พระยาวิเชียรปราการ
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 1,659
[16.4336195, 99.4094765, พระยาวิเชียรปราการ ]
พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก
ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน ชื่อโบราณสถานของจังหวัดกำแพงเพชรส่วนใหญ่ได้หลักฐานจากหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ชื่อ วัดน้อย พระยาวิเชียรปราการเป็นผู้สืบค้นไว้กราบทูลทำให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้ และบางชื่อหากสืบค้นไม่ได้ พระยาวิเชียรปราการก็เป็นผู้ให้ข้อสันนิษฐานกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังปรากฎในจดหมายเหตุตอนหนึ่งในการชมโบราณสถานของพระองค์ว่า
“....... เมื่อถึงด้านตะวันออกเริ่มต้นเป็นประตูผีออก ซึ่งยังมีกำแพงอยู่ดีกว่าประตูอื่น ๆ ตัดไปถึงป้อม ซึ่งพระยาวิเชียรปราการให้ชื่อว่า“ป้อมเพชร” เพราะเป็นด้านเหนือ ซึ่งป้อมเพชรบนกำแพงเมืองปัจจุบัน ได้ชื่อตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมาจนบัดนี้ ก็เพราะพระยาวิเชียรปราการนั่นเองและเชื่อว่าชื่อวัดต่าง ๆ ที่ปรากฏในจดหมายเหตุ เช่นวัดพระแก้ว วัดช้างเผือก วัดพระนอน พระยืน กำแพงงาม ที่เรียกในปัจจุบันเป็นผลมาจากการสืบค้นของพระยาวิเชียรปราการ จึงกล่าวได้ว่าพระยาวิเชียรปราการเป็นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ทางโบราณคดีไว้ให้เมืองกำแพงเพชรเป็นอันมากนอกจากความสามารถดังกล่าว พระยาวิเชียรปราการเป็นผู้ให้กำเนิด ถนนในจังหวัดกำแพงเพชร ได้แก่ ถนนราชดำเนิน ถนนเทศา ริเริ่มเมื่อรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จแล้วตั้งชื่อถนนเทศาเป็นอนุสรณ์แก่พระยาอมรินทร์ฤาชัย สมุหเทศาภิบาลนครสวรรค์ซึ่งตามเสด็จฯ...”
จากคำบอกเล่าของท่านขุนราชรัชดารักษ์ อดีตคลังจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวถึงพระยาวิเชียรปราการว่า ศาลากลางจังหวัดเดิมอยู่บริเวณโรงต้มกลั่นสุราที่ถูกไฟไหม้ ต่อมาพระยาวิเชียรปราการได้สร้างใหม่ที่เทศบาล ครั้นสร้างศาลากลางจังหวัดหลังปัจจุบันแล้ว จึงยกศาลากลางจังหวัดเดิมให้แก่เทศบาล
พระยาวิเชียรปราการมีคุณลักษณะ 2 อย่างที่น่าสรรเสริญ คือ กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ เช่น การกราบทูลชื่อ “ป้อมเพชร”
ทำคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง เช่น ริเริ่มตั้งชื่อถนน และสร้างศาลากลางจังหวัด
ภาพโดย : http://www.reurnthai.com/index.php?action=dlattach;topic=6561.0;attach=62447;image
คำสำคัญ : บุคคลสำคัญ พระยาวิเชียรปราการ
ที่มา : สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร. (2538). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: ปริญญาการพิมพ์.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). พระยาวิเชียรปราการ . สืบค้น 5 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=128&code_db=DB0001&code_type=002
Google search
นายเชียง แซ่แต้ มีภูมิกำเนิดที่อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2454 เป็นบุตรของนายจุง นางฮวย แซ่แต้ บิดามารดาเป็นคนจีนอพยพมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ นายเซียงจึงเป็นผู้มีเชื้อสายจีนแต่สัญชาติไทยด้วยถือกำเนิดในประเทศไทย ขณะเมื่ออายุได้ไม่ถึงขวบ ต้องอพยพไปประเทศจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้งหนึ่งและดำเนินชีวิตอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลา 8 ปี และเมื่อจำความได้ ได้พบเห็นการดำรงชีวิตที่ยากจนและเป็นทุกข์ของชาวจีน ครอบครัวของเด็กชายเซียง แซ่แต้ ก็ไม่อาจทดความทุกข์ยากในประเทศจีนได้จึงต้องพากันอพยพมาประเทศไทย ต่อมาไม่นานบิดาของเด็กชายเซียงก็เสียชีวิต เด็กชายเซียงจึงอยู่ในความดูแลของนางฮวยผู้เป็นมารดาและพี่น้องอีกแปดคน
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,189
ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,073
"ดอกผลของธุรกิจช่วยพัฒนาสังคม" อดีตรับข้าราชการตำแหน่งพนักงานขับรถของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว เป็นสินค้าผ่านการคัดสรรค์ OTOP กำแพงเพชร เป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี ซื่อสัตย์ในอาชีพ ยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย ช่วยเหลือผู้ยากไร้ สร้างวัด ด้วยเงินกว่า 30 ล้านบาท ล่าสุดบริจาคเงินซื้อเครื่องส่องสว่างในการผ่าตัด เครื่องช่วยหายใจ บริจาคเงินสร้างวัดไทยในประเทศเยอรมัน
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 2,741
