ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว

ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 989

[16.1466408, 99.3273739, ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว]

         สีขาวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับโลหะมีค่า ประกอบกับสภาวะที่ราคาทองคำและแพลทินัมขยับตัวสูงขึ้นมาก จึงทำให้โลหะเงินถูกนำมาใช้มากขึ้น เมื่อก่อนนี้ร้านขายเครื่องประดับมักลังเลที่จะนำเครื่องประดับเงินใส่โชว์ในตู้หน้าร้าน เนื่องจากโลหะเงินจะหมองเร็วมากและยังใช้เวลาอีกหลายชั่วโมงในการทำความสะอาด ผู้จำหน่ายหลายรายได้นำโลหะนิเกิล หรือโลหะ อื่น ๆ มาหุ้มหรือเคลือบโลหะเงินเอาไว้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้เมื่อสวมใส่ ปัจจุบันจึงนิยมเคลือบด้วยโรเดียม ซึ่งไม่หลุดลอก ควรมีการเสริมสร้างมาตรฐานใหม่ให้แก่เครื่องประดับเงิน ยกระดับเครื่องประดับเงินให้มีคุณภาพ และความประณีตเทียบเท่าเครื่องประดับทองคำ 18 กะรัต โดยด้านหลังตัวเรือนจะต้องประณีตเหมือนด้านหน้า และต้องมีดีไซน์ที่โดดเด่นแปลกตา ดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและความประณีตในการผลิตมีความสำคัญต่อตลาดเครื่องประดับเงินในปัจจุบัน


ภาพโดย :  http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

คำสำคัญ : กำไล แหวน เครื่องประดับ

ที่มา : https://www.google.co.th/maps/place/กลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านคลองเตย

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายไทย หัวกำไลลายดอกบัว. สืบค้น 26 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=408&code_db=DB0009&code_type=J005

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=408&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

จักสานไม้ไผ่

จักสานไม้ไผ่

เริ่มสานไม้ไผ่ได้ 30 ปี ทำตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ แล้วส่งต่อมาให้นางเกษร นางเกษรได้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 จนถึงปัจจุบันอายุได้ 70 แล้ว จักสานเป็นทุกอย่าง นอกจากนี้นางเกษรยังเป็นวิทยากรให้ตามโรงเรียนต่างๆ ที่ได้เชิญไปให้ความรู้ในเรื่องของการจักสานไม้ไผ่เสมอ และได้จัดตั้งกลุ่มจักสานไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์การจักสานไม้ไผ่อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,723

เครื่องเงินชาวเขา

เครื่องเงินชาวเขา

จุดเด่นอำเภอคลองลานอยู่ที่ชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงิน ซึ่งชาวไทยภูเขา มีความสามารถพิเศษในการทำเครื่องเงิน อำเภอคลองลาน หมู่บ้านชาวเขาในเขตอำเภอคลองลาน เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้าน คุณภาพและฝีมือที่ประณีตสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะวิธีทำเครื่องเงิน ชาวเขาจะผลิตในสถานที่จำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เห็นวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากเงินทุกชนิด มีรูปแบบและลวดลายต่างๆ เช่น กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู เครื่องเงิน พวกเครื่องประดับเงิน บางคนมีเก็บสะสมมากก็นำมาแต่งกันเต็มที่ บ่งบอกถึงฐานะ และความมั่งคั่งของเขา

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,991

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาอเนกประสงค์

เป็นศูนย์เรียนรู้ของคลองน้ำไหลเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีโครงการปิดทองหลังพระ ของรัชกาลที่ 9 ลงมาที่หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม และได้เข้าอบรมเรียนรู้การทำสมุนไพร เป็นโครงการหลวงที่สามารถนำมาช่วยลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้ เลยเริ่มรวมกลุ่มกันทำ น้ำยาอเนกประสงค์ เบอร์กลุ่มมีสมาชิกประมาณ 20 คนหรือ 30 ครัวเรือน โดยจะแบ่งเป็นหมู่ หมู่ละ 10 ครัวเรือน 3 หมู่ หมู่ที่ 1 จะเลี้ยงหมูหลุม หมู่ที่ 2 จะทำน้ำยาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 3 การเลี้ยงไส้เดือนดินของพ่อหลวง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 974

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,362

การบูรฟักทอง

การบูรฟักทอง

เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,047

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ  โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,175

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 939

ลายลงยา

ลายลงยา

แร่เงินเป็นแร่ยุคโบราณอยู่ควบคู่กับมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ในอดีตแร่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือ แร่ทอง เพราะเป็นเครื่องหมายของความสมบูรณ์ ร่ำรวย ทำให้สัญลักษณ์ของทองคือรูปวงกลม เพราะวงกลมจะไม่มีรอยต่อเป็นเส้นเดียวไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุดจึงหมายถึงความสมบูรณ์ ส่วนแร่เงินถึงแม้จะเป็นรองแร่ทองแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้ให้ความสำคัญกับแร่เงินพอๆ กัน โดยมีสัญลักษณ์คือรูปครึ่งวงกลมหรือรูปพระจันทร์เสี้ยว มนุษย์ได้ใช้แร่เงินเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องใช้ต่างๆมานานแล้ว แร่เงินจึงถือว่าเป็นโลหะที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคำ

เผยแพร่เมื่อ 19-02-2017 ผู้เช้าชม 760

สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม

สุธีรา ฟาร์มปูนาบ้านไร่อุดม

ก่อนที่จะทำฟาร์มปูนาเคยทำอาชีพรับจ้างมาก่อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จจนมีหน่วยงานรัฐบาลมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปูนา จึงทดลองเพาะเลี้ยงปูไว้ในที่ว่างหลังบ้าน จากนั้นก็มีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาขอซื้อไปขายต่อ จึงเริ่มหันมาสนใจการเลี้ยงปูนาอย่างเต็มตัว เมื่อเริ่มเพาะเลี้ยงปูนาได้มากขึ้นแต่บางช่วงตลาดตัน ราคาขายไม่สูง เลยได้นำไปแปรรูปเป็นอาหาร ส่งจำหน่ายแทน โดยจะนำไปวางจำหน่ายตามร้านขายของฝากต่างๆ รวมถึงส่งขายไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 2,499

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,186