เอื้องผึ้ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 160
[16.270447, 99.7046403, เอื้องผึ้ง]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrobium lindleyi Steud.
ชื่อพ้อง Dendrobium aggregatum Roxb.
ตระกูล ORCHIDACEAE
ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำลูกกล้วยสั้น ป้อมสั้น ประมาณ 6 - 8 ซม. อาจยาวได้ถึง 10 ซม.
ใบ รูปรี แผ่นใบแข็งหนาเหนียว สีเขียวเข้ม หนา สาก ยาวประมาณ 5-10 ซม. มีใบเพียง 1 ใบ/ลำลูกกล้วย บริเวณปลายลำ
ดอก ช่อดอกเป็นช่อห้อย ก้านดอกผอม จำนวนดอก 15 ดอก/ช่อ ดอกขนาด 3 ซม. กลีบดอกและปากมีสีเหลือง ซึ่งความเข้มของสีดอกมีความผันแปรอยู่มาก ตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองเข้ม ดอกมีอายุการบาน 1 สัปดาห์
ราก เป็นแบบรากกึ่งอากาศ (Semi-epiphytic)
ฤดูกาลออกดอก มีค -เมย
การขยายพันธุ์ แยกต้น เพาะเมล็ด
การดูแลรักษา ชอบขึ้นอยู่บนต้นไม้ที่มีการผลัดใบ ทำให้ได้รับแสงแดดในช่วงฤดูหนาว
การใช้ประโยชน์ ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด พบในอินเดีย พม่า ไทย และจีนตอนใต้
แหล่งที่พบ พบตามป่าดิบแล้ง เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง
แหล่งที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/tharirat/2012/12/17/entry-2
คำสำคัญ : กล้วยไม้ เอื้อง เอื้องผึ้ง
ที่มา : 23 หมู่ 6
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : นางสาวปิยธิดา ก้อนจำปา
https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=345&code_db=DB0013&code_type=F003
เอื้องผึ้ง
ในบรรดากล้วยไม้หลากหลายร้อยพันธุ์ชนิด เอื้องผึ้ง เป็น 1 ใน 150 ชนิดของกลุ่มกล้วยไม้สกุลหวายในประเทศไทยที่มีความผูกพันกับท้องถิ่นทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาช้านาน เอื้องผึ้ง จัดอยู่ในสกุลของ Dendrobium ในประเทศไทยนิยมเรียกสกุลนี้ว่า หวาย หรือ เอื้อง ซึ่งนับเป็นสกุลที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์กล้วยไม้อีกทั้งยังเป็นสกุลที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 160
เอื้องช้างน้าว
ช้างน้าว หรือ เอื้องช้างน้าว เป็นกล้วยไม้ทนร้อนกลุ่ม Dendrobium หรือ หวาย ของบ้านเรานี่เองครับ ในพื้นที่ตามชนบทหรือพื้นที่ราบเขา หรือ ป่าแล้ง เรามักพบ ช้างน้าว ขึ้นเกาะอยู่ต้นไม้สูง แต่พิเศษไปกว่ากล้วยไม้สกุลหวายอื่น ๆ เรายังพบว่า ช้างน้าว ยังสามารถขึ้นเกาะบนผาหินสูงชันได้อีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 398
แววมยุรา Den. fimbriatum
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 441
เอื้องสายครั่ง
สายน้ำครั่ง หรือ สายน้ำครั่งสั้น จัดอยู่ในสกุลหวาย และเป็นหวายของไทยเรานี่เองครับ เขตกระจายพันธุ์ สายน้ำครั่ง นั้นกว้างขวางมากตั้งแต่มลฑลไฮหนานตัดผ่านประเทศไทยยาวลงไปถึงเวียดนามเลยทีเดียวครับ เนื่องจากมีเขตกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางนี่เอง สายน้ำครั่ง จึงเป็นกล้วยไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไป
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 316
เอื้องม่อนไข่เหลื่อม
เอื้องมอนไข่เหลื่ยม (Den. densiflorum) ความหมายของชื่อวิทยาศาสตร์ หมายความถึงช่อดอกที่แน่นดอกดกเรียงชิดกันหลายดอกในช่อ เป็นกล้วยไม้หายาก อีกชนิด ในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์จากแหล่งกำเนิดในธรรมชาติ แต่เดิมเคยพบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก บริเวณอาณาเขตติดต่อกับฝั่งพม่า
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 983
เอื้องดอกมะเขือ
เอื้องดอกมะเขือ เป็นกล้วยไม้ในสกุลหวายมีการเจริญเติบโตแบบแตกกอ ระบบรากกึ่งอากาศกึ่งอาศัย ลำต้นมีลักษณะเป็นลำกลม ยาว ตรงกลางป่องและมีปลายเรียว ลำต้นยาวประมาณ 20-60 ซม. ใบเป็นรูปรี แผ่นใบค่อนข้างบาง
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 286
เอื้องมัจฉานุ
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 188
เอื้องคำ
เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยรูปทรงหลายเหลี่ยมโดยจะมีตอนกลางลำโป่ง แล้วเรียวลงมาโคนและยอด ความยาวประมาณ20–50 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะมีสีค่อข้างเหลืองตอนบนของลำจะมีใบอยู่ 4–5 ใบ ยาวประมาณ 20–30 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อ 12-25 ดอก แต่ละช่อดอกจะห่างไม่อัดแน่นดอกมีสีส้มสดกลีบปากสีส้มมีขนาดใหญ่ โคนกระดกห่อขึ้นปลายบาน เป็นทรงกลมมีขนนุ่มปกคลุม ขอบกลีบหยักเป็นคลื่ขนาดดอกประมาณ3-5เซนติเมตรมีกลิ่นหอมออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม
พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันตก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 140
เหลืองจันทบูรณ์
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะใน มหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 216
เอื้องสายม่วง
เอื้องสายม่วง บางท่านเรียกกันว่า สายครั่งยาว มีแหล่งกระจายพันธุ์ใน ไทย พม่า ลาว และ อินเดีย ขึ้นอยู่บนความสูงที่ระดับ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ในประเทศไทยมีบันทึกไว้ว่าพบ สายม่วง ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในบริเวณป่าดิบและป่าสนเขา สำหรับสีสันของ สายม่วง นั้น มีทั้งสีม่วงเข้มไปจนถึงม่วงอ่อน ๆ บางครั้งเรามักพบ สายม่วง ที่มีปากเป็นสีเหลืองหรือดำ แทนที่จะเป็นสีม่วงเข้มแทน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 365