เต็มอก ส่วนติ่งหูเจาะรูสองข้างเกี่ยวตะขอห้อยตุ้มระย้าซึ่งติดพู่ไหมพรมเพิ่มสีสันเข้าไปด้วย แถมสร้อยเงินหลายสายที่โยงผ่านใต้คางจากตุ้มซ้ายไปสู่ตุ้มขวา ส่วนข้อมือทั้งสองสวมกำไลแผ่นกว้าง แต่งด้วยอัญมณี แม้นิ้วก็สวมแหวนเงินไว้

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย

        ชุดของผู้ชาย ประกอบด้วยกางเกงเป้าต่ำสีฟ้าหรือสีอะไรก็ได้ สวมเสื้อแขนยาว จะติดด้วยกำมะหยี่ ซับในขวามักแต่งด้วยดุมเงินยิ่งมากยิ่งดี เอวคาดด้วยผ้าแดง และในย่ามก็ห้อยพู่หางม้ายาวคล้ายของผู้หญิง แต่ว่าหนุ่มนั้นห้อยไว้ข้างหน้า เดิมทีผู้ชายจะสวมผ้าโพกศีรษะทำด้วยผ้าไหมสีแดง ฟ้า เหลือง และดำ แต่ปัจจุบันหายากแล้ว เห็นใช้กันแต่ผ้าขนหนูขาว สอดกระดาษแข็งให้ตั้งขึ้นราว 20 ซม. พันรอบศีรษะง่ายๆ และห้อยตุ้มหูเงินข้างเดียวจากรูที่เจาะไว้ที่ติ่งหูซ้าย สวมกำไลก้านเงินเรียบๆ ที่ข้อมือข้างละวง ย่ามใช้งานของลีซูทอด้วยด้ายขาวหรือด้ายดิบโดยใช้ที่ผูกข้อมือ เป็นผ้าพื้นขาวยกลายทางสีแดง หรือสีอื่นๆ นอกจากสะพายบ่าเหมือนเผ่าอื่น ยังมีการติดสายหวายถัก ซึ่งใช้คาดศัรษะให้ตัวย่าม ห้วอยู่บนบ่าอีกด้วย ย่ามไปงานทอด้วยเส้นด้าย มีการทิ้งครุยกรายด้านข้าง แล้วยังมีหู คือ ชิ้นผ้าสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่มุมทั้งสองของย่าม ลายปักงดงามแปลกตาที่หู ไม่มีซ้ำกัน เพราะถือว่าเป็นลายเซ็นของคนทำ บางคนก็จะติดกระดุมเงินเม็ดน้อยไว้ที่มุมหู ปากย่ามกุ๊น และปะแต่งด้วยแถบผ้าหลากสี และยังทิ้งแถบผ้าสีแดง และสีฟ้าเข้มห้อยจากหูลงไปด้วย ย่ามที่งดงามที่สุดไม่ว่าจะเป็นของลีซู หรือเผ่าอื่นใดคือ ย่ามเกี้ยวสาวของหนุ่มวัยกำดัดนั้นทำเหมือนย่ามที่กล่าวมาแล้ว แต่แผ่นหน้าปักลูกปัดเป็นเม็ดเล็กๆ หลายสีไว้เต็มพืดเป็นลายละเอียดแถบผ้าที่ห้อยจากหูนั้นยาวร่วม 20 ซม. ปักประดับด้วยด้ายสีสดหลายสีไม่มีว่างเว้นกัน ย่ามห้อยครุยไหมพรมหลากสียาวเทาแถบผ้าจากหู และปกย่ามติดกระดุมตุ้มระย้าเงินตลอดแนว

