เกล็ดมังกร
เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,620
[16.4258401, 99.2157273, เกล็ดมังกร]
เกล็ดมังกร ชื่อวิทยาศาสตร์ Dischidia minor (Vahl) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Dischidia nummularia R. Br.) จัดอยู่ในวงศ์ตีนเป็ด (APOCYNACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยนมตำเลีย (ASCLEPIADOIDEAE - ASCLEPIADACEAE)
สมุนไพรเกล็ดมังกร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กะปอดไม้ (เชียงใหม่-ชุมพร), อีแปะ (จันทบุรี), กระดุมเสื้อ เกล็ดลิ่น (ชัยภูมิ, อุบลราชธานี), หญ้าเกล็ดลิ่น (ชลบุรี), เบี้ยไม้ กับม้ามลม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เกล็ดมังกร เบี้ย (ภาคกลาง), ปิติ้ (มลายู-นราธิวาส) เป็นต้น
ลักษณะของเกล็ดมังกร
ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่น ๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย
ใบเกล็ดมังกร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปกลมหรือรูปวงรีแกมรูปโล่ ขนาดเล็ก ปลายใบแหลมเป็นติ่งขนาดเล็ก โคนใบแหลม-มน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-11 มิลลิเมตร ผิวใบเกลี้ยง เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น ยาวได้เพียง 1-2 มิลลิเมตร ยอดอ่อนและใบอ่อนมีขนขึ้นประปราย
ดอกเกล็ดมังกร ออกดอกเป็นช่อกระจะสั้น ๆ ตามซอกใบ ดอกย่อยมีขนาดเล็ก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีสมมาตรตามรัศมี กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ เป็นสีเขียว มีขนาดกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกจะมี 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาวแกมเหลืองหรือเป็นสีเขียว โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ส่วนที่เป็นหลอดมีความยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และส่วนที่เป็นพูมีความกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีรยางค์เป็นรูปมงกุฎ 5 อัน แต่ละอันแยกเป็น 2 พู เกสรเพศผู้มี 5 อัน และเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่ 2 อัน รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 1 ช่อง และมีออวุลจำนวนมาก ติดตามแนวตะเข็บ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน และยอดเกสรเพศเมีย 1 อัน ออกดอกในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
ผลเกล็ดมังกร ผลมีลักษณะเป็นฝักรูปดาบแกมขอบขนาน โค้งเล็กน้อย ยาวได้ประมาณ 5-7 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร บริเวณเหนือจุดกึ่งกลางแหลมเรียวเป็นจะงอย ใต้จุดกึ่งกลางนั้นมีลักษณะเป็นรูปรีเบี้ยว แตกตะเข็บเดียว ภายในฝักมีเมล็ดลักษณะแบนจำนวนมาก ที่ปลายเมล็ดมีขนเป็นพู่หรือกระจุกขนสีขาวคล้ายเส้นไหม
สรรพคุณของเกล็ดมังกร
1. ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นเป็นยาถอนพิษไข้ พิษไข้กาฬ (ไข้ที่มีตุ่มที่ผิวหนัง ตุ่มอาจมีสีดำ) (ทั้งต้น)
2. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้พิษตานซาง (โรคพยาธิในเด็กที่มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ค่อยทานอาหาร อ่อนเพลีย พุงโรก้นปอด ผอมแห้ง ซูบซีด ท้องเดิน ตกใจง่าย อุจจาระผิดปกติ อาจมีกลิ่นคาวจัด
และชอบกินอาหารคาว) (ทั้งต้น)
3. ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ทั้งต้นเกล็ดมังกรเข้ายาแก้โรคตับพิการ (ทั้งต้น)
4. ใบสดของต้นเกล็ดมังกรนำมาตำให้ละเอียดแล้วใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลพุพอง (ใบสด)
5. ลำต้นใช้เป็นยาแก้อักเสบและปวดบวม (ลำต้น)
6. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)
คำสำคัญ : เกล็ดมังกร
ที่มา : ้https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เกล็ดมังกร. สืบค้น 12 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1569&code_db=610010&code_type=01
Google search
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,219
กุ่มน้ำนี้จัดเป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง โดยมีลำต้นสูงประมาณ 5-20 เมตร เปลือกนั้นจะค่อนข้างเรียบสีเทา ส่วนใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือค่อนข้างหนาสีเขียว แต่ด้านล่างจะเป็นสีเขียวอ่อนกว่าด้านบน มีใบย่อยรูปหอกอยู่ 3 ใบ หูใบเล็ก ร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย และมีเส้นแขนงของใบอยู่ข้างละประมาณ 9-22 เส้น ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนดอกนั้นจะออกเป็นช่อถี่ตามยอด มีหลายดอกในแต่ละช่อ กลีบเลี้ยงรูปทรงไข่ ปลายแหลม โดยกลีบดอกกุ่มน้ำนี้จะมีสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน และผลกลุ่มน้ำนี้จะเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกค่อนข้างหนา ผลดิบสีนวลประมาณเหลืองอมเทา เมื่อผลสุกจะเป็นสีเทา ด้านในมีเมล็ดอยู่มากเป็นรูปเกือกม้า สีน้ำตาลเข้ม
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,933
บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,655
หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,224
ต้นกะเม็งตัวเมียจัดเป็นพืชสมุนไพรล้มลุกที่เต็มไปด้วยสรรพคุณในการรักษาโรค ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษหรือแอลกอฮอล์ ยับยั้งการกระจายตัวของเชื้อ HIV และยังเชื่อกันว่าสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็งได้ดีอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมนำพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาเพื่อรักษาโรค ซึ่งหากต้องการให้ได้ผลดี ควรใช้ต้นกะเม็งตัวเมียที่อยู่ในช่วงเจริญเต็มที่และกำลังออกดอกจะทำให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ดีที่สุด ซึ่งนอกจากสรรพคุณในการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้สีดำจากลำต้นมาย้อมผ้าหรือย้อมผมได้ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,073
ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น ฟักทองยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัม จะทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,125
ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 13,188
ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขา ที่เรือนยอดของต้น จะแผ่กว้างยาแบน มักจะมีพูพอนขนาดเล็กกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ต้นสูง 8-30 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบเนื้อใบค่อนข้างหนา ด้นบนของใบเป็นมันเป็นตุ่มบนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว ดอกออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 3-6 นิ้ว ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอดส่วนปลายแผ่ ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม ผลเป็นรูปสามเหลี่ยมและมีปีกหนา 2 ปีก อยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะแตกต่างกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,896
ตะแบกนา (ตะแบกไข่, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง) เป็นต้นไม้ผลัดใบ สูง 15 - 30 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อยใบอ่อนสีแดงมีขนสั้นอ่อนนุ่มปกคลุม ใบแก่ขนจะหลุดหายไป แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 5 - 7 เซนติเมตร ยาว 12 - 20 เซนติเมตร ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนสอบ ดอกสีม่วงอมชมพูต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเกือบขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ออกดอก กรกฎาคม - กันยายน ไม่แน่นอนแล้วแต่สภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม เก็บเมล็ดได้ประมาณเดือน ธันวาคมขึ้นไป ผลแก่ จะแตกเพื่อโปรยเมล็ดในราวเดือน มีนาคม การขยายพันธุ์โดยเมล็ด
เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,214
เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน
เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 8,140