ตำนานพระซุ้มกอ

ตำนานพระซุ้มกอ

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 8,468

[16.4782052, 99.5089194, ตำนานพระซุ้มกอ]

         "มีกูไว้แล้วไม่จน" คือถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง  
     
    เบญจภาคี คือ การนำเอาพระเครื่องที่เป็นพระเครื่องชั้นยอดมารวมกัน 5 องค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในวงการพระเครื่องยุคแรก ที่วงการพระรู้จักท่านในนามปากกา " ตรียัมปวาย " เป็นผู้บัญญัติจัดตั้งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พระเบญจภาคี 5 องค์ ประกอบด้วย
         1. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
         พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน หรือที่นิยมเรียกว่า พระพิมพ์ใหญ่ เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาพระสมเด็จวัดระฆังทั้ง 4 พิมพ์ ด้วยความงดงามสง่าผ่าเผย ขององค์พระ และความสมบรูณ์สมส่วนขององค์ประกอบโดยรวมขององค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด ประกอบกับจำนวนพระที่มีปริมาณเหมาะสม จึงส่งผลให้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานนี้ นับเป็นสุดยอดของพระในตะกูลสมเด็จทั้งหมด          
       
 2. พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
         พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผงวิเศษ 5 ชนิด คือ ปถมัง , อิธะเจ , มหาราช , พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ การเกิดผงวิเศษทั้ง 5 นี้ นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริกรรมพระคาถา เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการตั้งจิตบริกรรมพระเวทย์ในขณะที่เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ในแต่ละบทกำหนดไว้ ขั้นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ “ ปถมัง ” เมื่อได้ผง “ ปถมัง ” แล้ว นำผงนี้มาปั้นเป็นดินสอ ตากแห้ง แล้วนำแท่งดินสอชอล์ดที่เกิดจากผงปถมัง มาเขียนสูตรพระเวทย์อีกบทหนึ่งเขียนแล้วลบ ทำซ้ำกันตามจำนวนครั้งที่พระเวทย์บทใหม่กำหนด จนเกิดผงชอล์ดครั้งใหม่ ที่เรียกว่า “ ผงอิธะเจ ” แล้วก็ผงอิธะเจมาปั้นเป็นแท่งชอล์ด เขียนสูตรพระเวทย์อีก เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเช่นนี้จนได้ ผงมหาราช แล้วก็ผงมหาราช กระทำเช่นเดียวกับขั้นตอนการทำตอนการผงอื่นๆ หากแตกต่างกันที่สูตรในการเขียน อักขระเลขยันต์ และจำนวนครั้งที่ถือเป็นเฉพาะแต่ละสูตรจนได้ ผงพุทธคุณ และสุดท้ายคือ ผงตรีนิสิงเห อันเกิดจากหลอมรวมสูตรทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียวจากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) จึงนำผงวิเศษนี้มาผสมรวมกันกับเปลือกหอยที่บดหอยที่บดละเอียดอันเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ก็จะมีข้าวสุก ดินสอพอง กล้วย โดยมีน้ำตังอิ๊วเป็นตัวประสานส่วนผสมเหล่านี้ จากนั้นจึงนำพระที่ผสมเสร็จแล้วนั้น กดลงในแม่พิมพ์ซึ่งแกะพิมพ์โดย นายเทศ แห่งช่างหล่อ          
         3. พระรอด วัดมหาวัน จ.ลำพูน
         วัดมหาวัน จ.ลำพูน พระอารามที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไป ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ทั้งนี้มิใช่เพราะเรื่องอื่นใด นอกจากเพียงประการเดียวคือ เป็นแหล่งกำเนิดของ "พระรอด" ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชุดเบญจภาคี พระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว 2 ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้มครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์ การขุดหาพระรอดมีกันหลายครั้งหลายหน จนประมาณครั้งมิได้ เท่าที่สืบทราบมีดังนี้ การพบกรุพระรอดในสมัยยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร เมื่อปี 2435-2445 พระเจดีย์มหาวันชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมาเป็นส่วนมาก ดังนั้น เจ้าเหมพินธุไพรจิตร จึงดำริให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิมลงไป ส่วนเศษปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้น ได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด โอกาสนั้นได้พบพระรอดเป็นจำนวนมากมายภายในกรุพระเจดีย์มหาวัน พระรอดส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุ กลับคืนเข้าไปในพระเจดีย์ตามเดิม อีกส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และส่วนสุดท้ายได้ปะปนกับสร้างกรุและ เศษดินทรายจมอยู่ในหนองน้ำพระรอดได้ขุดพบที่วัดมหาวัน พุทธศิลป์อยู่ในยุคกลางของสมัยหริภุญไชย (ลำพูน) อาณาจักรหริภุญไชย สร้างขึ้นราวต้นศตวรรษที่ 13-14 เป็นอาณาจักรของ กลุ่มชนมอญโบราณ ทางภาคเหนือของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนาหินยาน ใช้ภาษาบาลีจดคำสอนทางศาสนา ได้มีการกำหนดอายุและ ศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวี เป็นยุคต้นของสมัยหริภุญไชย มีศิลปะสมัยทวารวดี ในทางพุทธศิลป์แล้ว พระรอดน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงหลังสมัยทวาราวดี รูปแบบของพระรอดคือประทับพระบาทสมาธิเพชร (ท่านั่งขัดเพชร) ในสมัยทวาราวดีสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดหลวมและหงายฝ่าพระบาทกางออก และไม่ปรากฏพระพุทธรูปนั่งขัดเพชรในศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปนั่งขัดเพชรเป็นแบบอย่างเฉพาะของพระพุทธรูปอินเดียฝ่ายเหนือ (มหายาน) พระพุทธรูปและพระเครื่องในลำพูนได้ปรากฏศิลปะสมัยต่างๆ รวมอยู่หลายสมัย คือ สมัยทวาราวดี ลพบุรี แบบหริภุญไชย พุกาม อู่ทองและสมัยล้านนา
         4. พระนางพญา
         จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นพระราชธิดา ท้าวศรี สุริโยทัย และเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สร้างวัดราชบูรณะ คือพระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระ หว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงมีการสร้างพระเครื่องมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบ พระเครื่องรุ่นแรกๆจะมีรูปทรงและองค์พระไม่สวย งาม การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอก เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงของสงครามถูกพม่ารุกราน จึงทำกันอย่างรีบร้อนทำให้บางองค์ไม่ได้ตัดแบ่งแยกออกจากกันก็มี คือ ยังติดกันเป็นแผงสามองค์ หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้าง พระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน
         พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี 6 พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก
ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหา นิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น ปลุก เสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
         มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามาจัดเข้าชุด เบญจภาคี พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ
         ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระสมเด็จนางพญา มีดังนี้
              1. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน
              2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
              3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด
              4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์
              5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน
              6. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
              7. ว่าน 108 มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน
              8. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์
              9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล
              10. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง
         5. พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรรณบุรี
         
จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากเป็นดินแดนแห่ง ยุทธหัตถีแล้ว ยังเป็นเสมือนเมืองแห่งพระเครื่อง พระบูชา หลายสิบชนิด ตั้งแต่สมัยอมรวดี ทวาราวดี ศรีวิชัย ปาละ ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ในจำนวนพระที่ขุดพบนั้น พระผงสุพรรณ กรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ ถือว่าเป็นสุดยอดของพระทั้งหมด โดยจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่ชาวสุพรรณเรียกสั้นๆ ว่า วัดพระธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณ สมัยอู่ทองและอยุธยา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี มีองค์พระปรางค์สูงตระหง่าน ส่วนใครเป็นผู้สร้างวัดนั้น นักประวัติศาสตร์ไม่กล้ายืนยัน เพียงแต่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างใน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) หรือสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
         พระซุ้มกอ จากพระราชนิพนธ์ประพาสต้นกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกไว้ว่า นายชิด มหาดเล็กหลานพระยาประธานนคโรทัยจางวางเมืองอุทัยธานีเดิมได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งนายอำเภอ อยู่ในมณฑลนครชัยศรี ป่วยลาออกมารักษาตัว อยู่บ้านภรรยาที่เมืองกำแพงเพชร ไปได้ตำนานพระพิมพ์มาให้ ว่ามีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมมาโศกราช จะบำรุงพระพุทธศาสนาจึงไปเชิญพระธาตุมาแต่ลังกา สร้างเจดีย์ บรรจุไว้แควน้ำปิงและน้ำยมเป็นจำนวนพระเจดีย์ 84,000 องค์ พระฤาษีจึงได้สร้างพระพิมพ์ขึ้นถวายพระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นอุปการะ จึงได้บรรจุพระธาตุและพระพิมพ์ไว้ ในพระเจดีย์แต่นั้นมา เหตุที่จะพบพระพิมพ์กำแพงเพชรขึ้นนี้ว่า เมื่อปีระกาเอกศก จุลศักราช 1211 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมาตุอยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมือง จึงได้ค้นคว้ากันขึ้น พบพระเจดีย์สามองค์นี้ ชำรุดทั้งสามองค์ เมื่อพญาตะก่าขอสร้างรวมเป็นองค์เดียว รื้อพระเจดีย์ลงจึงได้พบพระพิมพ์กับได้ลานเงินจารึกอักษรขอม เป็นตำนานสร้างพระพิมพ์ และวิธีบูชา นายชิดได้คัดตำนานและวิธีบูชามาให้ด้วย ของถวายในเมืองกำแพงเพชรนี้มีพระพิมพ์เป็นพื้น ได้คัดตำนานติด ท้ายหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วย

