องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา

องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้ชม 2,505

[16.0968089, 99.8659824, องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา ]

ประวัติความเป็นมา

ตำบลป่าพุทราเดิมขึ้นอยู่กับตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาประมาณ ปี พ.ศ. 2518 ได้แยกออกมาเป็นตำบลป่าพุทรา ปัจจุบันมี 15 หมู่บ้าน

พื้นที่

เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบลุ่ม มีที่ราบเนินบางส่วน พื้นที่ส่วนหนึ่งติดต่อกับแม่น้ำปิง เหมาะสำหรับทำการเกษตร ปัจจุบันเป็นศูนย์ทางเศรษฐกิจ

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลตาขีด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

ทิศตะวันออก ติดกับตำบลเทพนิมิตร กิ่งอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

ทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำปิง

อาชีพ

อาชีพหลัก ทำนา

อาชีพเสริม รับจ้าง

 สาธารณูปโภค

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของจำนวนหลังคาเรือน

 การเดินทาง

การเดินทางเข้าสู่ตำบลป่าพุทรา สามารถใช้เส้นทางถนนลาดยางสายสลกบาตร-ทุ่งสนุ่น ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี ถึงกึ่งกลางของตำบล ประมาณ 10 กิโลเมตร

ผลิตภัณฑ์

เป่าแก้ว, แผ่นกระดาษใยกล้วย

คำสำคัญ : องค์การบริหารส่วนตำบล, ตำบล

ที่มา : http://www.thaitambon.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพุทรา . สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=896&code_db=610013&code_type=06

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=896&code_db=610013&code_type=06

Google search

Mic

โรงเรียนขาณุวิทยา

โรงเรียนขาณุวิทยา

โรงเรียนขาณุวิทยา เป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา  กองโรงเรียนรัฐบาลแผนกโรงเรียมัธยมศึกษาส่วนภูมิภาคภายหลังได้รวมกับกรมสามัญศึกษาเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร  เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา โดยมี นายธรรมศักดิ์  คำเพ็ญ นายอำเภอขาณุวรลักษบุรี และนายประสิทธิ์  จันทรมณี ศึกษาธิการอำเภอขาณุวรลักษบุรีเป็นผู้ริเริ่ม 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,065

องค์การบริหารส่วนตำบลวังชะพลู

องค์การบริหารส่วนตำบลวังชะพลู

จากการสอบสามบรรพบุรุษ มีเรื่องกล่าวขานมาว่าในตำบลแห่งนี้ ในอดีดมีใบชะพลูขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งมีการเรียกต่อๆกันมาว่า "วังชะพลู"

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 3,134

องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะค่า

องค์การบริหารส่วนตำบลปางมะค่า

เดิมตำบลปางมะค่าอยู่ในการปกครองของตำบลบ่อถ้ำ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2521 แยกออกมาตั้งเป็นตำบลปางมะค่า มีนายอำนวย เสือสิงห์ เป็นกำนันคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน จนปัจจุบันมีประชากรเพิ่มขึ้นจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 23 หมู่บ้าน และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปางมะค่า เมื่อปี พ.ศ.2537

เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 3,372

องค์การบริหารส่วนตำบลวังหามแห

องค์การบริหารส่วนตำบลวังหามแห

เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อกันมาว่าหมู่บ้านนี้ในอดีตมีคลองไหลผ่านหมู่บ้าน ปัจจุบันเรียกว่าคลองอัด ซึ่งมีปลาชุมชุกมาก ชาวบ้านจับปลาโดยใช้แหหว่าน ได้เป็นจำนวนมากต้องใช้คนช่วยหามแหปลาขึ้นมา ชาวบ้านจึงเรียนหมู่บ้านนี้ว่าวังหามแห

