พระเชตุพน

พระเชตุพน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 13,596

[16.4913535, 99.4868828, พระเชตุพน]

                พระร่วงนั่งพิมพ์นี้พบครั้งแรกจาก "วัดเชตุพน เมืองสุโขทัย" จึงนำชื่อวัดและลักษณะพระพักตร์ขององค์พระมาตั้งรวมเป็นชื่อพิมพ์พระนี้ว่า “หน้าโหนก” หรือ "พระเชตุพนหน้าโหนก" เพราะองค์พระมีพระนลาฏ (หน้าผาก) ที่กว้างและโหนกนูนให้เห็นอย่างเด่นชัด นั่นเองต่อมามีการขุดพบพระพิมพ์นี้ที่เมืองกำแพงเพชร ลักษณะคล้ายกับของเมืองสุโขทัย ชาวเมืองกำแพงเพชรจึงได้นำชื่อเมืองของตนเรียกแทนชื่อของวัดที่ขุดพบครั้งแรก โดยนำมาเรียกรวมเข้ากับคำว่า ”หน้าโหนก” เป็นชื่อ "พระกำแพงหน้าโหนก"ดังนั้นพระร่วงนั่งพิมพ์ลักษณะดังกล่าวนี้ จึงมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามกรุพระของต่างเมืองที่ขุดพบได้นั่นเองพระกำแพงหน้าโหนกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่ขุดพบเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าเป็นวัดที่ไหน จะพบพระกำแพงหน้าโหนก เสมอความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกับพระเมืองอื่นคือ มีพระพักตร์ที่คมชัดมาก พระเนตรขององค์พระมีเปลือกตาให้เห็นอย่างชัดเจน เม็ดพระศกลึกคมกว่าของพระกรุเมืองอื่นๆขุดพบจากแทบทุกกรุของเมืองกำแพงเพชร เช่น กรุวัดบรมธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระแก้ว ฯลฯพระพิมพ์นี้มีหลายเนื้อ เช่น เนื้อชินเงิน เนื้อดิน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง โดยเฉพาะที่ขุดพบจากกรุวัดบรมธาตุ เป็นพระกรุเก่า ผิวจะเป็นสนิมดำ บางองค์ปรากฏสนิมเกล็ดกระดี่ บางองค์มีคราบปรอทน้ำทอง (ผิวสีเหลืองทอง) ส่วนพระกรุใหม่จะเป็นเพียงคราบผิวปรอทขาวธรรมดาพระกำแพงหน้าโหนก มีขนาดเล็ก คือ กว้างประมาณ ๑.๕ ซม. สูงประมาณ ๒ ซม. บูชาพกติดตัวง่าย มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับบูชาติดตัวทั้งชายและหญิงพุทธคุณ ดีทางแคล้วคลาดปลอดภัยจากสรรพสิ่งทั้งปวง และเพียบพร้อมด้วยเมตตามหานิยมเป็นเลิศ

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=116&code_db=DB0003&code_type=P001

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระเชตุพน. สืบค้น 19 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=206&code_db=DB0009&code_type=J001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=206&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระสามพี่น้อง

พระสามพี่น้อง

ถ้ากล่าวถึงพระสามพี่น้องนั้น มีอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกันพระพุทธรูปบางองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระสามพี่น้อง เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเดียวกัน บ้างก็เรียกเพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันเช่นพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา แต่พระสามพี่น้องที่กล่าวถึงนี้ เชื่อว่าสร้างโดยชายพี่น้องสามคน คนหนึ่งเกิดวันพุธ จึงสร้างพระปางอุ้มบาตร ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อบ้านแหลม อีกคนเกิดวันพฤหัสจึงสร้างพระปางสมาธิ คือหลวงพ่อโสธร แต่อีกคนไม่ได้สร้างพระประจำวันเกิดแต่สร้างพระเกตุ หรือพระปางมารวิชัย ซึ่งพระปางมารวิชัยองค์นี้แหละที่มีถึงสามวัดที่อ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำวัดของตนเอง คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ซึ่งบางคนก็เลยรวมเรียกแบบถนอมน้ำใจเหมารวมหมดเลยว่าพระห้าพี่น้อง

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,070

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,079

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 15,643

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,944

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,422

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,466

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,202

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,602

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,808

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

อมตพระกรุ เมืองกำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเป็นเอกของเมืองกำแพงเพชรเป็นพระที่อมตะทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ พระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชินก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระเป็นประติมากรรมในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิมีลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระ นั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ”
         

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,139