ภาพโดย : https://talk.mthai.com/uploads/2014/05/08/145481-attachment.jpg

 

คำสำคัญ : พระซุ้มกอ

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NT.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ตำนานพระซุ้มกอ. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=153&code_db=DB0008&code_type=A001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=153&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,169

ตำนานบ้านสลกบาตร

ตำนานบ้านสลกบาตร

เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อเกวียนเพื่อหยุดพักให้วัว ควายกินน้ำกินหญ้า และพักหุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลอง ชายโนนและชายคลอง ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่บนโนนอย่างหนา มีคลองน้ำไหลอยู่ในโนน ผู้ที่อพยพมาเป็นสภาพพื้นที่ เกิดความพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้พวกเขาสามารถที่จะบุกเบิกหักร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินอยู่อยู่อาศัยได้ จึงได้ปรึกษาหารือกันและตกลงกันว่า จะยึดพื้นที่ผื่นนี้เป็นท่ี่ทำไร่ ทำนาและทำกินโดยแบ่งกันไม่ไกลกันนัก แบ่งไปเป็นสัดส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 3,501

นิทานเรื่อง หมาจอมขี้เกียจ

นิทานเรื่อง หมาจอมขี้เกียจ

มีหมาท้องแก่ตัวหนึ่ง มีนิสัยขี้เกียจมาก ขี้เกียจแม้กระทั่งไปหากิน มันเข้าไปนอนในโพรงจอมปลวก จอมปลวกก็ก่อขึ้นทุกวัน จนปิดสนิทไม่มีทางออก หมาท้องแก่ตัวนี้ก็เลยออกลูกในจอมปลวกนั่นเอง นานเข้ามันก็เกิดอาการหิว จนหิวจัดๆ แล้วมันก็กินลูกมันทีละตัวจนหมด มันก็เลยไม่มีอะไรให้กินอีก หมาตัวนี้จึงหันมาเจอหางตัวเองมันก็เริ่มกันหางตัวเอง ต่อมาก็กินขา และกินเนื้อตัวเองจนเหลือแต่ไส้ มันไม่รู้จะกินอะไรอีก หันไปทางไหนก็ไม่มีอะไรให้กินเลยมันคิดจะกินหูตัวเอง แต่อย่างไรมันก็กินไม่ได้ มันเลยอดตาย

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,949

ตำนานท่อทองแดง

ตำนานท่อทองแดง

ในอดีตบรรพบุรุษของชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการบริหารจัดการน้ำ จึงได้คิดค้นวิธีการนำน้ำจากสายน้ำต่างๆเข้ามาสู่ชุมชน ชื่อ ท่อทองแดง หรือ ท่อปู่พระยาร่วง” ถูกสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระร่วงเจ้า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่พอมาถึงสมัยอยุธยา ก็ถูกทอดทิ้งไม่ได้ใช้งาน และถมหายไปจนหมด ผู้อาวุโสของชุมชนเล่าว่า เรื่องท่อทองแดง นี้ถูกเล่าขานต่อๆ กันมาว่า ถูกฝังไว้ใต้ดินคูเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่สมัยเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ในขณะนั้นพม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกำแพงเพชรหลายครั้งแต่ตีไม่สำเร็จ จึงได้ล้อมเมืองไว้เพื่อให้คนในเมืองอดตาย แต่ชาวบ้านก็ได้อาศัยน้ำจากท่อทองแดงประทังชีวิต แต่ต่อมามีคนชื่อ หมื่นแสน” เกิดคิดมักใหญ่ไฝ่สูง ทรยศบ้านเมืองนำเรื่อง ท่อทองแดง” ไปบอกกับพม่า แม่ทัพพม่ารู้ดังนั้นจึงฆ่าหมื่นแสน แล้วนำศพไปใส่ไว้ในท่อทองแดงและปิดเสีย จนทำให้ชาวบ้านต้องอดอยากเพราะขาดน้ำจนเป็นผลให้พม่าเข้ายึดเมืองได้ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,054

