โอ่งสังคโลก
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้ชม 5,670
[16.4880015, 99.520214, โอ่งสังคโลก]
ชื่อโบราณวัตถุ : โอ่งสังคโลก
แบบศิลปะ : ศิลปะสุโขทัย
ชนิด : ดินปั้น
ขนาด : สูง 105 เซนติเมตร ปากกว้าง 34 เซนติเมตร
อายุสมัย : (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20)
ลักษณะ : ดินปั้นของเครื่องสังคโลกที่เตาศรีสัชนาลัยนี้ มีคุณภาพดี เนื้อละเอียด ผลิตภัณฑ์มีฝีมือประณีตกว่าที่เตาสุโขทัย มีทั้งเคลือบสีเขียว มะกอก เขียวไข่กา (เซลาดอน) สีขาว สีน้ำตาล พื้นสีขาวเขียนลายบนเคลือบด้วยสีน้ำตาลทอง หรือพื้นขาวเขียนลายใต้เคลือบสีเทาหรือดำ
ประวัติ : สังคโลก" เป็นคำเรียกเครื่องถ้วย เฉพาะที่ผลิตที่จังหวัดสุโขทัย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ การเริ่มต้นการผลิตนั้น อาจจะมีการพัฒนาภายในชุมชนมาก่อน เพราะได้พบเครื่องปั้นดินเผาพื้นเมือง ทั้งที่เป็นภาชนะใช้สอยชนิดไม่เคลือบ และชนิดเคลือบ เครื่องถ้วยชนิดเคลือบ เนื้อดินปั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับพวกภาชนะที่ไม่เคลือบ คือ มีเนื้อดินปั้นหยาบหนาเป็นสีเทาอมม่วง และเคลือบ เฉพาะด้านใน เป็นต้นว่า จาน ไห และกระเบื้อง มุงหลังคา สีที่นิยมคือ สีเขียวมะกอก เครื่องถ้วยแบบนี้ส่วนใหญ่ไม่มีลาย แต่บางใบ ก็มีลายขูดเป็นเส้นๆ คล้ายลายหวีใต้เคลือบ
สถานที่พบ : วัดช้าง (วัดนาควัชรโสภณ) อำเภอเมืองกำแพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://kanchanapisek.or.th
คำสำคัญ : โอ่ง โอ่งสังคโลก
ที่มา : http://kanchanapisek.or.th
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). โอ่งสังคโลก. สืบค้น 16 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=340&code_db=610012&code_type=01
Google search
ท่อนองค์เทวสตรี ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) เดิมประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,744
ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,030
พระอิศวร ศิลปะอยุธยา (ระบุมหาศักราช1432 หรือ พ.ศ 2053) เจ้าพระยาธรรมาโศกราช เจ้าเมืองกำแพงเพชร ได้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๕๓ สถานที่ประดิษฐานแต่เดิมคือ ศาลพระอิศวร ซึ่งตั้งอยู่หลังศาลจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,402
หม้อตาล ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23)
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,829
เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 13-15) พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,139
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,206
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,049
หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช 1700-1800 มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,527
โอ่งสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) พบที่ วัดช้าง (วัดนาควัชรโสภณ) อำเภอเมืองกำแพงเพชร มีขนาด สูง 105 เซนติเมตร ปากกว้าง 34 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 5,670
มกรสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20-22) ที่วัดอาวาสใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 3,618