ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 6,505

[16.4821705, 99.5081905, ประวัติและตำนานการเปิดกรุ]

        พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า
        เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับ พ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่าง ๆ จำนวนมาก ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้ พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ พระกำแพงพลูจีบ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเปิดโลก (เม็ดทองหลาง) พระเกสรว่านหน้าเงินหน้าทอง พระเม็ดน้อยหน่า พระนางกำแพง ฯลฯ
        ตำนานจารึกบนแผ่นลานเงินได้คัดจากสำเนาเดิม ดังนี้ ณ ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร  เมืองพิชัย เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ามีฤาษี 11 ตน ฤาษีเป็นใหญ่ 3 ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง 3 จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วน 5,000 พรรษา พระฤาษีตนหนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1,000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้สัก 1,000 ครั้นเสร็จแล้วฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยบดยาทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง 3 ตนนั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงปั้นเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด

จดหมายเหตุ
        ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จพระพาสเมืองกำแพงเพชรของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 ในปี 2449 ได้คัดมา โดยย่อว่านายชิดมหาดเล็กวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาไทย ลาป่วยได้ขึ้นมารักษาตัวที่บ้านภรรยาเมืองกำแพงเพชรในปีนั้น ได้ทูลเกล้าถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐีเป็นจารึกบนแผ่นลานทองแต่รัชกาลที่ 5 นายชิดกล่าวว่าแผ่นลานทองไม่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ขุดได้เฉพาะในบริเวณทุ่งเศรษฐีเท่านั้นการพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุนครชุมในปี พ.ศ. 2392 แล้ว พระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวกัน โดยชาวพม่าชื่อ พญาตะก่า แต่ไม่แล้วเสร็จเศรษฐีป่าไม้ชาวพม่าชื่อ พะโป๊ะ ได้บูรณะต่อมาจนเสร็จบริบูรณ์ แล้วสั่งยอดฉัตรจากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ในปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้มีรูปแบบศิลปะพม่า นายชิดมหาดเล็กได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์ครั้งแรกที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุแล้ว ต่อมาชาวบ้านได้ทำการขุดค้นเจดีย์น้อยใหญ่ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีได้พระพิมพ์แบบต่างๆ จำนวนมาก พระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้ก่อนชาวบ้านนิยมนับถือกันมาช้านานแล้วว่ามีอานุภาพมากผู้ใดมีไว้จะทำการสิ่งใดก็มีความสำเร็จผลตามความปรารถนาทุกประการ รูปแบบพระพิมพ์เหล่านี้มีผู้ได้พบแล้วมีอยู่ 3 แบบคือ พระยืนอย่าง 1 พระลีลาอย่าง 1 พระนั่งอย่าง 1 พระเกสรว่าน อย่าง 1 พระพิมพ์เหล่านี้เหมือนกับที่ชาวบ้านได้พบครั้งแรกในเจดีย์พระบรมธาตุทุกอย่างนายชิดได้ทูลเกล้าถวายพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีหลายแบบพร้อมด้วยแม่พิมพ์พระและสำเนาตำนานจารึกแผ่นลานเงินของพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแต่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย(พระพิมพ์กรุนี้รัชกาลที่ 5 ได้นำออกแจกจ่ายแก่พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ข้าราชการมหาดเล็กที่ติดตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วกัน) พระเครื่องหรือพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐี มีศิลปะสมัยสุโขทัยที่งดงามมากอาณาจักรสุโขทัยรับคติพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์พระพุทธรูปและพระพิมพ์ได้รับแบบจากศิลปะลังกาด้วย โดยเฉพาะพระซุ้มกอถอดแบบจากพระพุทธรูปศิลปะลังกาในสมัยอนุราชปุระความสำคัญของพระเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนครชุมนี้ เป็นพระสถูปเจดีย์สำคัญและเป็นประธานของกลุ่มพระเจดีย์ในเมืองนครชุมรวมถึงในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีด้วย เพราะได้บอกเรื่องราวของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 ของกรุงสุโขทัย ทรงสถาปนาพระสถูปนี้และการรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ พระบรมธาตุ ต้นศรีมหาโพธิ์เข้ามาประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชรพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีนี้สร้างขึ้นโดยพิธีกรรมของกษัตริย์บ่งบอกถึงศิลปะอันรุ่งเรืองของสมัยสุโขทัยที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 รัชกาลของพระเจ้าลิไททรงครองราชย์ในปี พ.ศ. 1890 – 1909

