ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 2,691

[16.4897551, 99.5140643, ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร]

       ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรให้ความนับถือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดที่ประสบปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิต ก็มักไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อหลักเมืองช่วยเหลือคุ้มครอง ซึ่งก็มักจะได้สมใจดังปรารถนาจนเป็นที่เลื่องลือ เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีผู้มาบนและขอแก้บนเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ที่มีความเชื่อว่าการสร้างศาลหลักเมืองว่า ก่อนสร้างหลักเมืองได้ขุดหลุมกลางใจเมือง โดยทางการจะมีการป่าวประกาศหาคนชื่อ อิน จัน มั่น คง เมื่อได้บุคคลที่มีชื่อดังกล่าว จะนำบุคคลทั้งสี่คนมาไว้ที่ก้นหลุมและฝังเสาหลักเมืองลงทับร่างทั้งสี่ เพื่อให้เป็น ผีเฝ้าหลักเมืองเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง เป็นปีศาลคุ้มครองเมือง เป็นประเพณีในการก่อสร้างเมืองทุกเมืองโดยตลอด นับว่าทั้งสี่ท่านคือ อิน จัน มั่น และคง เป็นผู้เสียสละชีวิต เพื่อมาพิทักษ์บ้านเมืองของเรา กลายมาเป็นเจ้าพ่อหลักเมืองในที่สุด เชื่อกันว่า เมืองกำแพงเพชรน่าจะสร้างพร้อมๆ กับเมืองสุโขทัยและมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ทางทิศใต้ของสุโขทัย สังเกตได้จากแนวกำแพงสามชั้น ซึ่งเรียกว่าตรีบูรเหมือนสุโขทัยหรือร่วมสมัยกันกับสุโขทัย เจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย เดิมทำด้วยศิลาแลง รูปกลมยาวประมาณ 2 เมตรฝังโผล่ขึ้นดินมาประมาณหนึ่งเมตรเศษ มีรูปเศียรเทพารักษ์ อยู่บนยอดศิลาแลง เชื่อกันว่าคือเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองน่าจะร้าง เหมือนโบราณสถานทั่วไป พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ทรงบันทึกไว้ว่าออกจากวัด ไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ระหว่างวัดกับวัง ทรงบันทึกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2449 ไว้เพียงเท่านี้เอง
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชรที่ประชาชนให้ความเคารพสักการะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเมืองโบราณกำแพงเพชรทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดพระแก้ว ริมถนนหมายเลข 101 (สุโขทัย – กำแพงเพชร) ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรปรากฏในพระราชนิพนธ์ครั้งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือในปี พ.ศ. 2449 และ พ.ศ. 2450 ตามลำดับ ดังนี้
       เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเสด็จประพาสต้น ความว่า “...ชื่อวัดนี้ไม่ปรากฏ ถ้าเรียกตามลพบุรีก็เป็นวัดหน้าพระธาตุ ถ้าจะเรียกตามกรุงเก่าก็เป็นวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราเหตุที่มีตำนานว่า พระแก้วได้เคยมาอยู่เมืองนี้ ถ้าหากว่าได้มาอยู่คงจะไม่ได้อยู่วัดอื่น คงอยู่วัดนี้เป็นแน่ ออกจากวัดไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ในระหว่างวัดกับวัง...” เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้พระราชนิพนธ์ถึงศาลหลักเมืองในเที่ยวเมืองพระร่วง ความว่า “...ในกำแพงเพชรเมืองนี้ ที่ซึ่งจำเป็นต้องไปก่อนคือ หลักเมือง ซึ่งได้ไปบวงสรวงตามธรรมเนียม แต่ผู้ที่ไปดูอย่าได้คิดหาหลักเลย เพราะไม่มีหลักศิลา และรูปยักษ์ที่ตั้งไว้เป็นเครื่องหมายเดี๋ยวนี้ เชื่อว่าไม่ใช่ของที่ตั้งอยู่เดิม...” 
       จากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่ทางทิศใต้ของศาลหลักเมืองในปีงบประมาณ 2549 พบหลักฐานทางโบราณคดี ดังนี้
            - ชิ้นส่วนกระเบื้องดินเผามุงหลังคาประเภทดินขอ
            - ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย แหล่งเตาบ้านบางปูน แหล่งเตาบ้านเกาะน้อย/ป่ายาง เมืองศรีสัชนาลัย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง กำหนดอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 และอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
       ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรมีการบูรณะปรับปรุงอาคารหลายครั้งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมี ดังนี้
            - พ.ศ. 2472 หลวงมนตรีราช ได้สร้างอาคารศาลหลักเมืองขึ้นเป็นศาลาทรงไทยทำด้วยไม้
            - พ.ศ. 2484 หลวงปริวรรต วรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย) ข้าหลวงประจำจังหวัดกำแพงเพชร มอบหมายให้นายฉกาจ กุลสุ ปั้นเศียรเทพารักษ์ขึ้นใหม่
            - พ.ศ. 2526 นายเชาว์วัศ สุดลาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้ปรับปรุงอาคารบริเวณสถานที่ตามรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน 
            - วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง ทรงเจิมเสาหลักเมืองเสาใหม่
            - วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ทำพิธีเชิญเสาหลักเมือง และเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล
            - วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้สำรวจความเสียหาย และทำการบูรณะอนุรักษ์เสาหลักเมืองเดิม พร้อมจัดทำเสาหลักเมืองจำลองใหม่จากไม้สักทองขนาดความสูง 2.29 เมตร ความกว้างฐาน 64 เซนติเมตร โดยอัญเชิญเสาหลักเมืองจำลองมาวางไว้ ณ ศาลารายชื่อผู้จัดสร้างศาลหลักเมือง 

