พระบาทหันตาม

พระบาทหันตาม

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 613

[16.4297817, 99.6965231, พระบาทหันตาม]

ประวัติพระบาทหันตาม ท่านไม่ควรพลาดที่จะเดินทางไปถวายพระพร ภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลย์เดชรัชกาลที่ 9 ภาพนี้ที่น่าแปลกก็คืน ไม่ว่าคุณจะอยู่ด้านซ้ายของภาพ พระบาทของท่าน ก็จะหันมาชี้ที่คุณอยู่ คุณมาอยู่ตรงกลางหรือไปทางขวา พระบาทก็จะชี้ตามไปทางนั้น เรียกว่าเราไปทางไหน ก็จะมองเห็นพระบาทชี้ตามไปตลอด และภาพนี้ไม่ใช่ภาพ3 มิติด้วยครับ เป็นภาพถ่าย เสียดายครับถ้าหากท่านไม่มาชมพระบารมี ทางองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑีให้ถ่ายรูปได้ จึงขอเชิญท่านร่วมได้ด้วยถวายพระพรด้วยตนเองครับ ณ วัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : ท่องเที่ยว

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=139

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระบาทหันตาม. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1126&code_db=610002&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1126&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 3,541

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,473

สระมรกต

สระมรกต

ริมถนนพระร่วง ใกล้กับอุโมงค์ 32 ปล่อง และจระเข้ปูน มีสถานที่สำคัญสถานที่หนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกกันว่า สระมรกต มีลักษณะพิเศษคือมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูอะไร แม้ฤดูแล้งน้ำก็ไม่แห้ง ทั้งๆ ที่ลึึกไม่ถึงเมตร เป็นลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร มีอยู่ 3 สระติดต่อกัน เป็นเรื่องที่เล่าขานกันเป็นตำนานว่า เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาประทับที่อุโมงค์ 32 ปล่อง ได้นำนางสนมกำนัลมาอาบน้ำที่สระมรกตแห่งนี้ พระร่วงได้สาบสรรค์ไว้ว่าให้มีน้ำตลอดปี ไม่ให้แห้ง 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 2,061

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วงนพรัตน์ ตำบลเพชรชมภู ที่ริมถนนพหลโยธิน ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีแผงขายมะม่วงตลอดทางทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีมะม่วงหลายชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย เพชรบ้านลาด โชคอนันต์ เป็นต้น เนื่องจากตำบลเพชรชมภูแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งขายเองในพื้นที่ ทั้งส่งขายให้แม่ค้าคนกลางส่งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย จึงเป็นที่รู้จักของนักบริโภคและนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะมีรถจอดตลอดเส้นทางเพื่อซื้อมะม่วงกลับบ้าน 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,396

ศูนย์อนุรักษ์แย้

ศูนย์อนุรักษ์แย้

เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard แย้จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 8 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม ขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร  ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 4,639

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 814

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และรองรับน้ำจากเทือกเขาธรรมชาติก่อนที่จะไหลผ่านลงสู่แม่น้ำปิง และด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวท่าขุนราม ในช่วงเย็นจะได้เห็นภาพเด็กๆ มากระโดดเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน เมื่อมาถึงฝายท่ากระดานสามารถขับรถชมบรรยากาศได้รอบพื้นที่ ผ่านถนนสายเล็กๆ ทอดยาวแซมด้วยดอกหญ้าพริ้วไหว กลายเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพสวยได้อีกแห่งหนึ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 878

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กรมการพัฒนาชุมชน” โดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,840

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร โดยส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องปั้นดินเผาลวดลายปูนปั้น เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ เศียรพระพุทธรูป 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,772

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล

ประเพณีบุญบั้งไฟ ถือเป็นการแจ้งข่าวให้พระยาแถนได้รับรู้ด้วยการจุดบั้งไฟเป็นสัญญาณบอกให้ท่านประทานฝนลงมาเป็นการเริ่มฤดูเพาะปลูก เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีระบบชลประทาน และเมื่อจัดประเพณีดังกล่าว ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเกษตรอุดมสมบูรณ์ จึงทำมีการจัดประเพณีสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเพณีดังกล่าวจะจัดในช่วงเดือนหกต่อเดือนเจ็ดไทย ซึ่งจะอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,200