บวบขม

บวบขม

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 2,139

[16.4258401, 99.2157273, บวบขม]

บวบขม ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichosanthes cucumerina L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE)
สมุนไพรบวบขม มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า มะนอยจ๋า (ภาคเหนือ), นมพิจิตร (ภาคกลาง), เล่ยเซ (เมี่ยน) เป็นต้น

ลักษณะของบวบขม
        ต้นบวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น
        ใบบวบขม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก แผ่นใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวใบสากมือ มีขนทั้งสองด้าน แต่ขนด้านล่างจะยาวกว่าด้านบน เส้นใบเป็นร่องลึกเห็นได้ชัด เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 เส้น ก้านใบเล็กและมีขน ยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร 
         ดอกบวบขม ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ก้านดอกเล็กคล้ายเส้นด้ายและมีขนเล็กน้อย กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร กลีบยาว 1.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเส้น 3 เส้น กลีบอยู่ชิดกัน มีเกสรเพศผู้ 3 อัน เป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง โดยจะออกตามซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 3-12 มิลลิเมตร กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน ดอกเพศผู้ รังไข่เป็นรูปยาวรีและมีขนยาวนุ่ม ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร[1],[3],[4]
          ผลบวบขม ลักษณะของผลเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ หัวท้ายแหลม ผลกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ผิวผลเป็นสีเขียวมีตุ่มเล็ก ๆ ขรุขระเล็กน้อย มีจุดประสีขาวทั่วผล ลายสีเขียวเข้มตามความยาวของผล ผลมักงอเล็กน้อย มีรสขม ภายในมีเมล็ดอ่อนสีขาวจำนวนมากอัดแน่นกันเป็นแถว เมื่อแก่เป็นสีดำรูปหยดน้ำ แบน มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร

สรรพคุณของบวบขม
1. ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ เถา ผล หรือทั้งต้นบวบขม เข้าตำรับยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ (เถา, ผล, ทั้งต้น)
2. น้ำต้มจากเถาหรือต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ (เถา)
3. เถานำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดไข้ หรือจะใช้ใบหรือรากนำมาต้มกับน้ำกินก็ได้ ส่วนเมล็ดสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ (เถา, ราก, ใบ, เมล็ด)
4. ผลมีรสขมมาก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ส่วนเถาและเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำเช่นกัน (เถา, ผล, เมล็ด)
5. เถามีรสขม นำมาคั้นเอาน้ำกินจะทำให้อาเจียน ส่วนราก ผล และเมล็ด ก็มีสรรพคุณช่วยทำให้อาเจียนเช่นกัน (เถา, ราก, ผล, เมล็ด)
6. ช่วยขับเสมหะ (เมล็ด)
7. รากนำมาต้มกินเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ (ราก)
8. ผลแห้งมีสรรพคุณเป็นยาแก้ริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้รังหรือใยบวบขมแบบแห้ง นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือหั่นให้เป็นฝอยผสมกับเส้นยาสูบเล็กน้อยมวนเป็นบุหรี่สูบฆ่าเชื้อริดสีดวงจมูกทั้งที่เพิ่งเป็นใหม่ ๆ และเป็นมากขนาดหายใจออกมามีกลิ่นเหม็น (ผล)
9. น้ำต้มจากรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ราก)
10. เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้หืด (เมล็ด)
11. ผลแห้งนำมาต้มกับน้ำตาลเป็นยาช่วยย่อย (ผล)
12. ใบมีรสขมเย็น นำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาระบาย แต่ถ้าใช้มากจะทำให้อาเจียน ส่วนน้ำต้มจากราก เถา ผลและยอดอ่อนก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกัน (ราก, เถา, ใบ, ผลและยอดอ่อน)
13. ราก ผล และเมล็ด ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรง น้ำต้มจากรากในขนาด 60 มิลลิลิตร จะเป็นยาถ่ายอย่างแรงและรบกวนทางเดินอาหารมาก (ราก, ผล, เมล็ด)
14. ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ราก, ผล, เมล็ด)
15. เมล็ดมีรสขมเย็น มีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี และใช้ได้ดีกับคนไข้ธาตุพิการ (เมล็ด)
16. เถาใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้หนองให้ตก (เถา)
17. ผลใช้เป็นยาแก้ท่อน้ำดีอุดตัน (ผล)
18. เถาใช้ร่วมกับต้นผักชี น้ำผึ้ง และต้น Gentian กินเป็นยาแก้อาการอักเสบต่าง ๆ ฟอกเลือด ขับประจำเดือน และใช้กับคนไข่ท่อน้ำดีอักเสบ (เถา)
19. ตำรายาไทยจะใช้ผลสดเป็นยาพอกศีรษะ แก้คัน แก้รังแค และฆ่าเหา โดยนำมาขยี้ฟอกศีรษะเส้นผมหลังสระผม หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยล้างน้ำออก โดยให้ฟอกทุกครั้งหลังสระผม จะช่วยขจัดรังแคแก้อาการคันศีรษะได้ดีมาก (ผล)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบวบขม
1. ผลมีรสขมเพราะมีสารชื่อ "คิวเคอร์บิตาซิน" ในปริมาณมาก โดยคิวเคอร์บิตาซินเป็นสารขมที่เป็นลักษณะเฉพาะของพืชวงศ์นี้ เป็นสารกลุ่มไทรเทอร์ปีนที่มีออกซิเจนจำนวนมาก คิวเคอร์บิตาซินหลักในบวบขมจะเป็นคิวเคอร์บิตาซิน บี ซึ่งมีฤทธิ์แรงในการยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องปากและจมูก (KB cell) เซลล์มะเร็งเต้านมชนิด ER positive และ ER negative
2. สารสกัดทั้งต้นและผลด้วยแอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด
3. น้ำคั้นและสารสกัดจากผลบวบขมด้วยอีเทอร์ มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง

