เทศบาลตําบลสลกบาตร
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้ชม 3,211
[15.9920741, 99.7950188, เทศบาลตําบลสลกบาตร]
ประวัติความเป็นมา
ผู้อาวุโสเล่าว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งมาบุกเบิกที่ข้างคลองชายโนน ต่อมา คือ บ้านโนนเหล็กและบ้านโนนเคี่ยน และมีพระธุดงค์ผ่านมาชาวบ้านนิมนต์ให้แสดงธรรมมะให้ฟังแล้วกลับออกจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกได้ลืมสลกบาตร (ที่หุ้มบาตรพระไว้) ชาวบ้านตามไปให้ทันกันที่โนนแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเรียกชื่อว่า โนนทันและชาวบ้านได้มอบสลกบาตรให้พระท่านขอบใจ และขอตั้งชื่อบ้านที่ท่านปักกลดรับอาหารคาวหวานนั้นว่า “บ้านสลกบาตร” คือ ที่มาของหมู่บ้านสลกบาตรในปัจจุบัน
พื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลสลกบาตร ตั้งอยู่ที่ทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี เป็นระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลสลกบาตรเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสมในการทำการเกษตร มีเนื้อที่ประมาณ 34.72 ตารางกิโลเมตร / 21,700 ไร่
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลดอนแตง และ ตำบลแสนตอ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบ่อถ้ำ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบางแก้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลวังชะพลู อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนา , ทำสวน / ทำไร่ , ค้าขาย , รับจ้าง , รับราชการ , กรรมกร
สาธารณูปโภค
ประปาหมู่บ้าน
- หมู่ที่ 2 บ้านโนนปอแดง
- หมู่ที่ 3 บ้านโนนปอแดง
- หมู่ที่ 4 บ้านวังสลักพระ
- หมู่ที่ 5 บ้านดอนงา
- หมู่ที่ 6 บ้านรังแถว
- หมู่ที่ 7 บ้านอุตสาหกรรมยิ่งเจริญ
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ , ลำห้วย , คลอง 10 สาย
- บึง , หนองและอื่นๆ 10 แห่ง
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 5 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 30 แห่ง
- บ่อโยก 10 แห่ง
- บ่อน้ำลึก 3 แห่ง
การโทรคมนาคม
- ทุกหมู่บ้านมีโทรศัพท์สาธารณะแต่ไม่ครอบคลุมทั้งพื้นที่
การไฟฟ้า
- ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ แต่บางหลังคาเรือนยังไม่มีไฟฟ้าใช้
การเดินทาง
- มีถนนสายหลักถึงอำเภอ 1 เส้นทาง
- มีถนนสายเอเชียตัดผ่าน 1 เส้นทาง
- มีถนนเชื่อมต่อระหว่าง 7 หมู่บ้าน
- ถนน คสล. หมู่ที่ 7 บ้านอุตสาหกรรมยิ่งเจริญ จำนวน 1 เส้น
- ถนน คสล หมู่ที่ 3 บ้านโนนปอแดง จำนวน 2 เส้น
- ถนน คสล. หมู่ที่ 1 บ้านโนนโก จำนวน 3 เส้น
- ถนน คสล. หมู่ที่ 2 บ้านโนนปอแดง จำนวน 1 เส้น
- ถนนลูกรัง ทั้ง 7 หมู่บ้าน
ผลิตภัณฑ์
ข้าวซ้อมมือ,ไม้กวาด,ดอกไม้จันทน์,ผลิตภัณฑ์จากดีบุก
คำสำคัญ : เทศบาล
ที่มา : http://www.thaitambon.com
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เทศบาลตําบลสลกบาตร. สืบค้น 10 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=906&code_db=610013&code_type=06
Google search
เดิมตำบลเกาะตาล เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง และมีต้นตาลอยู่เป็นจำนวนมากแม้กระทั่งบริเวณเกาะแก่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำ ชาวบ้านจึงเรียกว่า บ้านเกาะตาล ต่อมาเมื่อแยกเป็นตำบลจึงตั้งชื่อเป็นตำบลเกาะตาล
เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 1,961
จากการสอบสามบรรพบุรุษ มีเรื่องกล่าวขานมาว่าในตำบลแห่งนี้ ในอดีดมีใบชะพลูขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งมีการเรียกต่อๆกันมาว่า "วังชะพลู"
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 3,407
ตำบลโค้งไผ่เดิมขึ้นอยู่กับตำบลสลกบาตร เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมถนนพหลโยธิน เมื่อครั้งในอดีตบริเวณดังกล่าวมีต้นไผ่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นที่เก็บรวมรวมท่อนซุงในปี พ.ศ. 2494 ทางราชการประกาศแยกยกระดับขึ้นเป็นตำบลมีชื่อว่าตำบลโค้งไผ่ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (84) สภาตำบลโค้งไผ่ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโค้งไผ่ เดิมทีครั้งแรกมีทั้งสิ้น 4 หมู่บ้าน ตำบลโค้งไผ่มีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 9 หมู่บ้านในปัจจุบันจึงมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน รายชื่อหมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านโค้งไผ่, หมู่ที่ 2 บ้านหลวง, หมู่ที่ 3 บ้านหนองเต็ง, หมู่ที่ 4 บ้านหนองงูเห่า, หมู่ที่ 5 บ้านคลองน้ำเย็นใต้, หมูที่ 6 บ้านโพธิ์ศรี, หมู่ที่ 7 บ้านด่านกรวด, หมู่ที่ 8 บ้านหัวรัง, หมู่ที่ 9 บ้านวังน้ำพุ, หมู่ที่ 10 บ้านหนองกระทิง, หมู่ที่ 11 บ้านหนองโมกข์, หมู่ที่ 12 บ้านวังโป่ง, หมู่ที่ 13 บ้านดอนสมบูรณ์
เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 2,283
เดิมตำบลปางมะค่าอยู่ในการปกครองของตำบลบ่อถ้ำ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2521 แยกออกมาตั้งเป็นตำบลปางมะค่า มีนายอำนวย เสือสิงห์ เป็นกำนันคนแรก แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน จนปัจจุบันมีประชากรเพิ่มขึ้นจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 23 หมู่บ้าน และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปางมะค่า เมื่อปี พ.ศ.2537
เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 3,811
เดิมตำบลดอนแตง แยกออกมาจากตำบลวังชะพลู ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลดอนแตง เนื่องจากมีการเพาะ ปลูกแตงเป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 1,951
ผู้อาวุโสเล่าว่ามีบุคคลกลุ่มหนึ่งมาบุกเบิกที่ข้างคลองชายโนน ต่อมา คือ บ้านโนนเหล็กและบ้านโนนเคี่ยน และมีพระธุดงค์ผ่านมาชาวบ้านนิมนต์ให้แสดงธรรมมะให้ฟังแล้วกลับออกจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออกได้ลืมสลกบาตร (ที่หุ้มบาตรพระไว้) ชาวบ้านตามไปให้ทันกันที่โนนแห่งหนึ่ง ปัจจุบันเรียกชื่อว่า โนนทันและชาวบ้านได้มอบสลกบาตรให้พระท่านขอบใจ และขอตั้งชื่อบ้านที่ท่านปักกลดรับอาหารคาวหวานนั้นว่า “บ้านสลกบาตร” คือ ที่มาของหมู่บ้านสลกบาตรในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 3,211
เดิมมีราษฎรอพยพมาจากอีสานมาตั้งบ้านบริเวณบ่อถ้ำ และถ้ำในทีเดียวกันจึงเรียกว่า “เนินบ่อถ้ำ” ขึ้นอยู่กับการปกครองกิ่งอำเภอขาณุวรลักษบุรี ปัจจุบันอยู่ในเขต ม.3 ต่อมาเป็นเวลากว่า 100 ปี ได้จัดตั้งเป็ตำบลเรียกว่า “ตำบลบ่อถ้ำ” มีหมู่บ้าน 4 หมู่ มีกำนันคนแรกชื่อ นายปลื้ม ธงชัย ต่อมามีกำนันหลายคนรวม 7 คน ปัจจุบันตำบลบ่อถ้ำแบ่งเขตปกครองออกเป็น 17 หมู่บ้าน และมีกำนันเป็นสุภาพสตรีคนแรก ชื่อ นางจินตนาประไพรวรรณกุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2531
เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 2,833
เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อกันมาว่าหมู่บ้านนี้ในอดีตมีคลองไหลผ่านหมู่บ้าน ปัจจุบันเรียกว่าคลองอัด ซึ่งมีปลาชุมชุกมาก ชาวบ้านจับปลาโดยใช้แหหว่าน ได้เป็นจำนวนมากต้องใช้คนช่วยหามแหปลาขึ้นมา ชาวบ้านจึงเรียนหมู่บ้านนี้ว่าวังหามแห
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 2,735
องค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรีเป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชรเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 32.5 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 20,312.50 ไร่
เผยแพร่เมื่อ 18-08-2018 ผู้เช้าชม 1,384
เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลยางสูง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็น องค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยมีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 9 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่อยู่เต็ม 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 2-9 และอีกหนึ่งหมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วน คือ หมู่ที่ 1 และมีสมาชิกโดยตำแหน่ง และสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งหมด 23 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิกที่เป็นโดยตำแหน่ง ที่เป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล รวม 9 คน สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง จากราษฎรในแต่ละหมู่บ้านๆละ 2 คน โดยมี นายทองดำ โกสุมา กำนันตำบลยางสูง ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารคนแรก และต่อมาได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโดยตรงจากประชาชน ครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2547 โดยนายเจริญ เลาหศักดิ์ประสิทธิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคนแรกของการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจนถึงปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2018 ผู้เช้าชม 1,626