ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้ชม 7,150

[16.2844429, 98.9325649, ชนเผ่าลีซู (LISU)]

        ตำนานของลีซู ลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก โม่เจ้ากรรมพอจะถึงตีนก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง อุตสาห์กลิ้งอ้อมตีนเขาไปรวมกันเข้ารูปเดิมอย่างดิบดี ไม่ว่าจะลองเสี่ยงทายด้วยอะไรก็จะได้ผลแบบนี้ทั้งนั้น พี่ชายน้องสาวเห็นว่าพระเจ้ายินยอมพร้อมใจให้สืบพันธุ์แน่ๆ จึงตั้งหน้าตั้งตาผลิต ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวซึ่งจับคู่กันเป็นต้นเผ่า ความหมายคำว่าลีซู ลีซอ ได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็นจากการใช้สีตัดกัน อย่างรุนแรงในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรม ของตนเอง หากมองในแง่วัฒนธรรมและบุคลิกภาพแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซูเป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ เป็นอย่างดี ความเป็นมา ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
        ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลง เป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ลีซูแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อย คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมด เป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่ 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี 6 กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย มีอยู่ 9 สายตระกูลจากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
       ชาวลีซูนับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าโดยมีผู้นำสองคน คือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ) ประชากร ในกลางปี พ.ศ. 2526 มีลีซูประมาณ 18,000 คน กระจายกันตั้งหมู่บ้านราว 110 หมู่ อยู่ในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2501 สำรวจประชากรลีซูได้ประมาณ 7,500 คน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 3.6% ต่อปี ตลอดระยะ 25 ปี ที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มโดยธรรมชาติ เพราะมีการอพยพเข้ามาขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2526 นี้มีประชากรลีซูอยู่ในพม่า 250,000 และในจีนราว 500,000 คน มีหลายร้อยครอบครัวที่เข้ามาอยู่ในทางชายแดนของตะวันออกฉียงเหนือ แต่ไม่มีอยู่ในลาว และเวียดนามเลย ลีซูในไทยนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ราว 47% เชียงราย 23% แม่ฮ่องสอน 19% อีก 11% กระจัดกระจายกันอยู่ใน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ลีซูในเมืองไทยปัจจุบันแตกต่างไปจากชนเผ่าในตอนเหนือของพม่ามากมาย อาจเป็นเพราะได้แยกแตกตัวมาจากจีนส่วนใหญ่หลายชั่วคนแล้ว แถมยังมีการสมรสกับจีนฮ่อ จนผสมผสานกันถึงขั้นเรียกตนเองว่า ลีซูจีน ไปเลย
       ประชากรลีซูจากการสำรวจในปี พ.ศ.2540 ของสถาบันวิจัยชาวเขามี 30,940 คน 151 หมู่บ้าน 5,114 ครัวเรือน คิดเป็น 4.11% ของประชากรชาวเชาทั้งหมด อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 23% จังหวัดเชียงราย 19% จังหจัดแม่ฮ่องสอน 11% และกระจายทั่วไปในจังหจัด พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย
       องค์กรชาวบ้านของลีซูในอดีต และในปัจจุบัน
       1. ฆว่าทูว์ (ผู้นำชุมชน) ตำแหน่งนี้จะถูกคัดเลือกและแต่งตั้งโดยชาวบ้าน
       2. มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งนี้จะถูกกำหนดหรือแต่งตั้งโดย อาปาโหม่ ต้องผ่านตามพิธีเสี่ยงทายก่อนและแต่ละชุมชนมี มือหมือ ได้เพียงคนเดียว ทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม และเป็นตัวกลางระหว่างเทพพิทักษ์ในหมู่บ้าน และทำหน้าที่ประกาศในวันสำคัญ ๆ
       3. หนี่ผะ (หมอผี) เป็นบุคคลที่คัดเลือก และกำหนดโดยวิญญาณบรรพบุรุษของตระกูล ทำหน้าทีเชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของผี
       4. โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) บุคคลที่มีอายุ และเป็นที่เคารพนับถือของลูกบ้าน
       ในปัจจุบัน 1. ฆว่าทูว์ (ผุ้นำชุมชน) เป็นผู้ใหญ่บ้านทางการ 2. มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งการถูกแต่งตั้งยังเหมือนเดิม 3. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1-2 คน โดย ฆว่าทูว์ เป็นผู้แต่งตั้ง 4. อบต ทางการชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่บริหารหมู่บ้าน และดึงงบประมาณ 5. คณะกรรมการในหมู่บ้าน 6. ที่ปรึกษา โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) 7. หนี่ผะ (หมอผี) ทำหน้าที่พิธีกรรมต่างๆ สำหรับองค์กรชาวบ้านลีซู (องค์กรชนเผ่า) ในอดีตนั้นไม่ค่อยชัด แต่จะเด่นในการรวมกลุ่มเครือญาติในตระกูลเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นองค์ระหว่างชุมชนลีซู มีบทบาทมากในสังคมลีซูในอดีต ในปัจจุบันกลุ่มเครือญาติยังคงมีการรวมกลุ่มที่ทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งเครือญาติ