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 2,434

องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อถ้ำ

องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อถ้ำ

เดิมมีราษฎรอพยพมาจากอีสานมาตั้งบ้านบริเวณบ่อถ้ำ และถ้ำในทีเดียวกันจึงเรียกว่า “เนินบ่อถ้ำ” ขึ้นอยู่กับการปกครองกิ่งอำเภอขาณุวรลักษบุรี ปัจจุบันอยู่ในเขต ม.3 ต่อมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ได้จัดตั้งเป็ตำบลเรียกว่า “ตำบลบ่อถ้ำ” มีหมู่บ้าน 4 หมู่ มีกำนันคนแรกชื่อ นายปลื้ม ธงชัย ต่อมามีกำนันหลายคนรวม 7 คน ปัจจุบันตำบลบ่อถ้ำแบ่งเขตปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน และมีกำนันเป็นสุภาพสตรีคนแรก ชื่อ นางจินตนาประไพรวรรณกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2531

เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 2,378

องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ

องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ

องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรีเป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 32.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 20,312.50 ไร่

 

เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 1,158

องค์การบริหารส่วนตำบลยางสูง

องค์การบริหารส่วนตำบลยางสูง

เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลยางสูง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยมีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 9 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่อยู่เต็ม 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2-9 และอีกหนึ่งหมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วน คือ หมู่ที่ 1 และมีสมาชิกโดยตำแหน่ง และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งหมด 23 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิกที่เป็นโดยตำแหน่ง ที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล รวม 9 คน สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง จากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านๆละ 2 คน โดยมี นายทองดำ โกสุมา กำนันตำบลยางสูง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารคนแรก และต่อมาได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยตรงจากประชาชน ครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2547 โดยนายเจริญ เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนแรกของการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจนถึงปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 1,337

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแตง

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแตง

เดิมตำบลดอนแตง แยกออกมาจากตำบลวังชะพลู ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลดอนแตง เนื่องจากมีการเพาะ ปลูกแตงเป็นจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 1,684

องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่

องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่

ตำบลโค้งไผ่เดิมขึ้นอยู่กับตำบลสลกบาตร เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมถนนพหลโยธิน เมื่อครั้งในอดีตบริเวณดังกล่าวมีต้นไผ่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นที่เก็บรวมรวมท่อนซุงในปี พ.ศ. 2494 ทางราชการประกาศแยกยกระดับขึ้นเป็นตำบลมีชื่อว่าตำบลโค้งไผ่ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (84) สภาตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เดิมทีครั้งแรกมีทั้งสิ้น 4 หมู่บ้าน ตำบลโค้งไผ่มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 9 หมู่บ้านในปัจจุบันจึงมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน รายชื่อหมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านโค้งไผ่, หมู่ที่ 2 บ้านหลวง, หมู่ที่ 3 บ้านหนองเต็ง, หมู่ที่ 4 บ้านหนองงูเห่า, หมู่ที่ 5 บ้านคลองน้ำเย็นใต้, หมูที่ 6 บ้านโพธิ์ศรี, หมู่ที่ 7 บ้านด่านกรวด, หมู่ที่ 8 บ้านหัวรัง, หมู่ที่ 9 บ้านวังน้ำพุ, หมู่ที่ 10 บ้านหนองกระทิง, หมู่ที่ 11 บ้านหนองโมกข์, หมู่ที่ 12 บ้านวังโป่ง, หมู่ที่ 13 บ้านดอนสมบูรณ์

เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 1,893

เทศบาลตําบลสลกบาตร

เทศบาลตําบลสลกบาตร

ผู้อาวุโสเล่าว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งมาบุกเบิกที่ข้างคลองชายโนน ต่อมา คือ บ้านโนนเหล็กและบ้านโนนเคี่ยน และมีพระธุดงค์ผ่านมาชาวบ้านนิมนต์ให้แสดงธรรมมะให้ฟังแล้วกลับออกจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกได้ลืมสลกบาตร (ที่หุ้มบาตรพระไว้) ชาวบ้านตามไปให้ทันกันที่โนนแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเรียกชื่อว่า โนนทันและชาวบ้านได้มอบสลกบาตรให้พระท่านขอบใจ และขอตั้งชื่อบ้านที่ท่านปักกลดรับอาหารคาวหวานนั้นว่า “บ้านสลกบาตร” คือ ที่มาของหมู่บ้านสลกบาตรในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 2,886