นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้ชม 1,460

[16.4258401, 99.2157273, นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง]

มีครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และลูกสี่คน พ่อกับแม่ไปทำงานหาของกินมาได้ก็ไม่พอให้ลูกๆ ทั้งสี่คนกิน เพราะทั้งสี่คนกินจุ แม่จึงได้พ่อพาลูกๆ ไปปล่อย เพราะเลี้ยงไม่ไหว คนแรกให้น้ำไปกินแล้วก็ทิ้งไว้ คนที่สองให้ผลไม้ คนที่สามให้ข้าว คนที่สี่น้องสุดท้องให้อ้อย คนที่สี่เป็นคนที่กินจุที่สุด จึงเริ่มกินอ้อยตั้งแต่ออกเดินทาง แล้วคายทิ้งไปตามทาง พอถึงที่หมายพ่อบอกว่าให้รออยู่ แล้วจะกลับมารับ รอจนเช้าพ่อก็ไม่มารับ จึงเดินตามซากอ้อยที่คายไว้ตามทาง ลูกคนสุดท้องจึงกลับบ้านถูก

ผู้เล่า  นางบาง เอี่ยมท่า

คำสำคัญ : นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : นิชรา พรมประไพ. (2562). หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดเสน่ห์นิทานพื้นบ้าน เล่ม 2. กำแพงเพชร: กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1386&code_db=610006&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1386&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานบ้านสลกบาตร

ตำนานบ้านสลกบาตร

เมื่อประมาณ 200 ปีเศษ ได้มีบุคคลกลุ่มหนึ่่ง อพยพมาจากทิศตะวันออก โดยมีล้อเกวียน วัว ควายเป็นพาหนะ เพื่อมาหาที่ทำกินและที่อยู่อาศัยในสมัยนั้น รวมกันประมาณ 7-8 ครอบครัว ประมาณ 20 กว่าคน เมื่อเดินทางมาถึงได้จอดล้อเกวียนเพื่อหยุดพักให้วัว ควายกินน้ำกินหญ้า และพักหุงหาอาหารกินกันที่ข้างคลอง ชายโนนและชายคลอง ซึ่งมีต้นตะเคียน ต้นขี้เหล็ก ต้นโพธิ์ ขึ้นอยู่บนโนนอย่างหนา มีคลองน้ำไหลอยู่ในโนน ผู้ที่อพยพมาเป็นสภาพพื้นที่ เกิดความพอใจว่าสภาพที่เห็นนี้พวกเขาสามารถที่จะบุกเบิกหักร้างถางพงเพื่อใช้เป็นที่ทำกินอยู่อยู่อาศัยได้ จึงได้ปรึกษาหารือกันและตกลงกันว่า จะยึดพื้นที่ผื่นนี้เป็นท่ี่ทำไร่ ทำนาและทำกินโดยแบ่งกันไม่ไกลกันนัก แบ่งไปเป็นสัดส่วน 

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 3,887

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

ตำนานประเพณีนบพระ เล่นเพลง

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อขึ้นครองราชย์ ณ กรุงสุโขทัย บรรดาหัวเมืองต่างๆ พากันแข็งเมือง ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจ ของพญาลิไท เช่น เมืองบางพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม พญาลิไท จึงเสด็จ มาด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงนำพระบรมสารีริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ มาจากประเทศศรีลังกา มาแสดงความเป็นไมตรี เมื่อเมืองนครชุมรับไมตรี พญาลิไท จึงนำพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน องค์กลางใหญ่อยู่กลาง องค์เล็กย่อมสององค์ อยู่ด้านข้าง นอกจากนั้นได้นำ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มาปลูกไว้เบื้องหลังพระเจดีย์