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เจ้าพ่อบ้านหนองปลิง

เสียงกลองวัดหนองปลิง ดังรัวเต็มที่ ยังผลให้ชาวบ้านที่อยู่ในรัศมีเสียงกลองพากันหูผึ่ง กำลังทำงานอยู่ก็ละวาง มองหน้าทักถามกันด้วยสายตา ท่าทีตะลึงงัน มันเป็นเวลาใกล้ค่ำ แต่ทว่านี่ก็เลยกลางเดือน 11 ออกพรรษามาหลายเดือนแล้ว กลองย่ำค่ำ พระก็หยุตี เหลือแต่เวลาเพล 11.00 น. จึงจะได้ยินกัน สำหรับในพรรษานั้นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน วัดทีพระมาก เพราะมีพระบวชใหม่เพิ่มจำนวน ส่วนพระเก่าก็อยู่ประจำ ไม่โคจรไปไหนๆ จึงประชุมกันเพื่อกิจวัตรสวดมนต์อย่างเคร่งครัด เฉพาะเวลาเย็น ชาวบ้านจะได้ยินเสียงกลองสองครั้ง ครั้งแรก 17.00 น. ครั้งที่สองราวๆ 18.00 น.เศษ ครั้งแรกเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า พระเริ่มเตรียมลงประชุม

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 1,306

ลายแทงมหาสมบัติ

ลายแทงมหาสมบัติ

ที่วัดสองพี่น้องปากคลองสวนหมาก เรื่องเล่าที่ได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อทองหล่อ เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ในอดีต ท่านเล่าว่ามีชาวล้านนา (ภาคเหนือตอนบน) มาถามหาวัดสองพี่น้อง ปากคลองสวนหมาก ท่านตอบว่าที่ปากคลอง มีสองวัดคือวัดท่าหมันและวัดสว่างอารมณ์ มามีชื่อวัดสองพี่น้อง แต่เดิมวัดสว่างอารมณ์แห่งนี่อาจจะมีชื่อวัดสองพี่น้องก็ได้ เพราะมีวัดเก่าแก่สมัยถึงเชียงแสน หลักฐานก็คือหลวงพ่ออุโมงค์ ที่หลวงพ่อบุญมี พบใจจอมปลวกยักษ์ 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 5,721

ตำนานพระซุ้มกอ

ตำนานพระซุ้มกอ

มีกูไว้แล้วจะไม่จน คือ ถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง เบญจภาคี คือ การนำเอาพระเครื่องที่เป็นพระเครื่องชั้นยอดมารวมกัน 5 องค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในวงการพระเครื่องยุคแรก ที่วงการพระรู้จักท่านในนามปากกา " ตรียัมปวาย " เป็นผู้บัญญัติจัดตั้งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พระเบญจภาคี 5 องค์

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 8,468

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

เมืองกำแพงเพชร มีบ้านโบราณ จำนวนมาก เนื่องจากกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี บ้านหลังหนึ่ง เป็นห้างทำไม้ของพะโป้ ในอดีต ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ ให้เห็น เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอดีต จากตัวเมืองกำแพงเพชรเดินทางไปยังฝั่งนครชุมแล้วข้ามคลองสวนหมากผ่านวัดสว่างอารมณ์ ขึ้นไปชมบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนสูงหลังใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านห้าง หรือ บ้านห้าง ร.5 หรือบ้านพะโป้ ตั้งตระหง่านอยู่ริมคลองด้วยสภาพที่ทรุดโทรม พื้นบ้านผุพัง เรือนไม้หลังนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าของชาวนครชุม และเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,578

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

นิทานเรื่อง จระเข้กับกระต่าย

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีกระต่ายตัวหนึ่งหากินอยู่ริมบึง และมีจระเข้อยู่ในบึงอีก 1 ตัว คอยจ้องกินเหยื่อ จระเข้มองเห็นเจ้ากระต่ายมาใกล้ๆ จึงรีบคลานขึ้นจากน้ำ อ้าปากงับกระต่ายอย่างรวดเร็ว กระต่ายตกใจมาก คิดเพียงว่าต้องหาทางออกจากปากจระเข้ให้ได้ จึงออกอุบายถามจระเข้ว่า “ไหนๆ ข้าจะตายแล้ว บอกหน่อยทีเถอะว่าหวยงวดนี้ออกอะไร” จระเข้ไม่ทันคิดจึงอ้าปากบอกว่า “55” กระต่ายได้โอกาสกระโจนออกจากปากเอาขาหลังถีบลิ้นจระเข้ขาด ส่วนจระเข้รีบงับไว้ได้เพียงหางกระต่าย จระเข้จึงไม่มีลิ้นและกระต่ายมีหางสั้นกุดจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 11,481

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 1,871