พระครูวชิรปัญญกร นามเดิม นายอำนวย กรรณิกา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2494 ที่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรองนายทำ-นางน้อย กรรณิกา อาชีพรับจ้าง ด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เข้าทำงานครั้งแรกที่การไฟฟ้าพระราม 6 แล้วลาออกมาทำงานบริษัท Universal Engineering Consuians, Co.Ltd. หลังจากนั้นได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ณ พัทธสีมาวัดคูยาง ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝ่ายการศึกษา)
เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 668
นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน
เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 449
นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๔๗ ในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ปากคลองลุน (บ้านโคนใต้) ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑ ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดาชื่อนายพวง แซ่ลิ้ม มารดาชื่อ นางปุย ได้เรียนหนังสือจนอ่านออก เขียนได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาขอม จากสำนักเรียนวัดปราสาท บ้านโคนใต้ จากนั้นในปี ๒๔๖๑ ได้เรียนจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ จากโรงเรียนประชาบาล อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรหลังจากนั้นท่านได้ย้ายตามบิดาไปอยู่ตำบลหูกวาง อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ในทางธรรมท่านสอบได้นักธรรมตรี หลังจากนั้นท่านได้อพยพกลับมาที่ตำบลคณฑีอีกครั้ง มาบุกเบิกบ้านโคนจนสำเร็จดังใจหมาย
เผยแพร่เมื่อ 30-07-2020 ผู้เช้าชม 1,523
นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์ เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร มีผลงานทางด้านศิลปะประดิษฐ์มากมาย เป็นผู้นิยมความเป็นไทย และรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยตลอดมา ผู้ริเร่ิมก่อตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รวบรวมผลงานศิลปะประดิษฐ์ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นไว้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์บ่มเพาะงานศิลปะประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะหัตถศิลป์มากกว่าหนึ่งพันชิ้น ศูนย์บริรักษ์ไทยจัดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาจนถึงปัจจุบัน และจะยังดำเนินการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,492
นพ.พนมกร เขียนบทความรความรู้สุขภาพทางอินเทอร์เน็ต และตอบปัญหาสุขภาพ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเว็บไซต์ เช่น พันธ์ุทิพย์ ไทยคลินิก เฟสบุ๊ค โดยใช้นามแฝงว่า "หมอหมู" เป็นผู้ให้ความสำคัญแก่เยาวชนและศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างย่ิง เป็นผู้ริเร่ิมจัดรวมกลุ่มชมรมศิลป์ในสวนให้เยาวชน นำผลงานศิลปะ การแสดงดนตรี มาแสดงออกซึ่งความรู้ความสามารถอยากหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นนักอนุรักษ์ เป็นผู้ริเริ่มและร่วมเป็นกรรมการจัดพิธีบวชต้นโพธิ์ (เป็นต้นโพธิ์เก่าแก่ คู่เมืองกำแพงเพชร)
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 1,129
นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นบุตรของนายสีและนางอินทร์ ศรีสุวพันธุ์ มีกำเนิดเมื่อวันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ณ บ้านเลขที่ 5 ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคือตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเจริญวัยขึ้นมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดเนื่องจากน้าชายอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดท่าหมัน จึงเข้าไปรับใช้เป็นลูกศิษย์ของหลวงหน้าเป็นพระภิกษุที่เข้มงวด เป็นผู้อบรมสั่งสอนหนังสือ นับได้ว่าเป็นการศึกษาก่อนถึงวัยเกณฑ์การศึกษาจริง ขณะที่ศึกษาระดับประถมศึกษมาที่โรงเรียนวัดท่าหมัน ก็ยัคงเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ด้วย เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ที่โรงเรียนวัชรราชฏร์วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้ศึกษาต่อและได้สมัครรับราชการครู ได้ดำรงตำแหน่ง ครูประชาบาลโรงเรียนบ้านหนองปลิงในปีพุทธศักราช 2493 ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา นายประเสริฐก็ได้สมัครสอบชุดครูมล และสามารถสอบได้ 3 ชุดในคราวเดียวกัน เป็นที่สนใจและยอมรับของวงการครู ตำแหน่งที่สูงขึ้น คือเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งสวน และก็ทำหน้าที่ครูผู้สอนไปด้วย หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาได้ขอให้โอน ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัด
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้เช้าชม 736
ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 980