คำอ่านหลักศิลาจารึกนครชุม หลักที่ 3
        ศักราชที่ 1279 ปีระกาเดือนแปด ออกห้าค่ำ วันศุกร์ หนไทยกัดเราบูรพผลคุณินักษัตรเมื่อยามวันสถาปนานั้น เป็นหกค่ำแล้ว พระยาฦาไทยราชผู้เป็นลูกพระยาเลอไทย เป็นหลานแก่พระยารามราชเมื่อได้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ได้ราชาภิเษก อันฝูงท้าวพระยาทั้งหลายอันเป็นมิตรสหายอันมีในสี่ทิศนี้ แต่งกระยาดงวายของฝากหมากปลาไหว้ อันยัดยัญอภิเษกเป็นท้าวพระยา จึงขึ้นชื่อศรีสุริยพงษ์มหาธรรมราชาธิราชหากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุมนี้ปีนั้นพระมหาธาตุนี้ใช่ธาตุอันสามานย์คือพระธาตุแท้จริงแล้วเอาลุกแต่ลังกาทวีปพู้นมาดายเอาทั้งพืชพระมหาโพธิอันพระพุทธเจ้าเราเสด็จอยู่ใต้ต้น และ ผจญพลขุนมาราธิราชได้ปราบแก่สัพพัญญุตาญาณเป็นพระพุทธเจ้า มาปลูกเบื้องหลังพระมหาธาตุนี้ ผิผู้ใดได้ไหว้นพกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นพตนพระเจ้าบ้างฯลฯ ตำนานบนแผ่นลานเงินได้บอกวิธีสำหรับอาราธนาพระกำแพงทุ่งเศรษฐี ดังนี้
        ถ้าผู้ใดได้ไหว้ให้ถวายพระพร แล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพ ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิดฤาษีได้อุปเท่ห์ไว้ดังนี้
          - แม้อันตรายสักเท่าใดก็ดีให้นิมนต์พระใส่ศีรษะ อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล
         - ถ้าจะเข้าการรณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เข้าด้วยนวหรคุณ แล้วเอาใส่ผม ศักดิ์สิทธิ์ตามปรารถนา
         - ถ้าผู้ใดจะประสิทธิ์แก่หอกดาบศาสตราอาวุธทั้งปวงเอาพระสรงน้ำมันหอมแล้วเสกด้วย อิติปิโสภกูราติ เสก 3 ที 7 ทีแล้วใส่ขันสำริด พิษฐานตามควาปรารถนาเถิด
         - ถ้าผู้ใดจะใคร่มาตุคามเอาพระสรงน้ำมันหอม ใส่ใบพลูทาประสิทธิ์แก่คนทั้งหลาย
         - ถ้าจะสง่าเจรจาให้คนเกรงกลัวเอาพระใส่น้ำมันหอม หุงขี้ผึ้ง เสกด้วย นวหรคุณ 7 ที
         - ถ้าจะค้าขายก็ดีไปทางบกทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุง แล้วเอาพระสรงน้ำมันหอมเสกด้วยพระพุทธคุณอิติปิโส ภกูราติ เสก 7 ที ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล
         - ถ้าจะให้สวัสดีสภาพรทุกวันให้เอาดอกไม้ดอกบัวบูชาทุกวัน ถ้าจะปรารถนาอันใดก็ได้ทุกอันแล
         - ถ้าผู้ใดพบพระเกสรก็ดีพระว่านก็ดี พระปรอทก็ดี (เข้าใจว่าเป็นพระเนื้อชินเข้าปรอท)เหมือนกันอย่าประมาท มีอานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยแก่ผู้นั้น
         - ถ้าจะให้ความสูญให้เอาพระสรงน้ำมันหอม เอาด้าย 11 เส้น (หมายถึงพระฤาษี 11 ตน) ชุบน้ำมันหอม แล้วทำไส้เทียนตามถวายพระ แล้วพิษฐานตามความปรารถนาเถิด
         - ถ้าผู้ใดจะสระหัวให้เขียนยันต์ใส่ไส้เทียนเถิด จะประเสริฐแล ฯลฯ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ

ที่มา : https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=yutchaorai&month=28-08-2014&group=3&gblog=2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติและตำนานการเปิดกรุ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1184&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1184&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 7,055

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 15,398

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ  ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 10,677

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก

“พระวชิรสารโสภณ” หรือ “หลวงพ่อจุล อิสสรญาโณ” อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าคณะอำเภอขาณุวรลักษบุรี วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมคือ “เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อจุล รุ่นแรก วัดหงษ์ทอง กำแพงเพชร พ.ศ.2499″… จัดสร้างขึ้นวาระที่คณะศิษย์ชาวเมืองกำแพงเพชร สร้างถวายไว้แจกเป็นที่ระลึก ลักษณะเป็นเหรียญรูปสี่เหลี่ยม มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อจุลนั่งขัดสมาธิเต็มองค์หันหน้าตรง ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ที่ระฤกในงานถวายของขวัญพระครูวิกรมวชิรสาร วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2499” ด้านหลังเหรียญไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นอักขระยันต์ ปัจจุบันเริ่มหายาก ส่วนใหญ่ถูกตามเก็บเข้ากรุ …

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 3,604

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,307

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,147

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระสมเด็จเนื้อดิน

พระอธิการกลึง วัดคูยาง กำแพงเพชร ได้รวบรวม พระเครื่องของกรุกำแพงเพชรที่แตกหัก ที่ได้ค้นพบจากการรื้อสร้างบูรณะพระเจดีย์ทั้งสามองค์ของวัดพระบรมธาตุ นำมาป่นแล้วกดพิมพ์ขึ้นใหม่ โดยมักจะล้อพิมพ์พระดังๆ หลา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 18,196

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,945

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

พระเครื่องเนื้อดินกรุ

การพิจารณาพระเนื้อดินก็พอๆ กับพระเนื้อชิน กล่าวคือต้องจดจำพุทธลักษณะรูปพิมพ์ของพระแต่ละกรุให้มากเป็นหลัก ให้พิจารณาว่าพระกรุนี้เป็นอย่างนี้ และพระกรุนั่นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น ผิวของพระเครื่องเนื้อดิน พระส่วนมากเมื่อขึ้นจากกรุจะจับเกือบติดแน่นกับองค์พระหนามาก ขนาดนำมาล้างและขัดปัดแล้วก็ยังไม่เป็นเนื้อพระ และส่วนมากคราบกรุจะเคลือบติดแน่นอยู่ตามซอกขององค์พระเครื่องโดยธรรมชาติ จะแตกต่างกับคราบที่เลียนแบบใช้ดินใหม่ป้ายติดเฉพาะบนผิวจะไม่แน่นเหมือนคราบธรรมชาติ บางกรุองค์พระจะไม่มีคราบกรุก็มี

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 9,584

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปี เท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชิน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 4,099