ประโยชน์ของบวบขม
1. ผลใช้ประกอบอาหาร เช่น ใช้ใส่ในแกง
2. เส้นใยใช้แทนฟองน้ำสำหรับล้างจาน

คำสำคัญ : บวบขม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บวบขม. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1642&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1642&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะเขือเปราะ

มะเขือเปราะ

ต้นมะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่ม ที่มีความสูงของต้นประมาณ 2-4 ฟุต มีอายุได้หลายฤดูกาล ใบมีขนาดใหญ่ ออกเรียงตัวแบบสลับ ออกดอกเดี่ยว ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นสีม่วงหรือสีขาว ลักษณะของผลมีรูปร่างกลมแบนหรือเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีขาวอมเขียว และอาจเป็นสีขาว สีเขียว สีเหลือง หรือสีม่วง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก ผลเมื่อแก่แล้วจะมีสีเหลือง ส่วนเนื้อในผลเป็นสีเขียวเป็นเมือก มีรสขื่น

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,290

มะกรูด

มะกรูด

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับมะกรูดเป็นอย่างดี เพราะเป็นสมุนไพรคู่ครัวไทpมาอย่างยาวนาน เพราะนิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงที่จำเป็นอย่างขาดไม่ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้วเรามักจะนิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดมาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากมะกรูด จะใช้เป็นเครื่องประกอบในอาหารต่าง ๆ แล้ว ก็ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านของความงามและในด้านของยาสมุนไพร นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกไว้บริเวณบ้านอีกด้วย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข โดยจะปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 7,728

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,417

กระชายดำ

กระชายดำ

ต้นกระชายดำเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบกระชายดำ ใบเดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 เซนติเมตร 10-15 เซนติเมตร ดอกกระชายดำออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 10-13 มิลลิเมตร กลีบปากสีม่วง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 1,652

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,242

บุนนาค

บุนนาค

บุนนาค มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-25 เมตร และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร ลักษณะเป็นทรงยอดพุ่มทึบและแคบ มีทรงพุ่มใหญ่ลักษณะคล้ายเจดีย์ต่ำ ๆ มีพูพอนเล็กน้อยตามโคนต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านเรียวเล็กห้อยลง เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้น ๆ หลุดร่วงได้ง่าย ที่เปลือกชั้นในจะมีน้ำยางสีเหลืองอ่อนเล็กน้อย ส่วนในเนื้อไม้จะมีสีแดงคล้ำเป็นมันเลื่อม พบได้มากในป่าดิบชื้น ตามลำธารหรือริมห้วย พบได้มากในประเทศอินเดียและศรีลังกา

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,454

ผักชีล้อม

ผักชีล้อม

ต้นผักชีล้อม จัดเป็นพืชล้มลุกที่โผล่ขึ้นเหนือน้ำหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นผิวดิน ลำต้นกลวงอวบน้ำ ผิวภายนอกเป็นร่อง ชอบขึ้นในน้ำและที่ชื้นแฉะ ขายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเม็ด การแยกไหลและการปักชำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 1-3 ชั้นเรียงสลับ ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรีแคบหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเป็นจักคล้ายฟันเลื่อยดอกมีขนาดเล็กสีขาวออกเป็นช่อซี่ร่ม ดอกย่อยขนาดเล็ก ผลเป็นผลเดี่ยว ผลแห้งแก่แล้วแตกเป็นสองส่วน ลักษณะของผลค่อนข้างกลมเป็นสัน

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 17,829

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,930

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 11,828

มะกล่ำตาหนู

มะกล่ำตาหนู

ต้นมะกล่ำตาหนู มีเขตการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดียไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยมีอายุได้หลายปี มีความสูงของต้นได้ถึง 5 เมตร โดยจัดเป็นไม้เถาเนื้ออ่อนสีเขียวขนาดเล็ก เถามีลักษณะกลมเล็กเรียวและมีขนสีขาวขึ้นปกคลุม ที่โคนเถาช่วงล่างจะแข็งและมีขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกประเภท เป็นพรรณไม้ที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่มีความชื้น มักพบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ที่รกร้าง ป่าตามทุ่งนา หรือตามป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 8,567