วัดเตาหม้อ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 1,930
[16.4960313, 99.4398593, วัดเตาหม้อ]
เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของวัดเตาหม้อ เมื่อแรกเข้าไปศึกษาในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะมองไม่เห็นวัด เตาหม้อเลย เพราะจะถูกปกคลุมด้วย ป่าไม้ ไม่สามารถเดินเข้าไปชมได้ นอกจากผู้ที่มีอาชีพขุดพระเท่านั้น ที่ยังเข้าไปขุดค้นสมบัติอยู่ได้เข้ามาชม วัดเตาหม้อเป็นครั้งที่สาม เมื่อย่างเข้าไปในเขตวัด เห็นพระวิหารขนาดใหญ่มาก มีขนาดกว้าง ประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 40เมตร บนวิหารมีพระพุทธรูปที่ก่อด้วยศิลาแลง ขนาด นั่งสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร สภาพยังเห็นเป็นองค์พระได้อย่างชัดเจน 1 องค์ ส่วนอีกองค์หนึ่งที่ประทับนั่งคู่กัน ได้ถูกนักเลงขุดพระทำลายไปเสียแล้ว เห็นเพียงฐานพระ ขนาดเท่ากับองค์ที่เหลือ ตั้งตระหง่านอย่างงดงาม คู่กันอย่างบนวิหาร ด้านหลังของพระประธาน ได้ถูกเจาะเพื่อหาสมบัติ น่าเสียดายถ้าไม่รีบบูรณะพระพุทธรูปจะพังลงมาก่อน จะมองไม่เห็นความงาม ของพระพุทธรูปขนาดยักษ์ทั้งสององค์หลังพระวิหารเจดีย์ประธานสัณฐานมณฑป ขนาดใหญ่มาก ยอดของเจดีย์ประธานยังหักตกลงมาให้เห็นเป็นหลักฐาน ภายในเจดีย์ประธานถูกขุดค้นอย่างไม่มีชิ้นดี เพื่อหาพระพุทธรูป พระเครื่องและสมบัติ ที่คนโบราณฝังไว้ ถัดไปเป็นเจดีย์อีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ติดกับ เจดีย์ประธาน แต่ขนาดย่อมลง ด้านหลังเป็นเจดีย์รายขนาดใหญ่จำนวนมาก แต่ละองค์ถูกขุดค้นไปอย่างไม่มีชิ้นดี?.ในเจดีย์รายโดยรอบมีบ่อกรุ ที่ทำด้วยศิลาแลงแท่งขนาดใหญ่มาก ขนาดแท่งศิลาวัดพระนอน ขนาดบ่อ กว้างยาวด้านละประมาณ 4 เมตร ทำไว้อย่างแข็งแรง สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นกรุ มหาสมบัติ ที่รวมของมีค่าอยู่ในวัดซึ่งถูกขุด ค้นอย่างไม่มีชิ้นดี หลังจากสำรวจครั้งนี้แล้ว กรมศิลปากรสมควรบูรณะปฏิสังขรณ์ เพื่อมิให้เสียหายไปกว่านี้วัดเตาหม้อ มีหลักฐานเตาถลุงเหล็กขนาดใหญ่อยู่ 4 เตา พังไปแล้ว 2 เตา กำลังจะพัง 1 เตา สมบูรณ์ดีเรียบร้อยอยู่ 1 เตา บริเวณเตามีแร่เหล็ก ที่ผ่านการถลุงอยู่เป็นจำนวนมาก ตกอยู่เกลื่อนกลาด คาดว่า จะเป็นแหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร เพราะเมืองกำแพงเพชร มีเหล็กที่มีคุณภาพ นำไปผลิตอาวุธ และหล่อพระ จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้พูดถึงการทำดาบฟ้าฟื้นว่า ได้นำเหล็กเมืองกำแพง ไปเป็นวัตถุสำคัญในการตีดาบและการที่มีเตาขนาดใหญ่นี่เอง ทำให้วัดนี้ได้รับการขนานนามว่าวัดเตาหม้อมาจนปัจจุบันเมื่อสังเกตอย่างถ้วนถี่ วัดเตาหม้อนี้ น่าจะเป็น วัดแห่งยุทธศาสตร์ ในการผลิตอาวุธ ไว้ป้องกันเมืองกำแพงเพชร หรือส่งขาย ทั่วไป ในช่วง 600 ? 700 ปี ที่ผ่านมา น่าสงสัยนักว่าทำไม ไม่มีใครสนใจ หรือใส่ใจในวัดเตาหม้อ เลย ทั้งที่เกือบทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ ล้วนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเกือบทั้งสิ้น วัดขนาดใหญ่อย่างวัดเตาหม้อหลงหูหลงตาไปได้อย่างไร มันเป็นปริศนาที่น่าสนใจยิ่งนักวัดเตาหม้อ แหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่มากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดที่สำคัญที่สุดแห่งเราชาวกำแพงเพชร
ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท
อัตราค่ายานพาหนะ
รถจักรยานสองล้อ คันละ 10 บาท/คัน
รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=223&code_db=DB0011&code_type=F001
คำสำคัญ : วัดเตาหม้อ
ที่มา : http://www.sunti-apairach.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเตาหม้อ. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=306&code_db=DB0012&code_type=005
Google search
วัดวังอ้อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นใจกลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านวังอ้อ ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล แรกเริ่มก่อตั้งเป็นที่พักสงฆ์ ในสมัยหลวงปู่แดง ท่านธุดงค์มาเร่ิมเกิดเป็นวัดเต็มรูปแบบเมื่อปีพุทธศักราช 2512 คือวัดวังอ้อ มาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันมีพระอธิการ ปัญญา ประภัสสะโร เป็นเจ้าอาวาส มีพระสงฆ์ จำนวน 4 รูป ในวัดมีพื้นที่ทั้งหมด 20 ไร่ กุฏิ 6 หลัง วิหาร 1 หลัง เมรุ 1 หลัง ศาลาธรรมสังเวช 1 หลัง นอกจากนี้วัดวังอ้อยังเป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีพุทธอีกแหล่งหนึ่งของตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,095
เป็นวัดที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรถ้านักท่องเที่ยวเดินทางมาจากทางวัดสิงห์แล้วให้ตรงไปตามทางจนเจอแยกให้ดูป้ายจะมีป้ายบอกว่าวัดกำแพงงามมาทางซ้ายตรงมาประมาณ 100-200 เมตร ก็จะถึงวัดกำแพงงาม วัดกำแพงงาม เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ส่วนที่สำคัญที่สุด คือมีกำแพงศิลาแลงที่มั่นคงและงดงามอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ จึงเรียกกันโดยสามัญว่า วัดกำแพงงามเพราะลักษณะของกำแพงงามนักส่วนชื่อเดิมของวัด ไม่มีผู้ใดทราบเช่นเดียวกับวัดอื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,553
เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,812
วัดมหาโพธิมงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 1,691
บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,286
เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,121
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,216
วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 870
มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม
เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 7,705
เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,307