คำสำคัญ : ศาลหลักเมือง กำแพงเพชร

ที่มา : http://info.dla.go.th/public/travel.do?cmd=goDetail&id=510652&random=1488095195836

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=249&code_db=DB0011&code_type=F001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=249&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,249

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร

ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์(เหม่) ผู้เรืองอำนาจเป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ทำด้วยศิลาแลงรูปกลม ยาวประมาณ 2 เมตร ผังโผล่พื้นมาประมาณ 1 เมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมานาน และเมื่อปี พ.ศ. 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเจิมเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2527 และมีพิธีเชิญเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2527

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,691

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กรมการพัฒนาชุมชน” โดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,840

เมืองเทินทอง

เมืองเทินทอง

บริเวณวัดหนองปลิงใหม่ที่ติดกับค่ายลูกเสือจังหวัดกำแพงเพชร มีหลักฐานว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกว่าเมือง เนินทอง หรือเทินทอง หรือกองทอง ตั้งอยู่บนเขาลูกเตี้ยๆ ปัจจุบันมีการขุดลูกรังบ้าง ไถทำค่ายลูกเสือบ้าง ทำให้หลักฐานต่างๆ ถูกทำลายไปเกือบหมด 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 776

ศูนย์อนุรักษ์แย้

ศูนย์อนุรักษ์แย้

เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard แย้จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 8 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม ขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร  ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 4,639

ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากง-ม่า

ศาลเจ้าพ่อปึงเถ่ากง-ม่า

ผู้ศรัทธาต่อองค์ปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า เจ้าพ่อเจ้าแม่กำแพงเพชร องค์เจ้าพ่อเสือ เจ้าแม่ทับทิมและองค์เทพภายในศาลทุกองค์ ผู้ที่ได้มากราบไหว้อธิษฐานจิตต่อศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ปึงเถ่าม่า หากปรารถนาสิ่งใดจะสมหวังตั้งใจ สำเร็จรุ่งเรืองถึงลูกหลาน ร่ำรวยด้วยเงินทอง สมบูรณ์สุขด้วยลาภยศและวาสนา สุขกายใจไร้โรคาเบียดเบียนด้วยผลจากความเพียรที่ผู้กราบไหว้ได้สร้างความดีมาอย่างต่อเนื่อง ตามกำลังแห่งศรัทธาและความมีคุณธรรมอย่างเต็มเปี่ยมในจิตใจ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,680

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่งขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถูกพบที่ริมคลองสวนหมากในลักษณะคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่แต่มีลักษณะประหลาดคือ มีดินที่หุ้มไม่มิด และมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ จึงขอให้หลานชายและชาวบ้านช่วยกันถางเถาวัลย์ออกจึงพบกับพระพุทธรูปเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,118

พระบาทหันตาม

พระบาทหันตาม

ท่านไม่ควรพลาดที่จะเดินทางไปถวายพระพร ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลย์เดชรัชกาลที่ 9 ภาพนี้ที่น่าแปลกก็คือ ไม่ว่าคุณจะอยู่ด้านซ้ายของภาพ พระบาทของท่าน ก็จะหันมาชี้ที่คุณอยู่ คุณมาอยู่ตรงกลางหรือไปทางขวา พระบาทก็จะชี้ตามไปทางนั้น เรียกว่าเราไปทางไหน ก็จะมองเห็นพระบาทชี้ตามไปตลอด และภาพนี้ไม่ใช่ภาพ 3 มิติ เป็นภาพถ่ายธรรมดาทั่วไป จึงขอเชิญท่านร่วมได้ด้วยถวายพระพรด้วยตนเองได้ที่วัดปราสาท ต.คณฑี อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 613

เสน่ห์แม่น้ำปิง

เสน่ห์แม่น้ำปิง

ลำน้ำที่ใสสะอาด มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์มีแห่งเดียวในประเทศไทย คือแม่น้ำปิง หรือแม่พิงค์ ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงที่งดงามที่สุดคือบริเวณหน้าเมืองกำแพงเพชร หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตต์อุทยาน แม่น้ำปิงมีปลาหลากหลายชนิดที่ไม่เหมือนลำน้ำแห่งใด คือในลำน้ำปิงมีกรวดที่งดงามมากมาย หลากสีสันหลากรูปแบบ เป็นสินค้าสำคัญของกำแพงเพชร ในการนำมาจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างลงตัว 

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 2,060

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,474