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,876

นิทานเรื่อง พระรังกับพระคง

นิทานเรื่อง พระรังกับพระคง

พระรังกับพระคงเป็นเพื่อนรักกัน พระรังบวชมานานแล้วแต่พระคงเพิ่งบวชยังไม่สามารถสวดมนต์ได้มากนัก วันหนึ่งเป็นวันพระ ญาติโยมมาทำบุญตามปกติ หลังฉันเสร็จเหลือส้มอยู่ 2 ลูก ลูกเล็กกับลูกใหญ่ พระรังให้พระคงหยิบก่อน พระคงหยิบลูกใหญ่ พระรังจึงต่อว่าว่า “แหม!! ไม่มีมารยาทเลย เอาลูกใหญ่ไปก่อน” พระคงถามว่า แล้วถ้าเป็นพระรังจะหยิบลูกไหน พระรังบอกว่า “ก็หยิบลูกเล็กซิ” พระคงตอบว่า “เห็นไหมละจะก่อนหลัง ฉันก็ได้ลูกใหญ่อยู่ดี” พอถึงตอนสวดให้พร พระรังนำสวดก่อนลงท้ายว่า “อายุ วรรโณ สุขัง พลัง” พระคงได้ยินดังนั้นก็สวดบ้าง “อายุ วรรโณ สุขัง พระคง” พระคงฟังไม่ถนัด ได้ยินคำว่าพลัง นึกว่าต้องเอาชื่อต่อท้าย (พระรัง) ก็เลยเอาชื่อตัวเองต่อท้ายบ้าง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,119

ทุ่งมหาราช

ทุ่งมหาราช

เรียมเอง เป็นนามแฝงของมาลัย ชูพินิจ (2449-2506) ซึ่งนอกจากจะเป็นนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชื่อเสียงแล้ว ยังเป็นนักเขียนเรื่องหลายประเภท ที่รู้จักกันดีในวงการนักอ่าน ไม่ว่าจะใช้นามจริงหรือนามแฝง เช่น ม. ชูพินิจ, เรียมเอง, น้อย อินทนนท์, แม่อนงค์ ทุ่งมหาราช เป็นนวนิยายเสมือนบันทึกเหตุการณ์ของผู้เขียนสมัยเมื่อครั้งใช้ชีวิตอยู่กับบิดา มารดาที่คลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในยุคนั้นผู้คนต้องผ่านพบความยากลำบากนานับประการ ตั้งแต่ความอดอยากยากแค้น โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะไข้ทรพิษ และน้ำท่วม หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพของเรื่องราวดังกล่าว โดยผ่านตัวละครที่มีเลือดเนื้อและวิญญาณ เช่น รุ่ง หรือขุนนิคมบริบาล ซึ่งคาเรือนและบ้านไร่ ก็เพิ่งมีชาวเวียงจันทน์อพยพมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว ความคิดของรุ่งสะท้อนความรู้สึกส่วนใหญ่ของชาวบ้านต่อการทำมาหากินด้วยความเป็นอิสระของตนเอง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 4,622

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,587

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

นิทานพื้นบ้าน เรื่องพระกับเด็กขี้มูกมาก

มีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง แม่เป็นคนชอบทำบุญ จะใส่บาตรตอนเช้าทุกวัน อยู่มาวันหนึ่ง แมํไม่ว่างออกมาใส่บาตร จึงบอกให้ลูกสาวไปใส่บาตรแทนลูกสาวยังเด็กตื่นมาไมํทันล้างหน้าล้างตาก็รีบไปใสํบาตร ขี้มูกขี้ตาเกรอะกรัง พอพระเห็นเข้าก็รังเกียจเอาฝาบาตรเคาะหัวจนเป็นรอยแผลเป็นที่หน้าผาก ผ่านมาหลายปีพระก็สึก สํวนเด็กคนนั้นก็โตเป็นสาวสวย เลยมาชอบกันอดีตพระเห็นแฟนสาวมีแผลเป็น ที่หน้าผากก็ถามวำหน้าผาก น้องเป็นอะไร แฟนสาวบอกวำไมํรู้ไอ้พระบ้าที่ไหนเอาฝาบาตรมาเคาะหัว อดีตพระก็เลยจำได้ ขำกันทั้งคูํ อยำงนี้แหละเขาเรียกวำจุดไต้ตำตอ