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง

         ผู้หญิงลีซอทุกวัยแต่งกายด้วยผ้าสีสดใส สวมใส่เป็นเสื้อตัวหลวม แขนกระบอก ส่วนหน้าของเสื้อยาวถึงเข่า นิยมสีน้ำเงิน เขียว ฟ้า และม่วง คอเป็นผ้าสีดำ ตกแต่งลวดลายสวยงาม โดยนำผ้าแถบผ้าสีต่างๆ เช่น ม่วง ฟ้า ชมพู เขียว ดำ ขาว ส้ม แดง มาเย็บต่อกันเป็นริ้ว สวมเสื้อกั๊กที่ตกแต่งด้วยกระดุมเงิน สวมกางเกงหลวมๆ สีดำ ในตัวเสื้อ ใช้ผ้าสีดำพันรอบเอว คล้ายเข็มขัด สวมปลอกขาเพื่อป้องกันแมลง กิ่งไม้ หรือกันหนาว ผู้หญิงสูงวัยโพกหัวด้วยผ้าสีดำยาวพันหัวหลายๆ รอบแล้วเก็บชาย หญิงสาวจะสวมหมวกโดยประดับประดาด้วยลูกปัดหลากสี ส่วนผู้ชายลีซอ ทุกวัยแต่งกายเหมือนกัน โดยสวมใส่กางเกงที่มีความยาวเลยเข่าเล็กน้อย เป้ากว้างมาก สีน้ำเงิน สีเขียว ฟ้า เสื้อสีดำ แขนยาว คอป้ายตกแต่งกระดุมเงิน ติดรังดุมสีน้ำเงินที่ส่วนบนของตัวเสื้อ สวมปลอกขาสีดำ
         เครื่องแต่งกายของสตรีลีซู เป็นประจักษ์พยานอันชัดถึงการแข่งขันกันเป็นหนึ่งอย่างไม่ยอมน้อยหน้าใครเห็นได้ตั้งแต่ส่วนบ่า และตันแขนของเสื้อซึ่งใช้แถบผ้าเล็กๆ ซ้อนทับสลับสีไล่กันไปรอบๆ คอ และไส้ไก่ปลายเป็นปุยมากมายที่ห้อยสยายลงมาจากปลายผ้ารัดทางด้านหลัง ทั้งเครื่องประดับเงิน และมีแต่งทับสลับช้อนเป็นแผงเต็มอกไม่มีที่ว่าง การแต่งกายของสตรีลีซูเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิมมาก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในบริเวณช่วงไหล เนื่องจากสมัยก่อนใช้การเย็บด้วยมือ แต่สมัยนี้เย็บด้วยจักร การเย็บจะปราณีตกว่า สวยกว่า แต่เล็กกว่าแบบดั้งเดิม เดิมที่ลีซูทำเสื้อผ้าฝ้ายใยกัญชา แต่ทุกวันนี้หญิงลีซูแถบเหนือจะใช้ผ้าฝ้าย ส่วนพม่าในจีนก็ยังคงนุ่งกระโปรง ผ้าใยกัญชาจีบสลับซับซ้อน ลีซูในพม่าการแต่งกายจะแตกต่างกัน และหลายแบบ ซึ่งไม่เหมือนกันชนเผ่าลีซูในเมืองไทย หญิงลีซูในเมืองไทยหันมาใช้ผ้าฝ้าย หรือผ้าใยสังเคราะห์ซึ่งมีขายทั่วไปในท้องตลาด ตัวเสื้อทรงตรงหลวมยาวผ่าข้างทั้งสองขึ้นมาถึงเอว ด้านหน้าคลุมเข่า ด้านหลังห้อยลงไปคลุมน่อง คอกลมติดสาบเฉียงแบบจีนจากกลางคอลงไปถึงแขนขวา ผ้าชิ้นอกของเสื้อมักต่างกันส่วนอื่นๆ ตัวเสื้อมักเป็นสีฟ้าอมเขียวหรือสีอื่นๆ

ภาพโดย : http://www.openbase.in.th/node/5466

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/5466

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลีซอ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=416&code_db=DB0009&code_type=J005

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=416&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่ดั้งเดิมอย่างหนึ่งของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงทอผ้าใช้ในครอบครัวมาเป็นเวลานาน กรรมวิธีการทอผ้าของกะเหรี่ยงคล้ายกับการทอผ้าของชาวเปรูในสมัยโบราณ และคล้ายกับการทอผ้าของชนเผ่าหนึ่งในแถบประเทศกัวเตมาลา ฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก การทอผ้าของกะเหรี่ยงจะใช้กี่ทอผ้าที่เป็นแบบ back strap (กี่เอว)