คำสำคัญ : ชนเผ่าลีซู

ที่มา : สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน. (2549). วัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมินามหมู่บ้านตำบลคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมอำเภอคลองลาน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ชนเผ่าลีซู (LISU). สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1441&code_db=610004&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1441&code_db=610004&code_type=05

Google search

Mic

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรมของชาวเขา

ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 7,102

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

การขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชนของชาวเขา

เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงที่พืชพันธุ์ที่ปลูกลงไปในไร่มีผลผลิต และเริ่มที่จะเก็บเกี่ยวได้แล้ว อาทิเช่น แตงโม แตงกวา พืชผักต่างๆ เป็นต้น เทศกาลนี้จัดขึ้นมาเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากชุมชน เช่น ภูตผีปีศาจที่มาอาศัยอยู่ในชุมชน อาข่าเรียกว่า “แหนะ” รวมไปถึงโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยมีการแกะสลักไม้เนื้ออ่อนเป็นดาบ หอก ปืน อาข่าเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า “เตาะมา”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,421

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียว ชาวม้ง จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ไม่เพียงเฉพาะชาวม้งในจังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีนี้ไว้ แต่ยังรวมถึงชาวม้งในจังหวัดอื่นๆ หรือประเทศอื่นๆ อีกด้วย ประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งมักจะจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม – มกราคมของทุกปี ในการจัดประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้งนั้นเป็นประเพณีที่สืบเนื่องหรืออยู่ในช่วงเดียวกับงานประเพณีปีใหม่ม้ง ซึ่งการจัดงานดังกล่าวเป็นงานประเพณีที่สืบทอดและแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่างดี การตำข้าวเหนียวของชาวม้งนั้นบางที่อาจจะตำเพื่อไหว้ผีป่า ผีบรรพบุรุษหรือสิ่งที่ตนเองนับถือแต่เพียงอย่างเดียว บางที่ก็นำข้าวเหนียวที่ผ่านการไหวผีมาทำเป็นอาหารคาวและอาหารหวานเพื่อยืดอายุของข้าวเหนียวอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของประเพณีตำข้าวเหนียวชาวม้ง หรือแม้แต่ความเชื่อของประเพณี

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,699

ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้า

จะมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี ประมาณปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ผลผลิตกำลังงอกงาม และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วัน ในระหว่างนี้อาข่าจะดายหญ้าในไร่ข้าวเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากดายหญ้าแล้วก็รอการเก็บเกี่ยว ตรงกับเดือนของอาข่าคือ “ฉ่อลาบาลา” 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,574

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ชนเผ่าลีซู (LISU)

ตำนานของลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์ถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 7,150

การแต่งงานของชาวเขา

การแต่งงานของชาวเขา

เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” 

 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,719

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ตำบลวาวี ออำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 11,870

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ

กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน คือ 1) หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง 2) หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,487

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

การอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทยภูเขา

กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมประเพณีและภาษาพูดเป็นของตนเอง อาศัยอยู่บนภูเขา มีอาชีพและรายได้จากการเกษตรเป็นหลัก ลักษณะด้านครอบครัว เครือญาติและชุมชนระดับหมู่บ้านของแต่ละเผ่า มีเอกลักษณ์ของตน ซึ่งแตกต่างกันทุกเผ่ายังคงนับถือผีที่สืบทอดมาจาก การที่ชาวไทยภูเขาอาศัยอยู่ร่วมกับคนไทยบนผืนแผ่นดินไทยได้ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายบ้านเมือง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,158

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล-โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,256