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 1,308

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ตำนานเมืองแปบ หรือวังแปบ

ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่าเดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่าบริเวณแห่งนี้เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า พระเจ้าพังคราช พระราชบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช แห่งเมืองเชียงแสนอยู่ใต้อำนาจของขอมพระเจ้าพรหมไม่ยอม จึงต่อสู้กับขอม ตั้งแต่พระชมมายุได้เพียงสิบหกปี สามารถขับไล่ขอมมาถึงลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 2,044

นิทานพื้นบ้าน เรื่องการเอาเปรียบ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องการเอาเปรียบ

พํอกับลูกสาวถ่อเรือไปด้วยกัน พ่อเป็นคนถ่อ ลูกเป็นคนถือท้ายเรือ กลับถึงบ้านบ่นให้แม่ฟังวำ “แม่มึงเอ๊ย ใช้แต่พ่อถ่อเรือคนเดียว มันไม่ช่วยมั่งเลย ” แม่ก็ถามลูกสาวว่า “มึงไมํช่วยพ่อถ่อเรือมั่งเรอะ ” ลูกสาวตอบวำ “ทำไมจะไมํชํวยละแม่ พ่อถ่อฉันก็ถือท้าย พอฉันถือท้ายพ่อก็ถ่อแล้วจะเอายังไงอีกล่ะ”

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 4,918

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

ตำนานบ้านบ่อถ้ำ

เดิมหมู่บ้านบ่อถ้ำยังเป็นป่าดงดิบ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา ในบริเวณนี้เป็นแหล่งของสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ มีชาวบ้านชุดแรกซึ่งได้อพยพมาอยู่นั้นเป็นคนมาจากนครราชสีมามาหักร้างถางพงบริเวณหนึ่งที่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นครั้งแรก เรียกบริเวณนั้นว่า "เนินมะดั่น" (เนินมะด่านหรือบางครั้งเรียกว่าโนนมะด่าน) ต่อมาในบริเวณนั้นมีผู้คนเริ่มอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มากขึ้นตามลำดับ จึงไม่สามารถจะขยายหมู่บ้านนั้นได้ เพราะบริเวณนั้นมีลักษณะเป็นโนนหรือเนิน จึงได้โยกย้ายมาตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งในปัจจุบัน คือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 เมื่อผู้คนได้อพยพกันมากขึ้น จนกระทั่งมีผู้นำของกลุ่มคนในสมัยนั้นเป็นคนต้นตระกูล ดำสนิท ซึ่งได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ขุน คือ ขุนคูหา (เดิมชื่อลายสด ดำสนิท)

เผยแพร่เมื่อ 05-09-2019 ผู้เช้าชม 2,376

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องสามเกลอ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเด็กอยู่สามคน มีชื่อว่า ขี้มูกมาก ตูดแหลม และสามมือปาม วันหนึ่งสามคนนี้ชวนกันไปทอดแห พอถึงที่มาสามคนนี้ก็เกี่ยงกันทอดแห สามมือปามก็เลยทอดเอง ความที่เป็นคนมือใหญํจึงจับปลาได๎เต็มลำเรือ ขากลับชาวบ๎านเห็นได้ปลามาเยอะก็ขอปลาบ้างสามเกลอก็เกี่ยวกับเป็นผู๎หยิบปลาให้อีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้เอง ปลายุบไปเยอะเลยพอพายเรือไปสักพักก็เจอชาวบ้านขออีก แล้วก็เกี่ยงกันอีก สามมือปามเลยหยิบปลาให้จนหมดเรือเจ้าตูดแหลมโมโหที่ปลาหมดจึงนั่งลงอยำงแรง เรือก็เลยรั่ว สามเกลอตกใจมาก เจ้าขี้มูกมากนึกได้จึงสั่งขี้มูกมาอุดเรือ เรือก็เลยหายรั่ว สามเกลอดีใจมาก แล๎วจึงบอกวำ “เราจะเป็นเพื่อนรักกันจะไมํเกี่ยวกันทำอีกแล้ว จะสามัคคีกัน” แล้วสามเกลอก็พายเรือกลับบ๎านอยำงมีความสุข

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 11,059