วัดเสด็จ

วัดเสด็จ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 4,443

[16.4754659, 99.4568595, วัดเสด็จ]

            วัดเสด็จ เป็นวัดมหานิกายที่เก่าแก่ไม่ปรากฏชื่อและหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พอจะสันนิษฐานว่าในสมัยเมืองกำแพงเพชรโบราณ ประชาชนในละแวกนี้ร่วมใจกันสร้างขึ้น เดิมชื่อวัดราชพฤกษ์ สาเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดเสด็จ จึงพอจะอนุมานได้เป็น ๒ ทาง คือทางหนึ่งอาจจะมีผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองบ้านเมืองสมัยก่อนเสด็จมาประทับที่วัดนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเคยมีผู้สูงอายุเล่าว่าเคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดเสด็จนี้ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ”ก็เป็นได้ วัดนี้แต่เดิมเขตวัดจะถึงริมแม่น้ำปิง ทางวัดได้เคยสร้างศาลาท่าน้ำถนนหน้าวัดคงจะไม่มี แต่จะมีทางสัญจรให้คนเดินผ่านหน้าวัดได้ ครั้นต่อมาเมื่อทางราชการได้ย้ายตัวเมืองมาตั้งใหม่อยู่นอกตัวเมืองเก่าเพราะต้องอาศัยลำแม่น้ำปิง ครั้นเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสต้นและเสด็จสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถานในเมืองเก่าด้วย พระวิเชียรปราการท่านเจ้าเมืองในสมัยนั้น ได้ขอที่ประชาชนรวมทั้งที่วัดเสด็จด้วยและได้ตัดถนนจากประตูเมืองเก่า (ประตูน้ำอ้อยทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) เป็นเส้นตรงมาทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตรและต่อมาถนนนี้ได้รับพระราชทานนามว่า “ถนนราชดำเนิน” วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ 3 และตำนานพระเครื่อง เมืองนี้ทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต)วัดระฆังและสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชต่างก็ได้เสด็จที่วัดนี้และได้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้ทั่วไปโดยเฉพาะการนับถือพระเครื่อง การไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาทคือมีประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ที่ชาวบ้านเรียกว่า ทำบุญเพ็ญเดือน 3 มีการทำบุญไหว้พระธาตุที่ตำบลนครชุมและไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกันในปี พ.ศ.2550
            วัดเสด็จมีรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึก และตำนานพระเครื่อง อีกทั้งสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังพร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จมายังวัดนี้ทำให้หลักฐานดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่นเรื่องราวพระเครื่องจากตำนาน การทำบุญไหว้พระธาตุไหว้พระพุทธบาทที่มีในจารึกนครชุมซึ่งถือเป็นประเพณีการทำบุญกันสืบมาจนปัจจุบัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 พระครูธรรมาทิมุตมุณี (กลึง) ได้สร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทจำลองไว้และมีการบูรณะอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 ปัจจุบัน มีพระอาจารย์เหว่า “พระครูสุทธิวชิรศาสตร์ เจ้าคณะตำบลในเมืองสระแก้ว เป็นเจ้าอาวาสวัดเสด็จ มีการปรับเปลี่ยนแปลงเเสนาสนะไปในทิศทางที่ดีมากขึ้น และมีวัตถุมงคลยอดนิยมคือ พระบูชากำแพงสามขา ที่สร้างมาแล้วหลายรุ่นเป็นที่นิยมของพุทธศาสนิกชนที่มาเช่าบูชาเป็นมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว
             ส่วนรอยพระพุทธบาทจำลองของวัดเสด็จนั้น วัดเสด็จเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองแต่โบราณ ทั้งยังเคยเป็นที่เก็บศิลาจารึกนครชุมหลักที่ ๓ ตลอดจนตำนานพระเครื่อง ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่างก็ได้เคยเสด็จมาที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.2449 เพื่อสำรวจปูชนียสถานและโบราณสถาน ทำให้วัดนี้เป็นที่รู้จัก ทั่วไปในเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องและตำนานต่างๆ จากตำนานการทำบุญไหว้พระธาตุ และการไหว้พระพุทธบาท มีประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบันที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทำบุญเพ็ญเดือน ๓” นั่นคือมีการทำบุญ ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม และไหว้พระพุทธบาทจำลองที่วัดเสด็จพร้อมกัน
            การเดินทาง จากถนนพหลโยธินเข้าเมืองกำแพงเพชร ถึงวงเวียนลานโพธิ์ เลี้ยวขวา เรียกว่าถนนราชดำเนิน 1 ขับตรงไปเรื่อยผ่านวัดเทพโมฬี จากนั้นสี่แยกที่ 2 เลี้ยวขวาเข้าซอยเทศา 1 ซอย 7 ถ้ามาจากสิริจัตอุทยานใช้ถนนเทศา 1 หน้าโรงแรมชากังราวริเวอร์วิวเป็นทางวันเวย์ขับตรงไปไม่ไกลวัดเสด็จอยู่ขวามือ