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,478

ลายทูต๊ะ

ลายทูต๊ะ

ในอดีตการปักผ้าม้งบริเวณต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทำเป็นทุกคน และต้องทำใส่เอง ถ้าใครทำไม่เป็นก็จะไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทุกปีผู้หญิงม้งจะปักเสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ชุดไว้ใส่ครั้งแรกในงานสำคัญหรือในช่วงปีใหม่ก็จะใส่ชุดใหม่กัน บางปีก็จะได้แค่ชุดเดียว และปักกับสามี ลูกชาย ด้วยเพราะผู้ชายจะไม่ปักผ้า แต่ถ้าเป็นชาวม้งภาคกลางหรือบางกลุ่มจะปักทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 680

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

กระทงเปลือกข้าวโพด ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

การทำกระทงเปลือกข้าวโพดของตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ทำจากวัสดุธรรมชาติที่ถูกทิ้งหลังจาการเก็บเกี่ยวทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพด เนื่องจากมีอยู่มากจึงมีปัญหาเกิดการเผาเปลือกข้าวโพด การนำเปลือกข้าวโพดไปทิ้งตามแม่น้ำจึงเกิดผลเสียต่างๆ ทั้งผลเสียจากมลพิษทางอากาศและน้ำเน่าเสีย ชาวบ้านจึงนำเปลือกข้าวโพดมาแปรรูปทำกระทง จากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีฝีมือจากการเย็บบายศรีจากใบตอง มาเย็บเปลือกข้าวโพด นำเปลือกข้าวโพดไปตากแห้งย้อมสีให้สวยงามแล้วนำมาขึ้นรูปต่อกันจนเกิดเป็นรูปร่างตามต้องการ การนำดอกหญ้าแห้งที่มีอยู่ในพื้นที่มาย้อมสีและตกแต่งจนเกิดความสวยงามเป็นความแปลกใหม่และเป็นที่นิยมต่อความต้องการของลูกค้าจนเกิดเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 4,957

เผ่าถิ่น

เผ่าถิ่น

ถิ่นจัดอยู่ในสาขามอญ-เขมร ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่น คมาลหรือมาล และถิ่นคลำไปร๊ต์หรือไปร๊ต์ ถิ่นทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายเหมือนๆ กัน ถิ่นอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 60-80 ปีมานี้ โดยอพยพมาจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ถิ่นในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และเลย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,526

ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้าง

ลายเท้าช้าง เป็นลายของผ้าชาวเผ่าม้งลายหนึ่งที่นิยมสวมใส่กันทั้งหญิงและชาย เป็นลายที่ชาวเขาเผ่าม้งยึดถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่สวมใส่ในลายผ้านี้ ซึ่งชาวม้งจะมีการทอผ้าอย่างมีความประณีต เพื่อให้ผ้าที่ปักนั้นมีความสวยงามและมีลายผ้าที่ออกมาดี เพื่อที่จะนำมาใช้งานได้

เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 968

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,801

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กะเหรี่ยง

ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่าในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรี 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,608

ลายอี๊เมียนี้ต่า

ลายอี๊เมียนี้ต่า

อี๊เมียจือนี้ต่า คือภาษาชนเผ่าลีซอ เป็นการเรียกตามเทคนิคของการสร้างสรรค์ลวดลาย ที่นําชิ้นผ้าสสีันสดใส มาตัดออกเป็นริ้วยาว ลักษณะเป็นการต่ออแถบผ้าสีเป็นชิ้นๆต่อเนื่องกันไป ใช้เป็นชื่อเรียกเอกลักษณ์ของผ้าใน ลักษณะเช่นนี้มาแต่โบราณครั้งบรรพบุรุษของชาวลีซอ ที่ได้รับการถ่ายทอดสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ลายอี๊ เมียจือนี้ต่ามักนิยมนี้มาใช้ประดับบริเวณคอเสื้อมากที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,038

ลายเรียบ สายย้อย

ลายเรียบ สายย้อย

ผู้หญิงที่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่จะมีทักษะ ฝีมือในการทอผ้า และปักเม็ดมะเดือย เพราะว่ามีการสืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง โดยมีการรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทอผ้า ปักผ้า ฝีมือ แรงงานในการผลิตเป็นคนในชุมชน นอกจากนั้นยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทอผ้า ปักผ้าด้วยมะเดือย ตลอดจนวิธีการปลูกมะเดือยจากคนรุ่นเก่าไปยังเด็กๆในโรงเรียน เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 884

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

ลายอ๊ะหน่ายือ (ฟันหมา)

อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา  (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,063