พระพลูจีบว่านหน้าทอง

พระพลูจีบว่านหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 4,287

[16.4746251, 99.5079925, พระพลูจีบว่านหน้าทอง]

          พระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีพุทธลักษณะลีลาก้าวย่างไปข้างหน้า แต่หันด้านข้างออก เป็นพระที่คล้ายคลึงกับพระกำแพงเม็ดขนุน ผิดกันตรงที่องค์พระผอมกว่า และตื้นกว่าพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระที่มีการสร้างประมาณ 600 กว่าปีเท่าๆ กับพระกำแพงซุ้มกอ และพระเม็ดขนุนวัสดุในการใช้สร้าง ประกอบด้วยเนื้อดินผสมว่านเกสร เนื้อว่านล้วน ๆ มีหน้าทองปิด และเนื้อชินพระกำแพงพลูจีบ ถูกค้นพบ บริเวณวัดบรมธาตุบริเวณวัดพิกุลตลอดจนบริเวณลานทุ่ง แต่มีผู้พบน้อยมากแทบจะนับองค์ได้ เมื่อก่อนนี้ พระกำแพงพลูจีบ จัดว่าเป็นพระที่มีราคาสูงกว่าพระอย่างอื่นทั้งหมดในจังหวัดกำแพงเพชร ในด้านพุทธคุณถือว่าสุดยอดมากในด้านเมตตา แคล้วคลาด และปรากฏว่าพระพิมพ์นี้มีผู้ที่ทำปลอมมากที่สุด เพราะเป็นพระที่หายากและมีราคาสูงนั่นเอง ขนาดองค์จริงสูงประมาณ 4.5 ซ.ม. กว้างประมาณ 1.5 ซ.ม.

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=3&code_db=DB0003&code_type=

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพลูจีบว่านหน้าทอง. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=184&code_db=DB0002&code_type=W002

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=184&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 43,836

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 3,182

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 6,021

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,249

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 15,156

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,513

กรุวัดหนองลังกา

กรุวัดหนองลังกา

จากบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร วัดหนองลังกาอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 540 เมตร ที่ตั้งกรุพระวัดหนองลังกา อยู่ทิศตะวันออกของกรุวัดหนองพิกุล ประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,217

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลา ทุ่งเศรษฐี พิมพ์เม็ดขนุน

พระลีลาเม็ดขนุน หรือกำแพงเม็ดขนุน หรือกำแพงเขย่งก็เรียก ในอดีตเป็นพระที่ได้รับความนิยมสูงกว่าพระกำแพงซุ้มกอ และถูกจัดอยู่ในชุดพระเบญจภาคีชุดใหญ่ แต่ภายหลัง พระกำแพงเม็ดขนุนเป็นพระที่ค่อนข้างหายาก และเป็นพระที่มีลักษณะทรงยาว ซึ่งไม่เข้าชุดกับพระเบญจภาคีที่เหลือ ภายหลังจึงได้มีการเปลี่ยนเอาพระกำแพงซุ้มกอเข้าไปแทนที่ พุทธลักษณะพระกำแพงเม็ดขนุน เป็นพระปางลีลาศิลปสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็กส่วนเนื้อพระกำแพงเม็ดขนุน แบ่งออกได้ดังนี้ เนื้อดิน เนื้อว่านล้วนๆ เนื้อว่านหน้าทอง และเนื้อว่านหน้าเงิน (คลิกกลับไปดูกำแพงเม็ดขนุน) เนื้อชิน ส่วนเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุด คือเนื้อดิน มีด้วยกันหลายสี เช่น เนื้อสีแดง,เนื้อสีเหลือง, เนื้อสีเขียว, เนื้อสีดำ และเนื้อสีผ่าน (คือมีมากกว่า1 สี ในองค์เดียวกัน) รองลงมาก็จะเป็นเนื้อว่านหน้าทอง และว่านหน้าเงิน แต่ก็เป็นเนื้อที่หายากมากเช่นกัน

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 19,736

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

ประวัติที่มาของพระเครื่อง

วันศุกร์ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 พ.ศ. 1900 กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ทรงเสด็จมาสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ และทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) การสถาปนาพระธาตุครั้งนั้นมีพระฤาษี (พระธรรมยุทธิ์ปัจจุบัน) มาร่วมในมหาพิธี 11 ตน ฤาษีทั้งปวงซึ่งมีวิชาอาคมแก่กล้าทั้งสิ้น ในจำนวนฤาษี ซึ่งมีฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัว (หลวงตาไฟหลวงตาวัว) เป็นใหญ่จึงปรึกษากันสร้างเครื่องประดิษฐ์ด้วยฤทธิ์ให้มีอนุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายเพื่อสร้างถวายมหากษัตรย์ฯ ทรงเสด็จสถาปนาพระธาตุในมหาพิธี พระฤาษีตาไฟจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวง

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 5,061

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,238