ภาพโดย : http://www.paiduaykan.com/travel/

คำสำคัญ : วัดเสด็จ

ที่มา : อาทิตย์ สุวรรณโชติ. (2562). วัดเสด็จ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/groups/254314207990910/ (เพจรักษ์กำแพง)

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเสด็จ. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=285

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=285&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดพระธาตุ

วัดพระธาตุ

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัดพระแก้ว มีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมเป็นประธาน ล้อมรอบด้วยระเบียบคด ที่เชื่อมต่อกับวิหารด้านทิศตะวันออก ที่สองข้างวิหารมีเจดีย์รายอยู่ข้างละ 1 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,194

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง บนเนินเขา ริมสายน้ำปิงลมพัดโบกโบยเย็นสบายตลอดทั้งวันริมคลองบางทวน ดินแดนทางประวัติศาสตร์ ติดกับค่ายลูกเสือในปัจจุบันสถานที่งดงามตอนเหนือของตัวเมืองกำแพงเพชรที่ตำบลหนองปลิง สร้างตามหลักของฮวงจุ้ย มีวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งที่ดูสงบเงียบและงดงามและมีระเบียบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,479

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,266

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านวังโบสถ์ มีสภาพที่ทรุดโทรมมาก เห็นเพียงเนินดินและพระพุทธรูปโกลนศิลาแลงปรักหักพังอยู่บนฐานแลง สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างราวพุทธศักราช 1900 หลักฐานการค้นพบ จากคำบอกเล่าของนายเย็น รอดโต ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า เมื่อประมาณพุทธศักราช 2504 ได้ซื้อที่ดินบริเวณวังโบสถ์ และได้มาหักร้างถางพง พบว่าเนื้อที่ที่ซื้อไว้ มีวัดเก่าสมัยโบราณอยู่ในบริเวณที่ดินด้วย พบเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพบพระพุทธรูปเก่าแก่

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,135

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,755

วัดสระแก้ว

วัดสระแก้ว

เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศเหนือ ระหว่างเส้นทางที่เข้าสู่เขตอรัญญิกของ เมืองกําแพงเพชร สิ่งก่อสร้างภายในวัดมีเฉพาะฐานอาคารขนาดใหญ่ที่เป็นอุโบสถเพียงหลังเดียว สร้างติดกับคลอง ส่งน้ำโบราณหรือที่เรียกว่าคลองท่อทองแดง เดิมจะมีคูน้ำล้อมรอบหรือที่เรียกว่าอุทกสีมา โดยน้ำจากคลองท่อ ทองแดงจะไหลเวียนรอบฐานอุโบสถ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,619

วัดหนองพิกุล

วัดหนองพิกุล

บริเวณอรัญญิก เมืองนครชุม มีวัดโบราณเก่าแก่แปลกและสวยงามอยู่วัดหนึ่ง ชาวบ้านเรียกขานกันว่าวัดหนองพิกุล อยู่บริเวณทางเข้าวัดพิกุล หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุมจังหวัดกำแพงเพชร ในท่ามกลาง วัดซุ้มกอ วัดหนองพุทรา วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และบริเวณวัดเจดีย์กลางทุ่งอันงดงามตระการตา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 3,862

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,142

วัดมณฑป

วัดมณฑป

เป็นวัดขนาดเล็ก ที่อยู่ริมถนนทางทิศตะวันออกของวัดหมาผี ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ มณฑปยอดเจดีย์ ซึ่งเป็นประธานของวัด มีวิหารขนาดปานกลางอยู่ด้านหน้า มีกำแพงล้อมโดยรอบปัจจุบันเหลือเพียง 3 ด้าน มีบ่อน้ำอยู่หน้าวัด วัสดุหลักในการสร้างวัดคือศิลาแลง ผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนวัดทั่วไปในเขตอรัญญิก

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2017 ผู้เช้าชม 2,087

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,553