พระกำแพงห้าร้อย
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 13,643
[16.4746251, 99.5079925, พระกำแพงห้าร้อย]
พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก แต่พระที่ขุดพบนั้นส่วนใหญ่ มักชำรุดมีผิวระเบิดผุกร่อน ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก ที่คนสมัยก่อนมักเรียกกันว่าชินแข็ง ประกอบกับกรุที่บรรจุพระนั้นมีความชื้น เนื่องจากพื้นที่ของกรุเป็นลักษณะทุ่งนาเมื่อเวลาหน้าน้ำจะมีน้ำหลากท่วมถึง จึงทำให้พระเนื้อชินประเภทนี้มักเปื่อย ผุ ระเบิดเป็นแห่งๆ พระกำแพงห้าร้อยที่พบทั้งสามกรุจึงมักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระกำแพงห้าร้อย ที่ชำรุดนี้คนในสมัยก่อนเห็นว่าศิลปะขององค์พระสวยน่ารักดีจึงนำมาตัดแบ่งออกเป็น 9 องค์บ้าง ห้าองค์บ้าง 3 องค์บ้าง ตามแต่จะพอแบ่งได้ แต่ที่นิยมที่สุดก็คือตัดเก้า แต่ถ้าตัดห้าแต่ได้พระองค์บนสุดติดมาด้วยก็จะหายากเช่นกันครับ พระกำแพงห้าร้อย นี้ถ้าถูกตัดออกมาแล้ว จะได้พระที่สมบูรณ์เพียงด้านเดียว เพราะองค์พระทั้งสองด้านจะเหลื่อมกัน เวลาตัดแล้วจะมีพระองค์ที่อยู่ขอบข้างจะถูกตัดเข้าไปบนองค์พระอยู่ด้านหนึ่ง อันนี้เป็นจุดสังเกตประการหนึ่ง และถ้าเป็นของกรุวัดกะโลทัยนั้นส่วนใหญ่ที่องค์พระจะมีการทาทองล่องชาดเอาไว้ ส่วนกรุอื่นๆ ไม่มีการทาลองล่องชาดครับ พระกำแพงห้าร้อยนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพัน
"พระกำแพงห้าร้อย" เป็นพระยอดขุนพลกรุเก่าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่อง และมีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจ จากชื่อก็บอกยี่ห้อแล้วว่าต้องเป็นพระที่พบจากกรุในจังหวัดกำแพงเพชรแน่นอน ปรากฏที่กรุวัดมหาธาตุและวัดโดยทั่วๆ ไปของจังหวัด มีที่ใช้ชื่อเหมือนกันบ้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่สันนิษ ฐานว่า สร้างกันคนละยุค เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่แตกต่างกัน ที่เรียกชื่อเหมือนกันอาจจะเป็นที่คำว่า "ห้าร้อย" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก็คือจะเป็นพระแผงขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า "พระตู้" ด้านบนตัดแหลมเป็นรูปห้าเหลี่ยม ด้านล่างตัดตรงเหมือนพระใบขนุน ประกอบด้วยองค์พระขนาดเล็กเรียงรายเป็นแถวทั้งสองด้านนับรวมกันได้ 502 องค์ จึงขนานนามว่า "พระกำแพงห้าร้อย" แต่ในปัจจุบันจะหาดูที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวได้ยากมากๆ ที่พบเห็นกันอยู่นับเรียงกันมากที่สุดแล้วก็เห็นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพอๆ กับพระสมเด็จมีองค์พระ 9 องค์ เราเรียกว่า "แพงเก้า" เนื่องจากเลข 9 เป็นเลขนำโชค หรือไม่ก็แยกออกเป็นองค์เดี่ยวๆ สามารถนำมาห้อยคอบูชาได้ และสนนราคาไม่แพงนัก ถ้าชนิดสมบูรณ์แบบลักษณะเดิมราคาจะสูงมาก ที่มาที่ไปของ "พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร" ตามพุทธประวัติว่า พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหมดถึง 500 ชาติ จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนโบร่ำโบราณจึงได้สร้างองค์พระเรียงติดกันเป็นแผงให้ครบ 500 องค์ ตามคติความเชื่อว่าเป็นกุศลอันสูงส่ง
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=143&code_db=DB0003&code_type=P003
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระกำแพงห้าร้อย. สืบค้น 13 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=194&code_db=DB0014&code_type=F0013
Google search
ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,171
พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,828
พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,588
พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง
เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 14,184
พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 28,929
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,644
ที่ตั้งกรุพระวัดป่ามืด ถนนกำแพง-พรานกระต่ายจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 200 เมตร เลี้่ยวซ้ายไปประมาณ 900 เมตร ถึงวัดป่ามืดนอก แล้ววัดป่ามืดอยู่ทิศตะวันตกติดกัน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระลีลากำแพงเพชร พระเม็ดมะลื่น พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่-กลาง พระนางพญาท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระเชตุพน พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระฝักดาบ พระกลีบจำปา พระเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระประทานพร พระซุ้มยอ พระท่ามะปราง พระนาคปรก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองซุ้มเสมา พระกำแพงใบตำแย และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,237
พระเชตุพนหน้าโหนก กรุบรมธาตุ กำแพงเพชร เนื้อชินเงิน ขนาดกว้าง 1.5 สูง 2.0 เซนติเมตร สภาพสวยสมบูรณ์มาก พร้อมตลับทองปิดหลังอย่างดี หนัก 7.82 กรัมพุทธศิลป์นั้นเป็นพระศิลปะสุโขทัยผสมผสานฝีมือช่างสกุลกำแพงเพชร เท่าที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน เนื้อว่าน และเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงเมืองกำแพงเพชร มีวัดต่างๆ มากมาย ร่วม ๒๐ วัด จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดที่มีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ เป็นจำนวนมาก มีหลายพิมพ์ ทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 14,869
สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับวัดเสด็จ เมืองกำแพงเพชร เป็นที่ทราบกันดีว่า สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็นชาวกำแพงเพชร หลักฐานจากบันทึกของมหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) ความว่า... ครั้งนั้นเจ้าพระยาจักรี ตั้งทัพอยู่ ณ เมืองกำแพงเพชร เวลาเช้าวันหนึ่งออกลาดตระเวนกองทัพทั้งปวงเพื่อบัญชาการ และชักม้าลัดเพื่อตัดทาง ม้าก็เลยพาท่านเข้าป่าฝ่าพง จำเพาะมายังบ้านปลายนาใต้เมืองกำแพงเพชรเป็นเวลาเย็น จึงแลเห็นโรงหนึ่งตั้งอยู่ปลายทุ่งนา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงได้ชักม้าไปถึงโรงนั้น ไม่เห็นมีคนผู้ใหญ่อยู่ ได้เห็นแต่หญิงสาวคนหนึ่งเดินออกมา เจ้าคุณแม่ทัพผู้นั้นจึงบอกแก่นางสาวคนนั้นว่า ข้ากระหายน้ำ เจ้าจงตักน้ำมาให้กินสักขันเถิด...
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 5,926
จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว
เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 13,933